การยึดทรัพย์สิน คือการเอาทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้ในความดูแลและรักษาของเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อดำเนินการตามกฎหมายให้บรรลุผลตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลในการบังคับคดียึดทรัพย์ของลูกหนี้ เจ้าหนี้เองต้องเป็นผู้นำยึด ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 298 บัญญัติว่าเจ้าพนักงานบังคับคดี จะยึด อายัด หรือขายเฉพาะบรรดาทรัพย์สินที่เจ้าหนี้อ้างว่าเป็นเจ้าของ การยึดทรัพย์สิน เป็นหน้าที่ของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องสืบให้ทราบว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินอะไรบ้าง อยู่ที่ใด ผู้ใดครอบครองทรัพย์สินนั้น ซึ่งหากทรัพย์สินนั้นเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาย่อมนำยึดได้
อำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานบังคับคดี
- บังคับคดีในวันทำการปกติระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและตก ยังไม่แล้วเสร็จ มีความจำเป็นและสมควร กระทำต่อไปหลังพระอาทิตย์ตกได้ (ไม่ต้องขอศาล) (ม.281)
- นอกวันทำการปกติหลังพระอาทิตย์ตก ต้องมีความจำเป็นและสมควร โดยขออนุญาตศาล (ม.281 ว.2)
- ค้นสถานที่ใดๆที่ลูกหนี้ครอบครอง หรือครอบครองร่วมกับผู้อื่น เปิดสถานที่ดังกล่าว (ม.282)
- หากมีผู้ขัดขวาง สามารถขอความช่วยเหลือจากตำรวจเพื่อทำการดำเนินการบังคับคดีจนได้ (ม.284)
อำนาจของศาล
มีหน้าที่ให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอให้ศาลออกหมายค้นสถานที่ที่บุคคลอื่นครอบครองอยู่ (ม.283)
ผู้ที่มีส่วนได้เสีย การยึดทรัพย์สิน ในการบังคับคดี
- เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา คือ คู่ความที่เป็นฝ่ายชนะคดี ซึ่งเป็นผู้ที่มีสิทธิที่จะร้องขอบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาล
- ลูกหนี้ตามคำพิพากษา คือ คู่ความที่เป็นฝ่ายแพ้คดี ซึ่งถ้าลูกหนี้ตามคำพิพากษามิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลทั้งหมด หรือแต่บางส่วน กรณีนี้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเห็นชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีได้
- เจ้าหนี้บุริมสิทธิ์ ผู้มีสิทธิขอให้บังคับ มี 3 ประเภท คือ
- ผู้รับจำนอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 702
- ผู้ทรงบุริมสิทธิ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 251 คือ ผู้ทรงไว้ซึ่งสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในการที่จะได้รับชำระหนี้อันข้างชำระแก่ตนจากทรัพย์สินนั้นก่อนเจ้าหนี้อื่น
- ผู้รับจำนำ บุคคลดังกล่าวไม่ต้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ก็ยื่นคำร้องต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดี เพื่อขอรับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้สามัญได้
4.เจ้าของร่วม (ผู้ร้องขอกันส่วน) ถือว่าเป็นผู้มีสิทธิอื่นๆซึ่งอาจต้องให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ตามกฎหมายในความหมายของมาตรา 322 ,323 รวมทั้งทรัพย์สิทธิ บุริมสิทธิ์ สิทธิยึดหน่วงอื่นๆ แห่ง ป.วิ.พ. ในการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่มีบุคคลภายนอกเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยในการยึดทรัพย์นั้น ให้ยึดเฉพาะส่วนของลูกหนี้ แต่ถ้าหากมีคนอื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย และไม่ปรากฎว่าส่วนใดเป็นของลูกหนี้ ให้ยึดมาทั้งหมดหรือตามสภาพ หากไม่ยึดทั้งหมดจะทำให้เสื่อมราคา เพราะแม้แต่ในระหว่างผู้เป็นเจ้าของรวมด้วยกัน หากไม่สามารถตกลงในการแบ่งแยกระหว่างกันเองได้ ก็จะต้องขายทอดตลาดและรับเป็นเงินแทน เจ้าของรวมจึงมีส่วนได้ส่วนเสียในการบังคับคดี เห็นชอบที่จะร้องขอเข้ามาในคดี เพื่อขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปล่อยทรัพย์สินในส่วนที่ตนมีกรรมสิทธิ์หรือขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกันเงินในส่วนทีได้จากการขายทอดตลาดในส่วนของเจ้าของรวมได้
5.ผู้ร้องขอเฉลี่ยทรัพย์(ตาม ป.วิ.พ 326)
ผู้มีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ ได้แก่
1) เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ซึ่งไม่จำเป็นต้องรอให้คดีถึงที่สุด
2) เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยภาษีอากร
3) กรมแรงงาน ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 10
การขอเฉลี่ยทรัพย์เกิดขี้ได้โดยมีเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามากกว่าหนึ่งคดี และเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคดีใดคดีนึงได้นำเจ้าบังคับคดีงานบังคับคดี ยึดหรืออายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ไว้ เจ้าหนี้จะไปยึดหรืออายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ซ้ำอีกไม่ได้ เพราะกฎหมายห้ามยึดหรืออายัดซ้ำอีก แม้ลูกหนี้นั้นจะยังมีทรัพย์สินอื่นที่ไม่ได้ถูกยึด ถ้าทรัพย์สินที่มีอยู่ไม่เพียงพอชำระหนี้ตามคำพิพากษาของเจ้าหนี้ ตามคำพิพากษาอื่นแล้ว เจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้นก็มีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ได้
กำหนดระยะเวลาในการขอเฉลี่ยให้ผู้ร้องขอยื่นคำร้องต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีในกรณียึดทรัพย์ ให้ยื่นก่อนสิ้นระยะเวลา 15 วัน นับแต่วันที่มีการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่นในครั้งนั้นๆ (ทรัพย์ชิ้นใดขายได้วันใด ก็ต้องยื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันขายได้ของทรัพย์ชิ้นนั้นๆ) ในกรณีอายัดทรัพย์ ให้ยื่นคำขอก่อนสิ้นระยะเวลา 15 วัน นับแต่วันชำระเงินหรือส่งทรัพย์สินตามที่อายัด ในกรณียึดเงิน ให้ยื่นคำขอก่อนสิ้นระยะเวลา 15 วัน นับแต่วันยึด
เมื่อศาลส่งสำเนาคำร้องเฉลี่ยทรัพย์ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี แล้วให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดจ่ายเงินในคดีไว้ก่อน เพื่อรอฟังคำวินิจฉัยชี้ขาดจากศาล
- เมื่อบุคคลใดกล่าวอ้างว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ หรือตนเป็นเจ้าของรวมหรืออยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนสิทธิได้อยู่ก่อนบุคคลนั้น ก็สามารถยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออหมายบังคับคดีให้ปล่อยทรัพย์สินนั้น โดยต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลก่อนเจ้าพนักงานบังคับคดีจะเอาทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาด เมื่อศาลส่งสำเนาคำร้องของผู้ร้องให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องงดการบังคับคดีไว้ เพื่อรอการวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องดังกล่าวจากศาล
ลงประกาศฟรี !!! ไม่มีค่าใช้จ่ายลงประกาศเลย คลิ๊ก …
ขายคอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดิน กับ Dot Property ขายง่าย ขายไว หรือต้องการซื้อ-เช่า !!! คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินทั่วไทยมากกว่า 300,000 รายการคลิ๊กที่นี่