หลังจากครั้งที่แล้วเราได้เสนอสถาน์การณตลาด ที่อยู่อาศัย กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ในไตรมาส 1 ปี 2561 กันไปแล้วแต่สำหรับใครยังไม่ทราบหรือพึ่งมาอ่านบทความนี้เป็นครั้งแรกสามารถกลับไปอ่าน บทความ เจาะลึก สถานการณ์ตลาดที่ อยู่อาศัยกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ช่วงกลาง ปี 2561 ได้ที่ลิงค์นี้เลย
วันนี้เรามาต่อในส่วนของ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ – ปริมณฑล รวมไปถึง สถานการณ์ด้านราคาที่อยู่อาศัย ในปี2561กันว่าจะเป็นอย่างไร เพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราไปชมกันเลยคะ
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนา ที่อยู่อาศัย ในกรุงเทพฯ – ปริมณฑล
ไตรมาส 1 ปี 2561 มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นในภาวะปัจจุบัน (Current Situation Index) เท่ากับ52.1 จุด ซึ่งสูงกว่าค่ากลางที่ระดับ 50.0 จุด และเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาส 4 ปี 2560 ที่ระดับ 51.9 จุด ดัชนีที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นผลมาจากความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นในด้านการลงทุน การจ้างงาน และการขึ้นโครงการใหม่/ยูนิต
ส่วนผลประกอบการ และยอดขาย ปรับลดลงเล็กน้อย ส่วนต้นทุนผู้ประกอบการค่าดัชนีใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนหน้าที่ยังคงต่ํากว่าค่ากลางที่ระดับ 50.0 จุด
สําหรับดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 6 เดือนข้างหน้า (Expectations Index) มีค่าเท่ากับ 62.8จุด สูงกว่าค่ากลางที่ระดับ 50.0 จุด และเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 4 ปี 2560 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 59.1 จุด ทั้งนี้ดัชนีที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นผลมาจากความเชื่อมั่นด้านผลประกอบการ ด้านยอดขายการลงทุน การจ้างงาน และการเปิดโครงการใหม่
สอดคล้องกับเศรษฐกิจในภาพรวมที่มีแนวโน้มขยายตัวในทิศทางที่ดีขึ้น ส่วนต้นทุนผู้ประกอบการต่ํากว่าค่ากลางที่ระดับ 50.0 จุด เป็นผลมาจากการประกาศปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ํา
สถานการณ์ด้านอุปสงค์ที่อยู่อาศัย
อัตราดูดซับตลาดที่อยู่อยู่อาศัย จากการสํารวจโครงการที่อยู่อาศัย กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ณ สิ้นปี 2560 พบว่า มีอุปทานเหลือขายจํานวน 142,860 หน่วย แบ่งเป็นบ้านจัดสรรจํานวน 80,449 หน่วย อาคารชุดจํานวน 62,411 หน่วย
โดยมียอดขายใหม่ในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง ธันวาคม 2560 จํานวน 54,601 หน่วย มูลค่าขายได้ใหม่รวม 216,763ล้านบาท แบ่งเป็นบ้านจัดสรร จํานวน 21,693 หน่วย มูลค่า 87,045 ล้านบาท อาคารชุด จํานวน 32,908 หน่วย มูลค่ารวม 129,718 ล้านบาท
หากไม่มีการเปิดขายโครงการใหม่เพิ่มมา อุปทานเหลือขายดังกล่าวคาดว่าจะใช้ระยะเวลาในการขายให้หมดได้ภายในระยะเวลาประมาณ 16 เดือน หรือมีอัตราดูดซับร้อยละ 4.6
โดยตลาดที่อยู่อาศัยประเภทบ้านจัดสรร มีอัตราดูดซับร้อยละ 3.5 หรือคาดว่าจะขายได้หมดภายในระยะเวลาประมาณ 22 เดือนและตลาดที่อยู่อาศัยประเภทอาคารชุด มีอัตราดูดซับร้อยละ 5.8 หรือคาดว่าจะขายได้หมดภายในระยะเวลาประมาณ 11 เดือน
การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ–ปริมณฑล
ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2561 มีจํานวน 42,104 หน่วย และมีมูลค่า 111,468 ล้านบาท โดยจํานวนหน่วยเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.4 และมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.4 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2560 ซึ่งมีจํานวน29,575 หน่วย และมูลค่า 79,940 ล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2560 พบว่า ทั้งจํานวนหน่วย และมูลค่าลดลงร้อยละ 12.3 และ 12.5 ตามลําดับ
