DotProperty.co.th

การบังคับคดีล้มละลาย ตอน การประชุมเจ้าหนี้

การประชุมเจ้าหนี้ ใน การบังคับคดีล้มละลาย มีวัตถุประสงค์ในการประชุมเจ้าหนี้ก็เพื่อให้โอกาสลูกหนี้ได้ขอประนอมหนี้กับเจ้าหนี้ ก่อนที่ศาลจะพิพากษาให้ล้มละลาย ดังนั้นกระบวนการล้มละลายจึงบัญญัติให้มีขั้นตอนการพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดก่อนที่จะพิพากษาให้ล้มละลาย

การประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรก

เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกโดยเร็วที่สุด เพื่อปรึกษาในประเด็นดังนี้ คือ

1.จะยอมรับคำขอประนอมหนี้ของลูกหนี้ หรือ ควรขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย

  1. ปรึกษาวิธีการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ต่อไป เช่น การยึดทรัพย์ การขายทรัพย์ การดำเนินธุรกิจของลูกหนี้ต่อไปหากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่าจำเป็น

การนัดประชุมเจ้าหนี้

เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องโฆษณากำหนดวัน เวลา สถานที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์รายวันไม่น้อยกว่า 1 ฉบับ โดยลงโฆษณาล่วงหน้าก่อนถึงวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน นอกจากนี้ยังต้องมีหนังสือแจ้งไปยังเจ้าหนี้ทั้งหลายเท่าที่ทราบ (จากข้อมูลที่รวบรวมมาได้จากเอกสารของลูกหนี้ หรือจากคำชี้แจงเกี่ยวกับหนี้สินที่ลูกหนี้ยื่นตามมาตรา 30 (2) )

การนัดประชุมเจ้าหนี้นั้นเห็นว่าอย่างน้อยน่าจะกระทำได้ต่อเมื่อลูกหนี้ได้ยื่นคำชี้แจงเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของตนแล้ว ซึ่งในขั้นตอนนี้ลูกหนี้จะต้องยื่นภายในกำหนด 7 วันนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วเพื่อเอาข้อมูลเจ้าหนี้ทั้งหมดที่ลูกหนี้ชี้แจงไปเป็นฐานข้อมูลในการส่งนัดประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกต่อไป

หากลูกหนี้มิได้ยื่นคำขอประนอมหนี้ เจ้าหนี้จะลงมติมิให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลายไม่ได้  เพราะการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกก็เพื่อให้โอกาสลูกหนี้ในการประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย ดังนั้นหากลูกหนี้ไม่ขอประนอมหนี้ หรือการขอประนอมหนี้ไม่ได้รับความเห็นชอบจากเจ้าหนี้ การที่เจ้าหนี้จะลงมติเป็นอย่างอื่น เช่น ไม่สมควรให้ลูกหนี้ล้มละลายก็คงจะไม่ชอบด้วยหลักการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว

การประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่น

เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจนัดประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่น ในกรณีดังต่อไปนี้

การรายงานศาลขอให้พิจารณาคำขอประนอมหนี้หรือพิพากษาให้ การบังคับคดีล้มละลาย

เมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติประการใด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องรายงานศาล เพื่อพิจารณาแยกเป็น 2 กรณีดังนี้

การสอบสวนคำขอรับชำระหนี้และการพิจารณาทำความเห็น

การสอบสวนคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้น เป็นกระบวนการที่ดำเนินการเช่นเดียวกับการพิจารณาคดีของศาล ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องสอบสวนพยานของเจ้าหนี้เกี่ยวกับมูลหนี้ที่ขอชำระ พยานหลักฐานต่าง ที่เกี่ยวข้อง และสอบสวนเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ผู้โต้แย้งขอคำรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้แต่ละรายต้องพิจารณาให้ได้ความจริงว่าหนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้มานั้นเป็นหนี้ที่มีอยู่จริง เจ้าหนี้สามารถขอรับชำระหนี้ได้ ตลอดจนพิจารณาว่าเจ้าหนี้ จะมีสิทธิได้รับชำระหนี้เพียงใด หรือเจ้าหนี้ไม่ควรได้รับชำระหนี้เลย เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีความเห็นในการขอรับชำระหนี้รายใด แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องแจ้งคำสั่งขอรับชำระหนี้นั้นให้เจ้าหนี้และลูกหนี้ที่เกี่ยวข้องทราบ

การสอบสวนและทำคำสั่ง หรือทำความเห็นในสำนวนสาขาอื่นๆ

นอกจากสำนวนคำขอรับชำระหนี้ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องทำการสอบสวนและพิจารณาทำความเห็นแล้ว ยังมีสำนวนสาขาอื่นที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องทำการสืบสวนผู้ร้องอื่น เช่น

ในสำนวนสาขาเหล่านี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องพิจารณาจากคำให้การสอบสวนของลูกหนี้และคำร้องของผู้ร้องอันมีเหตุอันสมควรตั้งเป็นสำนวนสาขาหรือไม่ อยู่ภายในระยะเวลาที่ต้องดำเนินการตามกฎหมายหรือไม่ หมดอายุความเมื่อใด เป็นประโยชน์ต่อกองทรัพย์สินของลูกหนี้หรือไม่ หากดำเนินการตั้งสำนวนสาขาดังกล่าวขึ้นแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องหมายเรียกผู้ร้องผู้เกี่ยวข้องลูกหนี้มาทำการสอบสวนในประเด็นต่างๆ และพิเคราะห์พยานหลักฐานที่นำส่งประกอบคำให้การ พิจารณาทำความเห็นหรือคำสั่งต่อไป

เมื่อทำการสอบสวนครบถ้วนแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ต้องพิจารณาทำความเห็นหรือคำสั่งในสำนวนสาขานั้นๆ ต่อไป

การรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้

ทั้งในการรวบรวมทรัพย์สินตามกรณีดังกล่าวมาแล้วข้างต้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องพิจารณาด้วยว่ามีทรัพย์สินที่รวบรวมได้มากพอที่จะแบ่งได้หรือไม่ เพื่อทำบัญชีแบ่งให้บรรดาเจ้าหนี้ในคดีล้มละลายต่อไป

ลงประกาศฟรี !!! ไม่มีค่าใช้จ่ายลงประกาศเลย คลิ๊ก …

ขายคอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดิน กับ Dot Property ขายง่าย ขายไว หรือต้องการซื้อ-เช่า !!! คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินทั่วไทยมากกว่า 300,000 รายการคลิ๊กที่นี่