บทความ

บทความ

บทความ


ปัญหาติดจำนองทรัพย์สินขายทอดตลาด01

ปัญหาติดจำนองทรัพย์สินขายทอดตลาด…รู้ไว้ ลดความเสี่ยง

หลายคนที่คิดจะลงทุน หรือซื้อบ้านและคอนโดมือสองในกับกรมบังคับคดีนั้นมักมีเหตุผลคล้ายๆกัน คือเพราะเป็นบ้านและคอนโดที่มีราคาถูกกว่าราคาท้องตลาด แม้จะต้องผ่านขั้นตอนการประมูลก่อนก็ตาม เพราะถ้าเทียบภาพรวม ของสภาพอสังหาริมทรัพย์แล้ว บ้านหรือคอนโดที่เป็นทรัพย์สินขายทอดตลาดหรือ บ้านหรือคอนโดNPA ของสถาบันการเงินจะมีสภาพที่ใกล้เคียงกัน แต่อย่างไรก็ตามทรัพย์สินขายทอดตลาดมักจะมีปัญหาหนึ่งซึ่งถือเป็นปัญหาใหญ่นั่นคือปัญหา “ติดจำนอง” โดยทั่วไปในรายละเอียดการขายทรัพย์สินจะมีระบุไว้ว่าจะทำการขายโดย หรือขายโดยติดจำนอง คือ ราคานอกจากราคาประมูลแล้ว ราคายังต้องบวกหนี้จำนองส่วนที่เหลือเพิ่มเข้าไปด้วย ทำให้ราคานั้นสูงกว่า สำหรับความหมายของการขายโดยติดจำนองไปคือ 1. ในการขายทอดตลาดโดยวิธีการติดจำนองไปมีผู้เกี่ยวข้อง 3 ฝ่าย ประกอบด้วย เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา(โจทก์) ลูกหนี้ตามคำพิพากษา (จำเลย) และผู้รับจำนอง 2. ในคดีฟ้องร้องโจทก์(เจ้าหนี้) ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จากจำเลย ซึ่งทรัพย์ที่ยึดได้ติดจำนองกับบุคคลภายนอก ไม่ว่าจะเป็น บุคคลธรรมดา...
รู้จักบ้านและคอนโดเอ็นพีเอจากกรมบังคับคดี02

รู้จักบ้านและคอนโดเอ็นพีเอจากกรมบังคับคดี

NPA หรือทรัพย์สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้นั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ทรัพย์สินรอการขายซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคารและ ทรัพย์สินขายทอดตลาด ของกรมบังคับคดี ซึ่งทรัพย์สินขายทอดตลาดนั้นก็เรียกความสนใจของนักลงทุน และผู้ที่อยากซื้อที่อยู่อาศัยในราคาประหยัดได้เป็นอย่างดี ในการเลือกทรัพย์สินขายทอดตลาดของกรมบังคับคดีนั้นก็มีหลักการคล้ายกับการเลือกอสังหาริมทรัพย์มือสองอย่างอื่น คือต้องคำนึงถึงทำเลที่ตั้ง เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก ตามมาด้วยสภาพตัวบ้าน สิ่งแวดล้อม เพื่อนบ้าน และราคาที่สมเหตุสมผล นอกจากการหาข้อมูลแล้ว การลงสำรวจพื้นที่ด้วยตัวเองก็สำคัญเช่นกัน ระเมินภาพรวมทั้งหมดก่อนตัดสินใจว่าคุ้มค่าให้เข้าร่วมประมูลหรือไม่ (กรณีคอนโดมิเนียมอาจติดต่อนิติบุคคลขอดูภาพรวมในโครงการ) การจะซื้อบ้านหรือคอนโดจากกรมบังคับคดีนั้น จะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากกว่า NPAของสถาบันการเงินหากแต่ทรัพย์สินนั้นมีราคาที่ถูกกว่าราคาตลาด จึงสามารถดึงดูดให้คนสนใจได้ไม่แพ้บ้านและคอนโดมือสองNPA ของสถาบันการเงิน เพราะต้นทุนที่ต่ำย่อมหมายความถึงผลตอบแทนที่สูงขึ้น เมื่อเข้าร่วมประมูล ผู้เข้าร่วมประมูลจะถูกเรียกว่า “ผู้เข้าสู้ราคา” ส่วนมากราคาเริ่มประมูลบ้านและคอนโดมือสองจากกรมบังคับคดีนั้นจะมีราคาต่ำกว่า ราคาตลาดถึง...
ข้อดี-ข้อเสีย และข้อควรระวังในการลงทุนกับ NPA01

