การเช่าทรัพย์ ทั้งอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์นั้น คือการที่บุคคลหนึ่งบุดคลใดที่เรียกว่า “ผู้ให้เช่า” ตกลงยินยอม “ให้ผู้เช่า” สามารถได้รับผลประโยชน์จากทรัพย์สินนั้น โดยเป็นการถือครองชั่วคราว เพียงชั่วระยะหนึ่งเท่านั้น โดยจะกำหนดข้อตกลงในการเช่า เป็นหนังสือ สัญญาเช่า ขึ้นมา วันนี้เราจะพาทุกท่านไปทำความเข้าใจกับ 8 ข้อควรรู้เกี่ยวกับ การเช่าทรัพย์ ว่าทำอะไรได้บ้างหรือทำไม่ได้บ้างในการเช่าทรัพย์ทรัพย์
8 ข้อควรรู้เกี่ยวกับ การเช่าทรัพย์
สำหรับแง่มุมทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเช่าที่ผู้เช่าควรทราบ ประกอบไปด้วยประเด่นต่างๆดังนี้
- ในการเช่าจะไม่การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่า แต่ต้องมีการส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้เช่า
- ถ้าผู้เสียชีวิต สัญญาเช่าจะระงับไม่ถือว่าเป็นมรดก
- ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์จะเช่านานกี่ปีเพียงใดก็ได้ ไม่ต้องทำสัญญาเป็นหนังสือหรือจดทะเบียน ไม่มีกำหนดเวลาสูงสุดของการเช่า สามารถฟ้องร้องต่อศาลได้เลยไม่ต้องอาศัยหลักฐานเป็นหนังสือแต่อย่างใด
- ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์จะมีการกำหนดระยะเวลาการเช่าและแบบในการทำสัญญา คือถ้าเช่ากันไม่เกิน 3 ปี เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับสัญญาเช่าและต้องฟ้องร้องต่อศาล จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิด แต่ในกรณีเช่ากันเกินกว่า 3 ปี หรือตลอดชีวิตของผู้เช่าหรือผู้ให้เช่า จะต้องทำสัญญาเป็นหนังสือและจดทะเบียนกับเจ้าพนักงาน มิฉะนั้น จะบังคับกันได้เพียง 3 ปีเท่านั้น แต่ถึงอย่างไรการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่มีกำหนดเกินกว่า 3 ปี สูงสุดจะเกินกว่า 30 ปีไม่ได้ ถ้าเกิน 30 ปี กฎหมายให้ลดลงมาเหลือเพียง 30 ปีเท่านั้น
- ถ้าทรัพย์สินที่เช่าเสียหายภายในระหว่างอายุการเช่า ผู้ให้เช่าเป็นผู้ซ้อมแซมรักษา เว้นแต่ว่าความเสียหายเพียงเล็กน้อย ผู้เช่าจะเป็นผู้ดำเนินการ ผู้ให้เช่าสามารถไปตรวจตราดูแลทรัพย์สินที่เช่าได้เป็นบางครั้งบางคราวตามที่เหมาะสม
- เมื่อการเช่าสิ้นสุดลง ผู้เช่าต้องส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าในสภาพเหมือนกับวันที่ทำสัญญา เช่นถ้าทรัพย์สินเสียหายผู้เช่าต้องเป็นคนรับผิดชอบ
- หากผู้เช่านำทรัพย์สินที่เช่าไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงหรือเซ้งโดยผู้ให้เช่าไม่ยินยอม ผู้ให้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าได้ทันที และถือว่าผู้เช่าช่วงหรือเซ้งเป็นเพียงบริวารของผู้เช่าเท่านั้น
- เนื่องจากการเช่าช่วงเป็นการเช่าอย่างหนึ่ง การเช่าช่วงอสังหาริมทรัพย์จึงต้องมีหลักฐานการเช่าเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดชอบเป็นสำคัญ เช่นเดียวกับการเช่าอสังหาริมทรัพย์
เช่าบ้าน เกินระยะเวลาจดทะเบียนสัญญาเช่า 3 ปี จะเป็นอะไรไหม?
สัญญาเช่าที่ดิน 99 ปีสำหรับต่างชาติ ส่งผลดีหรือผลเสียมากกว่ากัน