เซ็นยกบ้านให้สามีหรือภรรยาหลังหย่า แต่ไม่ได้ไปทำที่กรมที่ดิน ถือว่าเป็นเอกฉันทร์หรือไม่
มีหลายเคสมากที่เกิดขึ้นกับปัญหาการเซ็นยกบ้านที่ดินให้แล้วแต่ไม่ได้ไปทำที่กรมที่ดิน อย่างเช่นการที่สามีและภรรยาได้จดทะเบียนหย่าร้างกัน และทำการเซ็นยกบ้านให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด โดยที่ไมการเซ็นเป็นลายลักษณ์อักษรดังกล่าวมีเพียงพยานรู้เห็นเป็น จนท. เขต แต่ไม่ได้ไปทำการโอนกรรมสิทธิ์ที่กรมที่ดิน ซึ่งวันนี้เราจะนำเสนอว่าเพราะเหตุใด การเซ็นยกบ้านจึงยังไม่เป็นอันสมบูรณ์
การเซ็นลายลักษณ์ต้องทำที่สำนักงานที่ดินเท่านั้น
การที่มีการเซ็นยกบ้านและที่ดินเกิดขึ้นเป็นหนังสือลายลักษณ์อักษรโดยที่ไม่ได้ทำที่สำนักงานที่ดินนั้น แม้จะมี จนท.เขตเป็นพยานแล้วก็ตาม ก็ยังถือว่าเป็นการเซ็นต์ยินยอมที่ไม่เป็นเอกฉันทร์ จะใช้ยืนยันกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินไม่ได้ เป็นการเซ็นรับรู้ระหว่างผู้ให้และผู้รับเท่านั้น แม้จะเป็นสามีและภรรยาที่หย่าร้างกันก็ตาม จำเป็นที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องนำข้อตกลงนั้นไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดิน เพื่อให้มีชื่อคนใดคหนึ่งเพียงคนเดียวบนโฉนดตามข้อตกลงของทั้งสองฝ่ายที่มีร่วมกัน
หลักฐานและเอกสารต่างๆที่ต้องนำไปด้วย
หลักฐานที่จะต้องนำมาด้วย ณ สำนักงานที่ดิน จะต้องมีโฉนดที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ใบสำคัญการหย่า ข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินตลอดจนหลักฐานประจำตัวอื่นๆ...
การมอบอำนาจที่ดิน กับข้อควรระวังและข้อบังคับต่างๆที่ต้องรู้
ไม่ใช่ว่าทุกคนจะมีเวลาและความสะดวกมากพอที่จะไปทำการต่างๆที่กรมที่ดินได้ กฎหมายจึงมีข้อยกเว้นให้มีการ มอบอำนาจที่ดิน เกิดขึ้นเพื่อให้คนที่ไม่สะดวกในช่วงเวลาราชการ สามารถกระทำการต่างๆ ไม่ว่าจะซื้อจะขาย รวมไปถึงธุรกรรมต่างๆที่คุณสามารถใช้ตัวแทนผู้ได้รับมอบอำนาจไปกระทำการแทนตนได้ โดยวันนี้เราจะพูดถึงข้อระวังและการเตรียมตัวต่างๆเพื่อให้คุณไม่เกิดข้อผิดพลาดจนทำให้ต้องเสียเวลาไปโดยเสียเปล่า
ความหมายของการมอบอำนาจ ที่ดิน
การมอบอำนาจที่ดิน เป็นการมอบสิทธิอำนาจต่างๆในการกระทำการเกี่ยวกับ ที่ดิน แทนผู้ขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ที่ไม่สามารถไปยังสำนักงานที่ดินจังหวัดหรือที่สำนักงานที่ดินที่อำเภอด้วยตัวเองได้ ตรงนี้เองกฎหมายจึงเร็งเห็นปัญหาความไม่สะดวกแก่ประชาชน จึงยอมให้สามารถมอบหมายให้ผู้ที่เจ้าของกรรมสิทธิ์เชื่อถือและไว้วางใจได้ ไปทำการต่างๆแทนตนได้ โดยผู้นั้นต้องทำหลักฐานการมอบอำนาจเป็นหนังสือให้ผู้ไปทำการแทน ทั้งนี้ควรมอบบัตรประชาชนของผู้มอบให้ผู้รับมอบอำนาจนำไปแสดงต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย
คำแนะนำสำหรับหนังสือมอบอำนาจ
อันดับแรกสำหรับการทำหนังสือการมอบอำนาจเลยคือการพิจารณาผู้ที่จะรับมอบอำนาจ จะต้องเป็นบุคคลที่ผู้มอบอำนาจมีความเชื่อถือ หรือจะเป็นญาติพี่น้องที่ไว้ใจได้เสียก่อน โดยที่ต้องมีพยานอย่างน้อย 1 คน หรือกรณีที่ไม่สามารถพิมพ์ลายนิ้วมือได้ต้องมีพยาน...
โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ให้ฟรี กับซื้อขาย มีค่าใช้จ่ายและขั้นตอนต่างกันยังไง
เคยสงสัยกันไหมว่า การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ให้ฟรีและการขายกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ต่างกันยังไง ใช้ในกรณีใดได้บ้าง และมีค่าใช้จ่ายที่เหมือนและต่างกันหรือไม่ รวมไปถึงการให้เฉพาะส่วนคืออะไร เป็นการโอนกรรมสิทธิ์รูปแบบไหน วันนี้เรามีคำตอบ
ข้อแตกต่างระหว่างการให้และการขาย
การให้และการขายมีข้อแตกต่างกันตรงที่การให้เป็นการโอนทรัพย์สินของตนให้โดยเสน่หา โดยไม่ได้รับเป็นค่าตอบแทนจากผู้รับ หรือจะพูดให้เข้าใจง่ายๆเลยคือ เป็นการให้ฟรีๆ แต่การขายนั้นต้องมีการชำระราคาทรัพย์สินให้แก่ผู้ขายด้วย
ส่วนการให้หรือขายเฉพาะส่วน คือ การที่เจ้าของที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์อยู่หลายคน แต่เจ้าของคนใดคนหนึ่งมีความประสงค์ที่จะให้หรือขายเฉพาะส่วนทั้งหมดของตนเท่านั้น
ค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียน
สําหรับค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนขายหรือให้ที่ดินแกญาติ ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องเสียเท่ากัน ดังนี้
ค่าธรรมเนียม ร้อยละ 2 จากราคาประเมินทุนทรัพย์
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่จ่าย...
