DotProperty.co.th

อยากซื้อทรัพย์ขายทอดตลาดจากเจ้าพนักงานบังคับคดี ต้องทำอย่างไร?

ใครที่กำลังมองหาทรัพย์ราคาถูกจาก กรมบังคับคดี ไม่ว่าจะทั้ง สังหาริมทรัพย์ หรือ อสังหาริมทรัพย์ ทรัพย์ขายทอดตลาด จากเจ้าพนักงานบังคับคดีก็เป็นตัวเลือกที่ดีและตอบโจทย์ที่ท่านต้องการเลย แล้วการจะซื้อทรัพย์ขายทอดตลาดเราเองต้องทำยังไงล่ะ? วันนี้ Dotproperty จะพาคุณผู้อ่านไปเจาะลึกถึงรายละเอียดนั้น โดยที่เราจะอธิบายพอสังเขปและเข้าใจง่าย โดยข้อมูลทั้งหมดนี้ต้องขอขอบคุณข้อมูลจาก กรมบังคับคดี ที่ได้แบ่งปัญโอกาศดีๆในครั้งนี้

จะทำยังไงถ้าต้องการซื้อ ทรัพย์ขายทอดตลาด จากเจ้าพนักงานบังคับคดี

ก่อนที่ท่านจะเข้าทำการซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี ตัวท่านเองนั้นควรทำการตรวจสอบถึงรายละเอียดทรัพย์ที่ท่านนั้นสนใจเสียก่อน โดยสามารถตรวจสอบรายละเอียดจากประกาศขายทอดตลาดซึ่งระบุรายละเอียด ประเภทของทรัพย์ ที่ตั้ง วัน เวลา สถานที่ที่จะทำการขายทอดตลาด เงื่อนไขในการเข้าสู้ราคา ข้อสัญญาคำเตือนผู้ซื้อและแผนที่การไปที่ปรากฏในประกาศ และถือว่าผู้ซื้อได้ทราบถึงสภาพทรัพย์นั้นโดยละเอียดครบถ้วนแล้ว

ท่านสามารถค้นหาทรัพย์สินขายทอดตลาดได้ที่ http://asset.led.go.th/newbid/asset_search_map.asp

 

ผู้ประสงค์จะเข้าสู้ราคาต้องวางหลักประกันการเข้าสู้ราคาต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นเงินสดหรือแคชเชียร์เช็ค โดยสั่งจ่ายสำนักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 1 ถึง 6 หรือสำนักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขา แล้วแต่กรณี เป็นจำนวนตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการเงื่อนไขในการขายทอดตลาดต่อไป เว้นแต่ ผู้เข้าสู้ราคานั้นเป็นผู้มีสิทธิหักส่วนได้ใช้แทน หรือคู่สมรสศาลมีคำสั่งอนุญาตให้กันส่วนแล้ว และต้องทำสัญญาหรือข้อตกลงผูกพันกับกรมบังคับคดีในการเสนอราคา มิฉะนั้นจะไม่มีสิทธิเข้าสู้ราคา

ส่วนผู้ที่ซื้อไม่ได้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะทำการคืนหลักประกันให้ทันทีหลังการขายในวันนั้น

 

วิธีการประมูลซื้อทรัพย์จากเจ้าพนักงานบังคับคดี

อันดับแรกเลยก่อนการเริ่มทำการประมูล จะอธิบายวิธีการขายข้อกำหนดต่างๆพอสังเขป โดยในแต่ละคดีก็จะให้ท่านได้ดูรายของประกาศขายทอดตลาด สอบถามว่ามีผู้ใดเป็นส่วนได้เสีย มีเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษามาดูแลการขายทอดตลาดไหม และทำการประกาศราคาเริ่มต้นในการขาย

ในการเพิ่มราคาประมูลนั้น เจ้าพนักงานจะประกาศกำหนดการเพิ่มราคาว่าจะเพิ่มครั้งละเท่าไหร่ ผู้ร่วมประมูลนั้นสามารถยกไม้เพื่อขอซื้อและแข่งขันกันเพิ่มราคาจนได้ราคาสูงสุด นับหนึ่ง 2-3 ครั้ง หากไม่มีผู้ใดสู้ราคาก็จะทำการขานราคาสูงสุดนับสามและทำการเคาไม้ เป็นอันจบ ผู้ซื้อได้จะต้องทำสัญญาตามแบบพิมพ์ของกรมบังคับคดี

หากท่านไม่สามารถเข้าสู้ราคาเองได้ สามารถมอบอำนาจให้บุคคลอื่นเข้าสู้ราคาแทนได้ โดยผู้รับมอบอำนาจในการเข้าสู้ราคาจะต้องนำส่งใบมอบอำนาจต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีก่อนเข้าสู้ราคา มิฉะนั้นจะถือเป็นการเข้าสู้ราคาในนามตนเอง ซึ่งจะเปลี่ยนชื่อผู้ซื้อในภายหลังไม่ได้

ที่มา : กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม 

 

สนใจข้อมูลข่าวสารเด่นๆ คอนเทนท์ร้อน ที่เราหามาเสริฟให้คุณผู้อ่านในทุกๆวันจาก Dotproperty คลิ๊ก …