เปรียบเทียบให้เข้าใจ…ข้อดี-ข้อเสีย และข้อควรระวังในการลงทุนกับ NPA

ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าแม้NPA ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินรอการขายของสถาบันการเงิน หรือเป็นทรัพย์สินขายทอดตลาดของกรมบังคับคดี จะมีราคาถูก แต่ก็เป็นของมือสอง ดังนั้นจะตัดสินใจซื้อเพียงจากราคาอย่างเดียวไม่ได้ ผู้ที่ต้องการจะลงทุนกับอสังหาริมทรัพย์มือสอง NPA จึงต้องหาข้อมูลเปรียบเปรียบข้อดีข้อเสียก่อนทำการตัดสินใจ ข้อดีของบ้านและคอนโดNPA 1. มีโอกาสได้ของดี ราคาถูก 2. มีทางเลือกหลากหลาย 3. สะดวกขอสินเชื่อ ในกรณีที่ต้องการกู้กับสถาบันการเงิน เพราะสถาบันการเงินจะเสนอวงเงินในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าสินเชื่อทั่วไป เพราะสถาบันการเงินเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ และย่อมต้องการลดภาระจากสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้อย่าง NPA 4. มักมีโปรโมชั่น สถาบันการเงินมักจะมีโปรโมชั่นต่างๆ เช่น ฟรีค่าทำเนียมทุกรายการ ทำให้เราเบาภาระการเสียค่าทำเนียม เช่น ค่าโอนเป็นต้น 5. เอกสารมีความชัดเจน แน่นอน...
ขั้นตอนซื้อบ้าน-คอนโดมือสองNPA01

ทำอะไร ตอนไหน…เจาะลึกขั้นตอนซื้อบ้าน-คอนโดมือสองNPAจากสถาบันการเงิน

เป็นที่ทราบกันดีกว่า NPA ในรูป ทรัพย์สินรอการขายของสถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์นั้นจะมีขั้นตอนการซื้อที่ง่ายกว่า NPA ที่เป็นทรัพย์สินขายทอดตลาดของกรมบังคับคดี จึงไม่แปลกใจที่หลายคนจะเลือกลงทุนกับทรัพย์สินรอการขาย แต่หลายครั้งผู้ลงทุน และผู้ที่ต้องการจะซื้อบ้านหรือคอนโดมือสองNPA เกิดความสงสัยว่าหากเราตัดสินใจแล้วว่าต้องการซื้อNPA ของสถาบันการเงินต้องทำอะไร มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง วันนี้ dotproperty เลยไม่รอช้านำขั้นตอนในการซื้อบ้านและคอนโด NPA มาเสนอ ขั้นตอนแบ่งออกได้ ดังนี้ 1. รับแบบฟอร์มเสนอซื้อ ผู้ซื้อสามารถทำการขอรับแบบฟอร์มคำเสนอซื้อได้ที่สถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ หรือทางเว็บไซต์ในบางสถาบัน แต่บางที่อาจทำการเสนอ ซื้อผ่านเว็บได้เลย 2.กรอกแบบฟอร์ม เตรียมหลักฐาน ผู้เสนอซื้อทำการระบุรายละเอียดราคา และเงื่อนไขการเสนอซื้อ ลงนาม พร้อมแนบเอกสารดังนี้ - กรณีบุคคลธรรมดา...
จะซื้อบ้านและคอนโดNPAได้อย่างไร

