จาก” ระบบตั๋วร่วม ” เป็นแค่ “ตั๋วต่อ” บัตรแมงมุมรถไฟฟ้าราคาไม่ถูก

บัตรแมงมุม,บัตรรถไฟฟ้า,ระบบตั๋วร่วม
บัตรแมงมุม,บัตรรถไฟฟ้า,ระบบตั๋วร่วม
บัตรแมงมุม,บัตรรถไฟฟ้า,ระบบตั๋วร่วม
บัตรแมงมุม,บัตรรถไฟฟ้า,ระบบตั๋วร่วม

เพราะ” การพัฒนา ระบบตั๋วร่วม “มีการเริ่มต้นมาบ้างตั้งแต่สมัย”รัฐบาล คมช.” มีพลเรือเอกธีระ ห้าวเจริญ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีการเซ็นบันทึกความเข้าใจ (MOU) เมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2550 เพื่อทำบัตรโดยสารร่วมในระยะแรก ระหว่างรถไฟฟ้าบีทีเอสและใต้ดินของ บมจ.รถไฟฟ้ากรุงเทพ (BMCL) ขณะนั้น มีการลงขัน 200 ล้านบาทเพื่อตั้งบริษัท จากวันนั้นถึงวันนี้ร่วม 9 ปี ในทางพฤตินัยยังไม่มีการใช้งานร่วมกัน แม้ว่าจะมีการปรับปรุงระบบให้รองรับบัตรโดยสารทั้ง 2 ระบบเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็ตาม

ต่อมาปี 2555 “ครม.-คณะรัฐมนตรี” อนุมัติเงิน 714 ล้านบาทให้ “สนข.” บริหารจัดการระบบตั๋วร่วมวงเงิน 305.30 ล้านบาท และจัดทำระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง (CCH) วงเงิน 409.53 ล้านบาท

จากนั้นวันที่ 11 ธ.ค. 2556 ได้ลงนามบันทึก MOU 4 ฝ่าย มี สนข., BMCL, BTS และ บจ. บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเทม หรือบีเอสเอสการ์ด ผู้ให้บริการบัตรแรบบิทที่มีสมาชิกอยู่หลายแสนราย เพื่อขอความร่วมมือให้หน่วยงานกลางของระบบตั๋วร่วมเข้าไปจัดเซตระบบใหม่ให้เป็นระบบเดียวกันทั้งหมด

สุดท้าย”กลุ่มบีเอสวี”ประกอบด้วยBTSบจ.สมาร์ททราฟฟิค และ บจ. วิกซ์ โมบิลิตี้ ได้เป็นผู้ออกแบบระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลางด้วยวงเงิน 338 ล้านบาท เมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2558 ขณะนี้กำลังทดสอบระบบ

ส่วนการจัดตั้งผู้บริหารจัดการระบบตั๋วร่วมที่ผ่านมา “สนข.” พยายามจะนำเสนอให้ ครม.พิจารณาตั้งแต่ปลายปี 2557 ถึงขณะนี้ยังเดินหน้าไม่ได้ ติดปัญหา 2 บริษัท “BTS-BEM” ที่กำลังเดินเกมช่วงชิงความเป็นผู้นำ ทำให้กระทรวงคมนาคมต้องแก้ปัญหาโดยให้ “รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย” ตั้งหน่วยธุรกิจมารองรับเป็นการชั่วคราว พร้อมดึง “กรุงไทย” มาร่วมด้วยช่วยกันผลักดัน

แค่ตั๋วต่อระบบ 4 รถไฟฟ้า

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ระบบตั๋วร่วมประเทศไทยเบื้องต้นจะเป็นตั๋วต่อระบบ ให้เดินทางสะดวกด้วยบัตรโดยสารใบเดียว ปีหน้าจะเริ่มใช้กับ 4 รถไฟฟ้า บีทีเอส ใต้ดิน สายสีม่วงและแอร์พอร์ตลิงก์

ส่วนจะให้ได้ค่าโดยสารที่ถูกลง เช่น ลดค่าแรกเข้า จะเป็นการยาก ต้องใช้เวลา เนื่องจากผู้เดินรถไฟฟ้าระบบเดิมยังมีสัญญาสัมปทานผูกมัดอยู่ จะทำได้ก็ต้องแก้สัญญาสัมปทานและรัฐจะต้องเข้าไปอุดหนุนรายได้ที่เป็นส่วนต่างให้เอกชน

“ประเทศไทยเพิ่งเคยมีตั๋วร่วมเริ่มแรกคงเป็นได้แค่ตั๋วต่อระบบไม่ใช่ค่าโดยสารร่วมเพราะนำมาใช้กับรถไฟฟ้าเดิมอนาคตเมื่อรถไฟฟ้าใหม่เปิดใช้ ในสัญญาสัมปทานจะระบุไว้เอกชนที่เดินรถต้องเข้าระบบตั๋วร่วม เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับประโยชน์ทั้งความสะดวกและค่าเดินทางที่ถูกลง รวมถึงใช้บัตรใบเดียวได้ทั้งระบบขนส่งสาธารณะและซื้อสินค้าในร้านสะดวกซื้อได้เหมือนต่างประเทศ”

ถึงตรงนี้ดูแล้ว” ระบบตั๋วร่วม “คงไม่ใช่แค่เรื่องใหม่ยังเป็นเรื่องใหญ่เค้กชิ้นใหญ่ ที่ใคร ๆ ก็อยากจะจับจอง

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก prachachat.net

อ่านหน้า 1

                                                                                                                                           

Dot Property เว็บไซต์อสังหาริมทรัพย์ชั้นนำ ซื้อ-ขาย อย่างมืออาชีพ…

ท่านต้องการขายอสังหาริมทรัพย์อยู่หรือไม่ ลงประกาศขายกับ Dot Property ฟรี!!! ไม่มีค่าใช้จ่าย ลงประกาศง่าย ขายได้ไว
หรือหากท่านกำลังมองหา คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดิน เว็บไซต์ Dot Property มีให้ท่านเลือกมากกว่า 300,000 รายการ ได้ตรงตามความต้องการ ครอบคลุมทุกพื้นที่ในประเทศไทย