การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ถือเป็นอีกหนึ่งวิกฤตครั้งใหญ่ของโลก เพราะไม่เพียงแค่ส่งผลกระทบกับด้านสาธารณสุขเท่านั้น แต่ยังลุกลามไปถึงด้านเศรษฐกิจด้วย เห็นได้จากการที่คนส่วนใหญ่มีภาวะขาดสภาพคล่องทางการเงิน ไม่กล้าใช้จ่าย และมีหนี้ครัวเรือนสูงขึ้นมานานนับปี เนื่องจากโดนลดเงินเดือนหรืออาจโดนเลิกจ้างงานกะทันหัน ในขณะที่สถาบันทางการเงินก็ปล่อยสินเชื่อยากขึ้น ทำให้ความสามารถในการซื้อสินค้าต่าง ๆ ของคนทั่วไปลดลงอย่างเห็นได้ชัด นำมาสู่การขายทรัพย์สิน อาทิ บ้าน หรือที่ดินกรุงเทพมหานครในราคาถูก เพื่อให้ได้เงินมาใช้อย่างรวดเร็ว
แต่นั่นก็ได้กลายเป็นโอกาสครั้งใหญ่ที่ซ่อนอยู่ในวิกฤตของบรรดาผู้ประกอบการธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ เพราะทำให้ได้มาซึ่งที่ดินเปล่า กทม. ในราคาถูก ช่วยลดต้นทุนลงได้มหาศาล ตอนนี้หลาย ๆ บริษัทจึงอยู่ในช่วงน้ำขึ้นให้รีบตัก กว้านซื้อที่ดินเปล่า เพื่อเตรียมสร้างอสังหาฯแนวราบ เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ ฯลฯ และโครงการประเภทมิกซ์ยูส (Mixed Used) กันมากขึ้น รองรับยุค New Normal ที่ต้องการความเป็นส่วนตัวและพื้นที่ใช้สอย
เปิด 7 ทำเลมาแรง
สำหรับที่ดินกรุงเทพมหานครที่ผู้พัฒนาโครงการให้ความสำคัญและเลือกลงทุนในช่วงนี้ส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณกรุงเทพฝั่งตะวันออก ซึ่งบริษัท เซ็นจูรี่ 21 (ประเทศไทย) จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์ทั้งในไทยและภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก เปิดเผยข้อมูลว่า ประกอบไปด้วย 7 ทำเล ได้แก่
- สายไหม – เพิ่มสิน
- วัชรพล
- รามอินทรา
- นวมินทร์
- พัฒนาการ – พระราม 9
- สุขุมวิท
- อ่อนนุช – อุดมสุข
รถไฟฟ้าใหม่ พร้อมรับทุกทำเล
เชื่อว่าภาพจำในอดีตของหลายคน เกือบทั้ง 7 พื้นที่นี้ (ยกเว้นสุขุมวิท, อ่อนนุช – อุดมสุข) คือความห่างไกลที่เดินทางสัญจรไป-มาค่อนข้างลำบาก เพราะรถโดยสารสาธารณะไม่ครอบคลุมเหมือนกับใจกลางเมือง ใครไม่มีรถส่วนตัวอาจจะแทบไม่อยากไป แต่ภาพจำนั้นกำลังจะเปลี่ยนไป เพราะปัจจุบันที่ดินเปล่า กทม. ในพื้นที่เหล่านี้กำลังจะกลายเป็นทำเลทอง เพราะรถไฟฟ้าสายใหม่กำลังจะไปถึง การคมนาคมจะสะดวกสบาย เชื่อมต่อได้ง่ายทั้งกทม.และปริมณฑล ดังนี้
- รถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ (เปิดให้บริการแล้ว)
เป็นรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายที่เชื่อมต่อระหว่างหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต มี 16 สถานีระยะทางประมาณ 19 กิโลเมตร เริ่มต้นจากโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร (BTS) ที่สถานี “หมอชิต” ข้ามดอนเมืองโทลล์เวย์บริเวณห้าแยกลาดพร้าว ผ่านแยกรัชโยธิน แยกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไปจนถึงแยกหลักสี่ และเบี่ยงออกด้านขวา ผ่านสะพานใหม่หน้าตลาดยิ่งเจริญ บริเวณด้านข้างของสถานีตำรวจภูธรคูคต และไปสิ้นสุดที่สถานี “คูคต” บริเวณคลองสอง ซึ่งสามารถเดินทางต่อไปยังที่ดินกรุงเทพมหานครในเขตสายไหมและลำลูกกาได้ไม่ยาก