จะซื้อบ้านและคอนโดNPAได้อย่างไร

หลังจากผ่านขั้นตอนการเลือกเฟ้น เสาะหา และสำรวจ บ้านหรือคอนโด NPA ที่ตรงใจได้แล้ว ก็ถึงเวลาการตัดสินใจซื้อของผู้ลงทุน การเปิดขายทรัพย์สินรอการขายของสถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ 1. การยื่นเสนอราคา สถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์มักจะลงประกาศขาย NPA ในเว็บไซต์ หรือในโบรชัวร์ โดยจะกำหนดราคาขายเอาไว้ เมื่อมีผู้สนใจติดต่อขอซื้อในราคาดังกล่าว ส่วนใหญ่ทางสถาบันการเงินจะตกลงขายให้แก่ผู้สนใจทันที แต่ก็มีบางครั้งที่ทรัพย์สินรอการขายนั้นไม่ได้มีผู้สนใจมากมายนัก แล้วมีผู้สนใจติดต่อขอซื้อในราคาที่ต่ำกว่าที่ทางสถาบันการเงินหรือ บริษัทบริหารสินทรัพย์เสนอขายไว้ กรณีนี้ทางสถาบันการเงินจะนำราคาที่มีผู้เสนอซื้อ นำเสนอต่อคณะกรรมการสำหรับพิจารณาว่าจะขายหรือไม่ เวลาที่ใช้อยู่ที่ 7-15 วัน แล้วค่อยรายงานผลการตัดสินใจ ในบางครั้งบ้าน คอนโด...
ตรวจสอบNPA

จะซื้อทรัพย์สินรอการขาย…ต้องตรวจสอบอะไรบ้าง

สำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนในทรัพย์สินรอการขายหรือเอ็นพีเอของสถาบันการเงิน สิ่งที่สำคัญนอกเหนือไปจากการหาบ้านหรือคอนโด NPA ที่เข้าข่ายตามที่คุณต้องการ คือความมั่นใจว่าคุณจะได้ซื้อในสิ่งที่ดีที่สุด ดังนั้นคุณจึงจำเป็นต้องรู้จักNPAที่ตนเองกำลังจะลงทุนให้ดีที่สุด เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเคล็ดลับการตรวจสอบที่ dotproperty นำมาเสนอในวันนี้จะสามารถทำให้คุณสามารถเลือกบ้านหรือคอนโดเอ็นพีเอ ได้อย่างคุ่มค่าแน่นอน 1. ตรวจสอบทรัพย์สินที่จะซื้อด้วยตัวเอง มาตรา 473 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ว่า “ผู้ขายไม่ต้องรับผิดชอบในความชำรุดบกพร่องในการซื้อทรัพย์สินจากการขายทอดตลาด” นั่นหมายความว่าจะไม่สามารถเรียกร้องจากผู้ขายหลังการซื้อ ผู้ลงทุนจึงจำเป็นต้องไปสถานที่จริง เพื่อตรวจสอบบ้านหรือคนโดด้วยตัวเองให้แน่ใจต้องมีข้อมูลของทรัพย์สินรอการขาย อาทิ สภาพบ้าน อายุ สภาพอุปกรณ์ภายใน ระบบประปา ระบบไฟฟ้า และระบบระบายน้ำเป็นอย่างไร ทำเลเอื้อให้การเดินทางง่ายหรือไม่...
npa

