คนชั้นกลาง หมดสิทธิ์ซื้อคอนโดในเมือง จริงหรือ?

คนชั้นกลาง

คนชั้นกลางจั่วหัวไปแบบนี้ คนชนชั้นกลาง ฟังอาจจะดูแรงไปแต่ว่ามันก็พอที่จะมีเหตุผล โดยในส่วนเหตุและผลนี้มาจาก คุณ ประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมอาคารชุดไทย ได้ออกมาให่ความเห็นว่า เพราะตอนนี้พื้นที่ในเมืองโดยเฉพาะ ที่ดินทำเลแนวรถไฟฟ้าทั้งสายปัจจุบันและสายที่กำลังสร้างใหม่ โดน ภาวะราคาที่ดินแพงเล่นงาน ทำให่ผู้สร้างหลายๆรายโดยกดดันทำให้ราคาห้องชุดปรับตัวสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว จึงทำให้ผลตกไปอยู่ที่ คนชนชั้นกลาง เข้าถึงราคาห้องชุด 2-3 ล้านบาท/ยูนิต ได้ยากขึ้น ยิ่งอนาคตถ้าหากราคาสูงกว่านี้ทำให้ซื้อลำบากมากขึ้น หรืออาจซื้อไม่ได้เลยเพราะเป็นกลุ่มที่มีภาระหนี้ครัวเรือนสูงขึ้นจากภาระเศรษฐกิจ

คนชั้นกลาง หมดสิทธิ์ซื้อคอนโดในเมือง จริงหรือ?

คนชั้นกลาง“สมาคมเคยทำโมเดลค่าครองชีพคนกลุ่มนี้ พบว่าถ้าจะซื้อได้ต้องมีรายได้เดือนละ 27,000 บาทขึ้นไป แต่ก็ซื้อคอนโดฯได้ในราคาห้องละ 2 ล้าน เพราะเป็นกลุ่มที่ยังมีภาระค่าเช่าหอพักอพาร์ตเมนต์ มีหนี้รถยนต์  จึงไม่สามารถผ่อนงวดเงินดาวน์เพื่อซื้อคอนโดฯที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง ทำให้ไม่มีทางเลือกต้องรอจนห้องชุดสร้างเสร็จซึ่งมีการปรับราคาเพิ่มขึ้นไปอีกจากตอนจองกระดาษ”

โดยในอนาคตปัจจัยราคาที่ดินแพงยังถูกซ้ำเติมด้วยกฎระเบียบในการพัฒนาโครงการ ไม่ว่าจะเป็นผังเมือง กฎหมายควบคุมอาคาร โดยเฉพาะกฎความกว้างถนนเกิน 10 เมตรจึงจะสร้างตึกสูงได้ ในขณะที่ข้อเท็จจริงถนนในกรุงเทพฯและจังหวัดปริมณฑลมีหน้ากว้างเพียง 6-8 เมตร ทำให้ที่ดินตั้งแต่แปลงละ 100 ตารางวาขึ้นไปถูกแช่แข็งการพัฒนา ส่งผลในภาพรวมที่ไม่สามารถนำที่ดินมาใช้ประโยชน์ได้เต็มศักยภาพ

ราคาที่ดินวาละ 1-1.2 ล้าน ทำให้ราคาขายตารางเมตรละ 2.5-3 แสนบาท

“ราคาที่ดินวาละ 1-1.2 ล้าน คำนวณเป็นราคาขายห้องชุดต้องมีตารางเมตรละ 2.5-3 แสนบาท หรืออย่างเก่งไปอยู่ในทำเลต้นทุนที่ดินวาละ 5 แสน ต้องขายคอนโดฯตารางเมตรละ 1.5-2 แสนบาท ไซซ์เริ่มต้น 20 กว่า ตร.ม. ราคาเฉียด 3 ล้าน ฟันธงได้เลยว่าราคาแบบนี้คนชั้นกลางหมดสิทธิ์ซื้อคอนโดฯแนวรถไฟฟ้าทำเลในเมือง”

 

อ้างอิง prachachat