ทุ่ม 1.5 พันล้าน ยกเครื่องใหม่ถนนวิภาวดีรังสิต แก้ปัญหาน้ำท่วม

ถนนวิภาวดีรังสิต

สภาพ ถนนวิภาวดีรังสิต จากทุ่งนาเมื่อปี 2515 ถึงปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปมากตามความเจริญ ขณะที่การจราจรก็หนาแน่นด้านล่างเฉลี่ยอยู่ที่ 200,000 คัน/วัน ด้านบนโทลล์เวย์อีก 100,000 คัน/วัน รวมเป็น 300,000 คัน/วัน

 

ยกเครื่องใหม่ ถนนวิภาวดีรังสิต  แก้ปัญหาน้ำท่วม

ขณะเดียวกัน เมื่อปี 2554 เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ถนนวิภาวดีรังสิตถูกน้ำท่วมสูง ประกอบกับพื้นที่มีจำกัด ไม่สามารถจะขยายช่องจราจรรองรับกับความต้องการได้ ทำให้ “ทล.-กรมทางหลวง” คิดโครงการพัฒนาคูน้ำริมถนนวิภาวดีรังสิต ยกเครื่องใหม่ในเรื่องของปัญหาน้ำท่วมบนถนนวิภาวดีรังสิตเชื่อมโยงถนนพหลโยธินระหว่าง กม.4+490-กม.28+700

ถนนวิภาวดีรังสิต

“อานนท์ เหลืองบริบูรณ์” อธิบดีกรมทางหลวง กล่าวว่า โครงการแบ่งการก่อสร้างเป็น 2 ระยะ ในระยะที่ 1 ดำเนินการเสร็จแล้วเมื่อเดือน มี.ค. 2562 อยู่ระหว่างส่งมอบงาน โดยติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 18 ตัว งานดันท่อลอด 8 จุด งานลอกท่อดูดเลน 73,965 เมตร งานขยายท่อทางเชื่อม 8 แห่ง และงานปรับปรุงผิวจราจร 126,921 ตร.ม.ฝั่งขาออกระหว่าง กม.11+300-กม.15+100

ส่วนระยะที่ 2 มีระยะทาง 26.485 กม. จุดเริ่มต้นอยู่ที่แยกดินแดง-คลองรังสิตประยูรศักดิ์ ค่าก่อสร้างกว่า 1,589 ล้านบาท แบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่ 1.แยกดินแดง-หน้าสวนจตุจักร ระหว่าง กม.5+500-กม.10+700 ก่อสร้างสถานีสูบน้ำมี บจ.สหการวิศวกร เป็นผู้ก่อสร้าง วงเงิน 677.32 ล้านบาท ใช้เวลาก่อสร้าง 900 วัน ตามสัญญาถึงวันที่ 25 ธ.ค. 2564

ถนนวิภาวดีรังสิต

2.หน้าสวนจตุจักร-หน้า ม.เกษตรศาสตร์ ระหว่าง กม.10+700-กม.28+030 เป็นการปรับปรุงสถานีสูบน้ำและทำทางจักรยานเลียบถนนวิภาวดีรังสิต มี บจ.ซีวิล เอนจิเนียริ่ง เป็นผู้ก่อสร้าง วงเงิน 597.67 ล้านบาท ใช้เวลาก่อสร้าง 900 วัน ตามสัญญาจะเสร็จวันที่ 25 ธ.ค. 2564

และ 3.หน้าเซียร์ รังสิต ระหว่าง กม.28+030-กม.30+300 เป็นงานดันท่อลอด มี บจ.สหการวิศวกร เป็นผู้ก่อสร้าง วงเงิน 314.24 ล้านบาท ใช้เวลาก่อสร้าง 720 วัน ตามสัญญาจะเสร็จวันที่ 28 มิ.ย. 2564

เมื่อแล้วเสร็จจะช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมบนถนนวิภาวดีรังสิต เพิ่มประสิทธิภาพระบบระบายน้ำบริเวณคูน้ำตามแนวถนนวิภาวดีรังสิตที่ระบายน้ำลงสู่คลองบางเขน คลองลาดพร้าว และคลองบางซื่อ ผ่านอุโมงค์ระบายน้ำใต้คลองบางซื่อออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา และลดปัญหาการจราจรติดขัดในพื้นที่กรุงเทพฯ อีกทั้งยังช่วยทำให้ประชาชนเข้าไปใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต จะเปิดบริการในปี 2564 ได้สะดวกขึ้น เนื่องจากจะมีทางเท้าและทางจักรยานในบางช่วง

ทั้งนี้ หลังจาก “นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ลงดูพื้นที่จริงเมื่อวันที่ 10 ส.ค.ที่ผ่านมา โดยสั่งการให้กรมทางหลวงบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค โดยยึดต้นแบบการแก้ไขปัญหาจากถนนพระราม 2

เช่น การวางแผนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการรื้อย้ายสาธารณูปโภค การเปิดหน้างานเท่าที่จำเป็น และการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่าง ๆ เพื่อสร้างความเข้าใจกับประชาชนอย่างต่อเนื่อง หากมีปัญหาด้านการประสานงานให้รายงานให้ทราบจะได้ช่วยแก้ไขต่อไป

นอกจากนี้ ให้สำรวจสภาพถนนทั้งในกรุงเทพฯและจังหวัดใหญ่ ๆ เช่น ถนนแจ้งวัฒนะที่ทราบว่ากำลังมีแผนก่อสร้าง นครราชสีมา และหาดใหญ่ ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมเมื่อฝนตกหนักถนนวิภาวดีรังสิต

“ท่านนายกรัฐมนตรีฝากมาให้คมนาคมดูโครงการก่อสร้างที่ใช้เวลา 700 วัน 900 วัน ขอให้ได้ผู้รับจ้างที่มีความพร้อมและเร่งรัดงานก่อสร้างให้เสร็จตามแผนหรือเสร็จเร็วยิ่งดี เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชน” นายศักดิ์สยามกล่าวย้ำ

จากนโยบายดังกล่าว ล่าสุด “อธิบดีกรมทางหลวง” กล่าวว่า กรมจะปรับแผนการก่อสร้างให้เร็วขึ้นให้เสร็จพร้อมกันก่อนสัญญา เพื่อลดผลกระทบต่อการจราจรบนถนนวิภาวดีรังสิตและใกล้เคียง

 

ที่มา prachachat

รถไฟฟ้าสายสีส้มรถไฟฟ้าสายสีส้ม เลื่อนยาว ปี64 ก็ไม่ได้ใช้ เหตุเงินการคลังไมพอ

 

 

กู้บ้านไม่ผ่าน

กู้บ้านไม่ผ่าน เอาเงินจองคืนได้ยังไง

 

 

สนใจข้อมูลข่าวสารเด่นๆ คอนเทนท์ร้อน ที่เรานำมาเสิร์ฟให้คุณผู้อ่านในทุกๆวันจาก Dotproperty คลิ๊ก