หากจะพูดถึงอีกหนึ่งหน้าที่ของ “กรมบังคับคดี” ที่มีบทบาทต่อเรามากแล้วละก็ ก็คงต้องพูดถึง การบังคับคดีแพ่ง ที่แน่นอนว่าคุณผู้อ่านบางท่าน อาจจะกำลังประสบปัญหาอยู่ ณ ขณะนี้ โดยในครั้งนี้ เราจะพาคุณผู้อ่านทุกท่านไปทำความรู้จักกับการบังคับคดีแพ่ง ว่ามีกี่ประเภท มีความสำคัญอย่างไร และทำไมถึงต้องมี ในส่วนของคนที่ยังไม่มีปัญหาในด้านนี้ ก็ถือเป็นการทำความรู้จักไปด้วยกันเลยค่ะ
อะไรคือ การบังคับคดีแพ่ง เหตุที่ต้องขอให้มีการบังคับคดี ?
คดีแพ่ง ก็คือ คดีคู่ความฝ่ายหนึ่งฟ้องคดีต่อศาลเพื่อเรียกให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งชดใช้ค่าเสียหายเป็นตัวเงินหรือให้กระทำ หรือไม่กระทำอย่างใดอย่าง โดยคดีดังกล่าว อาจมาจากการ คดีกู้ยืมเงิน คดีผิดสัญญา คดีเช่าทรัพย์ คดีตั๋วเงิน คดีจำนอง คดีซื้อขาย คดีมรดก เป็นต้น เมื่อศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลแล้ว ถ้าผู้แพ้คดีหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง เช่น ชำระหนี้ตามคำพิพากษา ออกไปจากที่พิพาทในกรณีมีการฟ้องขับไล่ งดเว้นการกระทำตามคำพิพากษาก็ไม่จำเป็นต้องมีการบังคับคดี แต่ถ้าผู้แพ้คดีหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ปฏิบัติตามคำพากษาหรือคำสั่งศาล ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน จึงต้องมีการบังคับคดี
ดังนั้น การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง จึงเป็นวิธีการเพื่อให้มีการปฎิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ในกรณีที่ผู้แพ้คดีตามคำพิพากษาไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ทั้งนี้เพื่อให้คำพิพากษาได้รับสิทธิตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ซึ่งการบังคับคดีจะกระทำเองนอกเหนือจากนี้ไม่ได้ แต่จะต้องกระทำโดยให้เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายกำหนดอำนาจและหน้าที่ไว้ ซึ่งก็คือ “เจ้าพนักงานบังคับคดี” โดยปัจจุบันก็คือเจ้าพนักงานที่สังกัดกรมบังคับคดีนั้นเอง หากฝ่าฝืน ศาลอาจมีคำสั่งให้เพิกถอนการบังคับคดีที่ได้ดำเนินการไปแล้วได้
หมายบังคับคดี
คือคำสั่งของศาลที่ตั้งเจ้าพนักงานในสังกัดกรมบังคับคดีหรือพนักงานอื่นเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล หมายบังคับคดีจะแตกต่างจากคำบังคับ คำบังคับเป็นคำสั่งศาลถึงตัวลูกหนี้ตามคำพิพากษาให้ปฏิบัติตาม ส่วนหมายบังคับคดีเป็นคำสั่งของศาลที่มีไปถึงเจ้าพนักงานบังคับคดี ให้ดำเนินการบังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา คำบังคับและหมายบังคับเป็นขั้นตอนการบังคับคดีที่กฎหมายได้กำหนดไว้เป็นลำดับ กล่าวคือเมื่อศาลพิพากษาแล้วก็ต้องออกคำบังคับกำหนดระยะเวลาให้ลูกหนี้ ปฏิบัติตามคำพิพากษา ศาลจึงจะออกหมายบังคับคดีเพื่อดำเนินการบังคับคดีต่อไป เว้นแต่เป็นกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เมื่อลูกหนี้ตามคำพิพากษาผิดนัดชำระหนี้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาสามารถขอศาลออกหมายบังคับคดีได้ โดยไม่จำเป็นต้องขอออกคำบังคับคดีก่อน
การออกหมายบังคับคดี
เนื่องจากจากหนี้ตามคำพิพากษาเป็นหนี้ที่ศาลรับรองและรับจะบังคับให้ แต่การดำเนินการบังคับคดีเป็นสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ดังนั้น การประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 275 จึงบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหนี้ที่ต้องขอให้ออกหมายบังคับคดี ซึ่งหากเจ้าหนี้ไม่ขอศาลไม่ขอ ศาลก็จะไม่ออกหมายบังคับคดีให้ระหว่างศาลยังมิได้กำหนดวิธีการบังคับคดี ถ้ามีเหตุจำเป็น เจ้าหนี้จะยื่นคำขอคุ้มครองประโยชน์ของเจ้าหนี้ และลูกหนี้อาจยื่นคำขอต่อศาลให้ยกเลิกได้เช่นกัน
