หลักเกณฑ์ที่ใช้ใน การอายัดเงินเดือน ของกรมบังคับคดี

การอายัดเงินเดือน

สำหรับ การอายัดเงินเดือน นั้น จะถูกนำมาใช้ก็ต่อเมื่อศาลได้มีการพิพากษาให้เจ้าหนี้ชนะคดีแล้ว หากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามที่ศาลได้พิพากษาแล้วล่ะก็ เจ้าหนี้เองมีสิทธิ์เรียกร้องต่อเจ้าพนักงานให้มีการอายัดเงินเดือนได้ โดยถ้าหากมีเจ้าหนี้มากกว่าหนึ่ง จะไม่สามารถทำการอายัดพร้อมกันได้ จะต้องทำการรอคิวถัดไป หรือสามารถขอส่วนแบ่งจากเจ้าหนี้รายแรกได้ หรือถ้าต้องรอจริงๆก็จะรอได้ไม่เกิน 10 ปี หากเกินก็จะหมดอายุความ

หลักเกณฑ์ การอายัดเงินเดือน

  1. เงินเดือน ค่าจ้าง บำเหน็จ บำนาญ เบี้ยหวัด ของลูกหนี้ที่เป็นข้าราช หรือลูกจ้างประจำของข้าราชการ ไม่สามารถทำการอายัดได้
  2. ลูกหนี้ที่เป็นลูกจ้างพนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานเอกชน จะถูกอายัดเงินเดือน โดยห้ามอายังเงินเดือนที่ลูกหนี้มีเงินได้ต่ำกว่า เดือนละ 20,000 บาท โดยหากมากว่านั้นก็ จะหักออกจาเงินเดือนทั้งหมด 30% แต่ก็จะไม่ให้ต่ำกว่า 20,000 บาทเช่นกัน
  3. เงินโบนัส สามารถอายัดได้ให้ไม่เกินร้อยละ 50
  4. เบี้ยขยัน ค่าล่วงเวลา อายัดให้ไม่เกินร้อยละ 30
  5. เงินตอบแทนกรณีออกจากงาน บำเหน็จ ค่าชดเชย หรือรายได้อื่นที่มีลักษณะเดียวกัน สามารถอายัดได้ แต่จำนวนต้องไม่เกิน 300,000 บาท หรือตามจำนวนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร
  6. บัญชีเงินฝากธนาคาร สามารถอายัดได้ทั้งหมด แต่ก็ต้องไม่เกินจำนวนหนี้ตามหมายบังคับคดี
  7. เงินในสหกรณ์ออมทรัพย์ จำพวกเงินปันผล เงินเฉลี่ยคืน และเงินค่าหุ้น เจ้าหนี้สามารถอายัดได้ ก็ต่อเมื่อสิ้นสุดการเป็นสมาชิกภาพแล้ว
  8. บำเหน็จตกทอด ไม่สามารถบังคับชำระหนี้ได้
  9. หุ้น สามารถอายัดได้ โดยสามารถยึดใบหุ้นเพื่อขายทอดตลาดได้ หรือถ้ามีเงินปันผล ก็จะทำเรื่องอายัดเงินปันผลได้
  10. ค่าเช่ารายเดือน เจ้าพนักงานบังคับคดีสามารถอายัดเงินค่าเช่าไปยังผู้เช่าได้

 

ทั้งนี้หากลูกหนี้มีความจำเป็นที่จะต้องใช้จ่ายภายในครอบครัว ตัวลูกหนี้เองท่านสามารถติดต่อเพื่อขอผ่อนผันเพื่อลดอัตราการอายัดเงินเดือนให้น้อยลงได้ โดยจะต้องเตรียมเอกสารหลักฐานเกี่ยวกัยภาระหนี้สิน พร้อมเขียนคำร้องขอไปยื่นที่สำนักงานบังคับคดี และเจ้าพนักงานบังคับคดีมีสิทธิลดยอดอายัดรายเดือนได้แค่ 15% เท่านั้น หากต้องการให้ลดเพิ่มก็ต้องใช้สิทธิในชั้นศาลต่อไป

 

ที่มา กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

กรมบังคับคดีการบังคับคดีแพ่ง ประเภท และเหตุผลที่ทำไมถึงต้องมี ?

 

 

การอายัดทรัพย์สิน-1

กรมบังคับคดี กับ การอายัดทรัพย์สิน

 

 

 

 

สนใจข้อมูลข่าวสารเด่นๆ คอนเทนท์ร้อน ที่เราหามาเสริฟให้คุณผู้อ่านในทุกๆวันจาก Dotproperty คลิ๊ก …