รถไฟฟ้าสายสีชมพู (กำลังก่อสร้าง)
รถไฟฟ้าสายสีชมพู หรือ รถไฟฟ้าสายรามอินทรา เชื่อมโยงระหว่างช่วงแคราย จ.นนทบุรี ถึงมีนบุรี กทม. โดยเป็นหนึ่งในโครงการระบบขนส่งมวลชนสำคัญที่จะมาช่วยยกระดับมูลค่าที่ดินเปล่าในพื้นที่นนทบุรี และที่ดินเปล่า กทม. เพราะครอบคลุมระยะทางถึง 34.5 กิโลเมตร รวมทั้งสิ้น 30 สถานี โดยสถานีแรกเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง (บางใหญ่ – บางซื่อ) และรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลที่สถานี “ศูนย์ราชการนนทบุรี” วิ่งไปตามถนนติวานนท์จนถึงห้าแยกปากเกร็ด แล้วเลี้ยวขวาเข้าถนนแจ้งวัฒนะผ่านเมืองทองธานี ศูนย์ราชการฯ ไปเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ – รังสิต) ที่แยกหลักสี่ และรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ (หมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต) บริเวณวงเวียนอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ จากนั้นวิ่งไปบนถนนรามอินทรา ซึ่งที่สถานีวัชรพลสามารถเปลี่ยนไปยังรถไฟฟ้าสายสีเทา (วัชรพล-ทองหล่อ) ได้ด้วย ก่อนเข้าสู่เขตมีนบุรี ตามแนวถนนสีหบุรานุกิจ จนถึงสะพานข้ามคลองสามวา และเลี้ยวขวาข้ามคลองแสนแสบ ข้ามถนนรามคำแหงหรือถนนสุขาภิบาล 3 สิ้นสุดสถานีปลายทางที่สถานี “มีนบุรี” ใกล้แยกถนนรามคำแหง – ร่มเกล้า ซึ่งจะบรรจบกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางกะปิ – มีนบุรี) พอดี เรียกได้ว่าเป็นสายที่ระยะทางยาวไกลมาก ๆ หากโครงการแล้วเสร็จ เราเชื่อว่าจะสร้างประโยชน์ให้คนและที่ดินกรุงเทพมหานคร – นนทบุรีได้มากเลยทีเดียว
- รถไฟฟ้าสายสีเหลือง (กำลังก่อสร้าง)
ทางด้านความเจริญเติบโตของที่ดินกรุงเทพมหานคร ฝั่งพัฒนาการก็ดีไม่แพ้กัน เพราะรถไฟฟ้าสายสีเหลืองนี้จะช่วยเชื่อมต่อช่วงลาดพร้าว – พัฒนาการ – สำโรง เข้าด้วยกัน ซึ่งมีระยะทางไกลถึง 30.4 กิโลเมตร ด้วยการเดินทางเพียง 23 สถานี เริ่มต้นที่ “สถานีรัชดา” (สถานีลาดพร้าวของ MRT สายสีน้ำเงิน) ไปตามแนวถนนลาดพร้าว โดยเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเทาที่แยกฉลองรัช และยกระดับข้ามทางด่วนฉลองรัชจนถึงทางแยกบางกะปิ จากนั้นจะเลี้ยวขวาไปตามถนนศรีนครินทร์ เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มที่แยกลำสาลี แล้วจะยกระดับข้ามทางแยกต่างระดับพระราม 9 โดยสามารถเชื่อมต่อกับ Airport Rail Link ได้ ต่อมาจะผ่านแยกพัฒนาการไปจนถึงแยกศรีเทพา และจะเลี้ยวขวาอีกครั้งไปตามแนวถนนเทพารักษ์ ผ่านจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ ที่ “สถานีสำโรง” และจะสิ้นสุดเส้นทางที่นี่
…..
อ้างอิงที่มาจาก
- https://www.prachachat.net/property/news-622794
- https://www.mrta-greenlinenorth.com/15419817/%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87
- https://www.mrta.co.th/th/projectelectrictrain/bangkok-and-vicinities/pinkline/
- https://mrta-yellowline.com/wp/1-project-history-th/