เจ้าพนักงานบังคับคดี
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(14) “เจ้าพนักงานบังคับคดี” หมายถึง เจ้าพนักงานในสังกัดกรมบังคับคดีหรือพนีกงานอื่นผู้มีอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้อยู่ในอันที่จะปฏิบัติตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในภาค 4 แห่งประมวลกฎหมายนี้ เพื่อคุ้มครองสิทธิของคู่ความในระหว่างพิจารณา หรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ให้หมายความรวมถึงบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ปฏิบัติการแทน
ในการบังคับคดีที่ต้องมีการดำเนินโดยเจ้าพนักงานบังคับคดี ศาลซึ่งออกหมายบังคับคดี ต้องตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี กรมบังคับคดี หรือเจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีหรือสาขา แล้วแต่เขตอำนาจของศาลที่ออกหมายบังคับคดี เพื่อจัดการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ ตามคำพิพากษาหรือทำการอื่นใดโดยอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมาย
- ส่วนกลาง กรมบังคับคดีได้มีการจัดตั้งสำนักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 1 ถึง 6 โดยมีการแบ่งเจตดำเนินการบังคับคดีตามเขตอำนาจของศาลดังต่อไปนี้
1.1 สำนักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 1 ดำเนินการบังคับคดีในเขตอำนาจของศาลแพ่ง, ศาลแขวงพระนครเหนือ, ศาลแขวงดุสิต, ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และศาลภาษีกลาง
1.2 สำนักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 2 ดำเนินการบังคับคดีในเขตอำนาจของศาลแพ่งกรุงเทพใต้, ศาลแขวงพระนครใต้, ศาลแขวงปทุมวัน และศาลแรงงานกลาง
1.3 สำนักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 3 ดำเนินการบังคับคดีในเขตอำนาจของศาลจังหวัดมีนบุรี
1.4 สำนักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 4 ดำเนินการบังคับคดีในเขตอำนาจของศาลตลิ่งชัน, ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง
1.5 สำนักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 5 ดำเนินการในเขตอำนาจของศาลจังหวัดพระโขนง ศาลแขวงพระโขนง
1.6 สำนักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 2 ดำเนินการในเขตอำนาจของศาลแพ่งธนบุรีและศาลอาญาธนบุรี
2.ส่วนภูมิภาค มีการแบ่งเขตสำนักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขา เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจบังคับคดีตามเขตอำนาจของศาล ที่สำนักงานบังคับคดีนั้นตั้งอยู่
บทบาทของเจ้าพนักงานบังคับคดี
- บทบาทในฐานะผู้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในการชำระหนี้ หรือทรัพย์สินที่ลูกหนี้นำมาวางชำระ
- บทบาทในฐานะเป็นเจ้าพนักงานศาล ในการดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามที่ศาลกำหนด
ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 278, 279
อำนาจหน้าที่โดยทั่วไปของเจ้าพนักงานบังคับคดี ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
จากบทวิเคร์ศัพท์ ประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(14) อำนาจหน้าที่ทั่วๆไปของเจ้าพนักงานบังคับคดี มีอยู่ 2 ประการ คือ
- อำนาจหน้าที่เกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254 เป็นวิธีการคุ้มครองสิทธิของโจทก์ในเวลาใดๆ ก่อนพิพากษา เพื่อขอศาลให้มีคำสั่งให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจำเลยทั้งหมดหรือบางส่วนไว้ก่อนพิพากษาหรือขอศาลห้ามชั่วคราวไม่ให้จำเลยกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปซึ่งการละเมิดการผิดสัญญาหรือการกระทำที่ถูกฟ้องร้องนั้น โดยศาลจะออกหมายบังคับคดีชั่วคราวเพื่อตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีไปดำเนินกานตามคำสั่งของศาลทันที
- อำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบังคับคดีอันเป็นการบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเมื่อศาลมีคำพิพากษาให้คู่ความฝ่ายใดแพ้คดีและให้ฝ่ายใดแพ้คดี (ลูกหนี้ตามคำพิพากษา) ปฏิบัติการชำระหนี้อย่างใดอย่างหนึ่งตามฟ้อง เช่น ให้ชำระหนี้เป็นเงินจำนวนหนึ่ง ให้ส่งมอบทรัพย์สิน ฯลฯ หากลูกหนี้ตามคำพิพากษาทราบถึงคำบังคับและครบกำหนดระยะเวลาตามคำบังคับแล้ว และเป็นกรณีที่ต้องดำนเนินการทางเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยบังคับชำระหนี้เอาจากบรรดาทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาคู่ความ ฝ่ายชนะคดี (เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้ศาลออก “หมายบังคับคดี” ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาออกขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต่อไป หรือหากการชำระหนี้ตามคำพิพากษานั้นเป็นการส่งมอบทรัพย์สิน กระทำการงดเว้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือขับไล่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ศาลจะออกหมายบังคับคดีได้โดยการกำหนดเงื่อนไขแห่งการบังคับคดีลงในหมายนั้น และกำหนดการบังคับคดีเพียงเท่าที่สภาพแห่งการบังคับคดีเปิดช่องให้ทำได้โดยทางศาลหรือโดยเจ้าพนักงานบังคับคดี (ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 276)
สำหรับคดีฟ้องขับไล่ ปัจจุบันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 350 – 354 บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยตรงแล้ว ซึ่งจะได้กล่าวในเรื่องการบังคับคดีฟ้องขับไล่ต่อไป เมื่อศาลออกหมายยึดทรัพย์ชั่วคราวหรือหมายบังคับคดี ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อดำเนินการดังกล่าวแล้ว ศาลจะส่งหมายนั้นมายังเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อดำเนินการต่อไปตามกำหนดไว้ในหมายนั้น มาตรา 276(1)
ส่วนลูกนี้ตามคำพิพากษานั้น จะมีการส่งหมายบังคับคดีให้ทราบต่อเมื่อศาลมีคำสั่งให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาให้เป็นผู้จัดการส่ง ถ้ามิได้มีการส่งหมายดังกล่าวแล้ว เจ้าพนักงานบังคัยคดีมีหน้าที่ต้องแสดงหมายนั้นต่อลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือผู้ครอบครองทรัพย์ที่ยัด ซึ่งพบขณะทำการยึด (ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 281)
นับตั้งแต่ที่ได้ส่งหมายบังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือถ้าหมายนั้นมิได้ส่งนับแต่ออกหมายนั้นเป็นต้นไป เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจในฐานะเป็นผู้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในอันที่จะรับชำระหนี้หรือทรัพย์สินที่ลูกหนี้นำมาวางและออกใบรับให้กับมีอำนาจที่จะยึดหรืออายัดและยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้ และมีอำนาจที่จะเอาทรัพย์สิน เช่นว่านี่ออกขายทอดตลาด ทั้งมีอำนาจที่จะจำหน่ายทรัพย์สิน หรือเงินรายได้จากการนั้น และดำเนินวิธีการบังคับทั่วไป ตามที่ศาลกำหนดไว้ในหมายบังคับคดี (ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 278)
ลงประกาศฟรี !!! ไม่มีค่าใช้จ่ายลงประกาศเลย คลิ๊ก …
ขายคอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดิน กับ Dot Property ขายง่าย ขายไว หรือต้องการซื้อ-เช่า !!! คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินทั่วไทยมากกว่า 300,000 รายการคลิ๊กที่นี่