ในไตรมาส 1 ปี 2561 มีการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดมากที่สุด จํานวน 19,770 หน่วย คิดเป็นร้อยละร้อยละ 47.0 ของหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ทั้งหมด รองลงมาเป็นทาวน์เฮ้าส์จํานวน 12,289 หน่วย คิดเป็นร้อยละ29.2 บ้านเดี่ยวมีการโอนจํานวน 6,142 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 14.6 อาคารพาณิชย์พักอาศัยมีการโอนจํานวน2,317 หน่วย มีสัดส่วนร้อยละ 5.5 และบ้านแฝดมีการโอนจํานวน 1,586 หน่วย มีสัดส่วนร้อยละ 3.8
การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยสร้างใหม่ (บ้านจัดสรร และอาคารชุดที่โอนจากนิติบุคคล) มีจํานวน25,712 หน่วย และที่อยู่อาศัยมือสอง (บ้านจัดสรร และอาคารชุดที่โอนจากบุคคลธรรมดา) มีจํานวน 16,392หน่วย ทําให้สัดส่วนจํานวนหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยสร้างใหม่ต่อที่อยู่อาศัยมือสองในไตรมาส 3 ปี 2560เท่ากับ 61 : 39
สินเชื่อบุคคลปล่อยใหม่ทั้งระบบทั่วประเทศ
ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2561 สินเชื่อบุคคลปล่อยใหม่ทั้งประเทศ มีมูลค่า 153,061 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560 ซึ่งมีมูลค่า 115,788 ล้านบาท
สถานการณ์ด้านราคาที่อยู่อาศัย
ดัชนีราคาโครงการที่อยู่อาศัยสร้างใหม่ที่อยู่ระหว่างการขายในไตรมาส 1 ปี 2561 เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 ปี 2560 (YoY) และไตรมาส 4 ปี 2560 (QoQ) ทุกประเภท
ดัชนีราคาห้องชุดในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล 2 จังหวัด (นนทบุรีและสมุทรปราการ) ในไตรมาส 1ปี 2560 มีค่าดัชนีเท่ากับ 133.1 จุด เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนซึ่งมีค่าดัชนีเท่ากับ 124.9 จุด และปรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 4 ปี 2560 ร้อยละ 0.9
สําหรับรายการส่งเสริมการขายห้องชุด ในไตรมาส 1 ปี 2561 ส่วนใหญ่ร้อยละ 56.8 มีข้อเสนอเป็นของแถม เช่น เฟอร์นิเจอร์เครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯรองลงมาร้อยละ 31.8 เป็นส่วนลดเงินสด และร้อยละ 11.5 เป็นการออกค่าธรรมเนียมในการโอนให้กับลูกค้าดัชนีราคาบ้านแนวราบในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล 3 จังหวัด (นนทบุรีปทุมธานีและสมุทรปราการ)
ในไตรมาส 1 ปี 2561 มีค่าดัชนีเท่ากับ 121.1 จุด เพิ่มขึ้นจาก 116.7 จุด หรือร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้นจาก 119.4 จุด หรือ ร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2560 เมื่อแยกพิจารณาแต่ละประเภท พบว่าดัชนีราคาบ้านเดี่ยว มีค่าดัชนีเท่ากับ 119.4 จุด เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9
เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน(YoY) ซึ่งมีค่าดัชนีเท่ากับ 114.9 จุด และเพิ่มขึ้นร้อยละ2.0เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2560(QoQ)ซึ่งมีค่าดัชนีเท่ากับ 117.1 จุดดัชนีราคาทาวน์เฮ้าส์ มีค่าดัชนีเท่ากับ 123.0 จุด เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6
เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน(YoY) ซึ่งมีค่าดัชนีเท่ากับ 118.6 จุดและเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 หรือ เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2560(QoQ)ซึ่งมีค่าดัชนีเท่ากับ 121.8 จุด
*ข้อมูลสถิติข้อเขียนใด ๆ ที่ปรากฏในรายงานฉบับนี้ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ได้รับมาจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้หรือจากการประมวลผลที่เชื่อถือได้ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ได้ตรวจสอบจนมั่นใจในระดับหนึ่งแล้ว แต่ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ไม่สามารถยืนยันความถูกต้องหรือความเป็นจริง และไม่อาจรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ว่าในกรณีใดๆ จากการใช้ข้อมูล ผู้นําข้อมูลไปใช้พึงใช้วิจารณญาณ และตรวจสอบตามความเหมาะสม
อ้างอิงจาก ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์