อยากได้บ้านและคอนโดมือสองเอ็นพีเอ…หาอย่างไรให้โดนใจคุณ

ในบทความที่แล้ว dotproperty ได้บอกคุณถึงข้อมูลสำคัญที่ต้องคำนึงถึงเกี่ยวกับการซื้อบ้านและคอนโดมือสองเอ็นพีเอหากคุณมั่นใจถึงความต้องการที่แท้จริงและยืนยันว่าจะซื้อบ้านหรือคอนโดยในรูปของทรัพย์สินรอการขายอาจจะมีข้อสงสัยว่าจะสามารถค้นหาบ้านและคอนโดมือสองเอ็นพีเออย่างไร จึงจะได้NPAที่ดีมีคุณภาพจึงเป็นที่มาของบทความ NPA...หาอย่างไรให้โดนใจคุณการหาNPA โดยหากคุณต้องการบ้านหรือคอนโดมือสองในรูปของทรัพย์สินรอการขาย จะสามารถค้นหาบ้านและคอนโดที่ต้องการด้วย 2 วิธี ดังนี้ 1. ติดต่อโดยตรง คุณสามารถหารายละเอียดเอ็นพีเอได้ที่สำนักงานใหญ่หรือสาขาย่อยของสถาบันการเงินที่น่าเชื่อถือ หรือติดต่อกับ บริษัทบริหารสินทรัพย์ โดยปกติหากคุณเลือกติดต่อไปที่สาขาใหญ่มักจะดีกว่าสาขาย่อยเพราะมักจะมีหน่วยงานสำหรับอำนวยความสะดวก เรื่องการซื้อNPAโดยเฉพาะ แม้ว่าจะต้องเสียเวลาเดินทาง แต่วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีข้อมูลอยู่ไม่มาก เพราะพนักงานที่รู้ จะคอยตอบข้อสงสัยให้คุณได้ 2. หาข้อมูลจากเว็บไซต์ เพราะโลกปัจจุบันนั้นได้เชื่อมเข้าหากันโดยตลอดด้วยเว็บไซต์ คุณจึงสามารถหาข้อมูลบ้านและคอนโดเอ็นพีเอได้จากเว็บไซต์ ทั้งของสถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์ ในเว็บไซต์มักจะมีเมนูให้เลือกไปยังหมวดทรัพย์สินรอการขายหรือ NPA ซึ่งจะมีหมวดย่อยจัดแบ่งประเภททรัพย์สิน ไม่ว่าจะเป็น...
สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงก่อนตัดสินใจซื้อ NPA

สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงก่อนตัดสินใจซื้อ NPA

อสังหาริมทรัพย์มือสองในรูปแบบทรัพย์สินรอการขาย( NPA) หรือ บ้านมือสองหลุดจำนอง กำลังเป็นที่สนใจของใครหลายคน เพราะสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อบ้านและคอนโดย่อมต้องการซื้อในราคาที่ถูกที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งเอ็นพีเอสามารถตอบโจทย์นั้นได้เป็นอย่างดี ทั้งยังหาได้ง่ายจากเว็บไซต์ของสถาบันการเงินที่มีความน่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตามก็มีผู้ลงทุนจำนวนมากที่ตัดสินใจผิดพลาดในการซื้อเอ็นพีเอ ส่วนมากมักเกิดจากการรีบตัดสินใจซื้อจากคำชักชวนของคนรู้จัก และ ซื้อNPAนั้นเพราะมีราคาถูกเหมือนได้เปล่า สังเกตได้ว่าผู้ที่ตัดสินใจผิดพลาดมักเกิดจากการซื้อNPA โดยไม่มีเหตุผลรองรับ สุดท้ายจึงไม่แคล้วที่จะต้องเสียดายเมื่อเงินที่ลงทุนไปนั้นสูญเปล่า หรือได้กลับคืนมาแบบไม่คุ้มค่า ดังนั้นหากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องการจะลงทุนในทรัพย์สินรอการขายของสถาบันการเงิน สิ่งแรกที่คุณควรคำนึงถึงเป็นอันดับหนึ่งคือ “คุณจะซื้อ NPA นั้น ไปทำอะไร” คุณต้องถามตัวเองก่อนว่าต้องการซื้อ NPA นั้นเอาไว้อาศัยอยู่เองหรือเพื่อการลงทุน หากจะซื้อเพื่ออยู่เองก็ต้องคำนึงถึงที่ตั้ง ทำเล และความสะดวกในการเดินทาง และสภาพแวดล้อมของที่แห่งนั้นว่ามีสิ่งที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของคุณ ได้ดีขนาดไหน อยู่ใกล้ห้างสรรพสินค้า ตลาด หรือโรงพยาบาลหรือไม่ บ้านหรือคอนโดมีสภาพพร้อมเข้าอยู่เลยหรือเปล่า...
อสังหาริมทรัพย์รอการขาย2

อสังหาริมทรัพย์รอการขาย VS อสังหาริมทรัพย์ขายทอดตลาด : เหมือนหรือต่างอย่างไร

บ้านและคอนโดมือสองเอ็นพีเอ(NPA) ของสถาบันการเงิน นับเป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมสำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนกับอสังหาริมทรัพย์มือสอง เพราะทางสถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์ต่างๆ ล้วนมีบ้านและคอนโดมือสองให้เลือกมากมาย ทั้งแบบ ขนาด และ ทำเลที่ตั้ง ซึ่งแตกต่างกันไป ในราคาที่ถูกกว่าบ้านและคอนโดมือหนึ่ง และบ้านและคอนโดมือสองในท้องตลาด อย่างไรก็ตามผู้ลงทุนหลายคนที่กำลังหาข้อมูลสำหรับการตัดสินใจลงทุน เกิดความสับสนระหว่างเอ็นพีเอ(NPA) หรือทรัพย์สินรอการขาย ของสถาบันการเงิน และ สินค้าขายทอดตลาด โดยบางครั้งข้อมูลของสถาบันการเงินจะแสดงทั้งบ้านและคอนโดที่เป็นเอ็นพีเอ และบ้านและคอนโด ที่ขายทอดตลาด วันนี้ทาง dotproperty จึงนำคำตอบเพื่อไขข้อข้องใจสำหรับนักลงทุนและผู้สนใจ ความแตกต่างระหว่างบ้านและคอนโดมือสองเอ็นพีเอ(NPA) และสินค้าขายทอดตลาดแตกต่างกันที่วิธีที่ทำการขาย โดยบ้านและคอนโดมือสองเอ็นพีเอ(NPA) ของสถาบันการเงินนั้นถือเป็นสิทธิ์ของสถาบันการเงิน นั่นหมายความว่า ทางสถาบันการเงิน สามารถขายเอ็นพีเอ (NPA)ให้กับผู้ซื้อได้ทันที...
NPA1

รู้จักทรัพย์สินรอการขาย หรือ NPA

ปัจจุบันการลงทุนกับอสังหาริมทรัพย์มือสองกำลังได้รับความนิยมมากขึ้น ทั้งการลงทุนซื้อสำหรับการอยู่อาศัยเองและการลงทุนซื้อเก็งกำไรเพื่อขายต่อในอนาคต ซึ่งตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์มือสองคือทรัพย์สินรอการขาย หรือ NPA จากสถาบันการเงิน วันนี้ทางทีมงาน dotproperty ขอนำเสนอข้อมูลดีๆที่จะทำให้ผู้ที่สนใจลงทุนกับอสังหาริมทรัพย์มือสองรู้จักทรัพย์สินรอการขาย หรือ NPA มากขึ้น NPA ย่อมาจาก Non-Performing Asset แปลตรงตัวทรัพย์สินกลุ่มนี้ถือเป็นทรัพย์สินด้อยคุณภาพ ทรัพย์สินที่ถือว่าเป็นทรัพย์สินด้อยคุณภาพ ได้แก่ - ทรัพย์สินที่ทางสถาบันการเงินอาจซื้อมาในราคาที่สูงกว่าความเป็นจริง - ทรัพย์สินที่ลูกหนี้ที่มีปัญหาได้ตีโอนเพื่อชำระหนี้แก่สถาบันการเงิน หรือ ทรัพย์สินหลุดจำนอง...