เทคนิคและข้อกฏหมายการ ต่อเติมบ้าน ที่ควรรู้ ประหยัดเงินได้เป็นแสน!
สวัสดีครับ ใครที่กำลังจะต่อเติมบ้าน เราอยากให้ได้อ่านบทความดีๆบทความหนึ่ง เกี่ยวกับเรื่องที่ควรรู้ก่อนการต่อเติมบ้าน เชื่อว่าในที่นี้หลายคนคงยังไม่รู้ในหลายๆเรื่อง เพื่อให้ได้คุณภาพใน การต่อเติมบ้าน ของทุกท่าน จึงควรอ่านบทความนี้เพื่อเป็นแนวทางเป็นอย่างยิ่ง และเราก็ต้องขอขอบคุณ สมาชิกหมายเลข 3966088 จากเว็บบอร์ดออนไลน์ชื่อดังอย่าง Pantip.com ที่ได้มาแชร์ข้อมูลดีในครั้งนี้ครับ
เจ้าของบ้านจำนวนไม่น้อย (โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเภท ทาวน์โฮม บ้านจัดสรร) ที่คิดอยาก ต่อเติมบ้าน โดยเฉพาะห้องครัวไทย ออกมาทางหลังบ้าน เพื่อจะได้มีพื้นที่เป็นสัดเป็นส่วนสำหรับทำกับข้าวได้อย่างสบายใจ แต่ไม่รู้จะเริ่มยังไง...
โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ญาติพี่น้อง ต้องทำยังไง เสียค่าใช้จ่ายเท่าไหร่
ปกติแล้วการ โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ที่ถูกที่สุดคือการที่พ่อแม่โอนให้ลูก หรือการโอนสายตรงเท่านั้น การโอนให้กันระหว่างญาติพี่น้อง มักเสียค่าธรรมเนียมเทียบเท่ากับบุคคลทั่วไป โดยมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ต้องดำเนินการอย่างไร และคำนวณยังไง เรามาหาคำตอบกัน
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ให้ญาติพี่น้อง
การโอนที่ดินให้ญาติพี่น้อง คิดตามหลักของการโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้อื่นเลย เพราะไม่ใช่สายตรงอย่างพ่อแม่ลูกที่ถือว่าเป็นมรดก โดยการโอนกรรมสิทธิ์สามารถติดต่อได้ที่กรมที่ดิน ซึ่งทำหน้าที่จัดเก็บภาษีแทนกรมสรรพากรเมื่อมีการซื้อขายหรือโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน หากไม่ชำระภาษีที่กรมที่ดินให้ถูกต้องครบถ้วน ก็จะโอนกรรมสิทธิที่ดินที่ซื้อขายนั้นไม่ได้ หลักๆแล้วเราจะแบ่งค่าใช้จ่ายในการโอนที่ดินสำหรับญาติพี่น้องโอนให้กันออกเป็น 4 ประเภท คือ
ค่าธรรมเนียม ร้อยละ 2...
เอกสารแสดงสิทธิความเป็นเจ้าของคอนโดมิเนียม
ปกติแล้วเอกสารแสดงสิทธิของเราๆที่อยู่บ้านจะเป็นโฉนดที่ดิน นส.1 นส.2 และ นส.3 หรืออะไรก็ว่าไปกันตามแต่ละประเภทที่ดิน แล้วในส่วนของ คอนโดมิเนียม ที่ถือว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินน้อยที่สุด เราจะรู้ได้ยังไงว่าเรามีกรรมสิทธิ์ในที่ดินผืนนั้นมากน้อยแค่ไหน หน้าตาของเจ้าเอกสารประเภทนี้เป็นยังไง วันนี้ Dotproperty เรามีคำตอบ
ซื้อคอนโด ได้เอกสารสิทธิประเภทไหน
เวลาเราซื้อบ้านหรือที่ดินเราจะได้ โฉนดที่ดิน มาเป็นเอกสารสิทธิยืนยันความเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้นๆ แต่สำหรับคอนโดมิเนียมจะเป็น หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด หรือ อ.ช. 2 ซึ่งถือว่าเป็นการถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันกับโครงการนั้นๆ โดยแบ่งส่วนประกอบในการถือกรรมสิทธิ์เป็นทรัพย์ส่วนบุคคลที่เรียกว่าห้องชุด...
สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิที่ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของที่ดินก็มีได้
สิทธิเหนือพื้นดิน คือ ทรัพยสิทธิอย่างหนึ่ง หรือก็คือสิทธิในการเป็นเจ้าของเรือน สิ่งปลูกสร้างหรือสิ่งเพาะปลูกบนดินหรือใต้ดินในพื้นที่ของบุคคลอื่นนั้นเอง ขอบเขตสิทธิเหนือพื้น คือ สิทธิเฉพาะปลูกสร้างสิ่งต่างๆ ลงบนดินของบุคคลอื่นได้ แต่จะไม่สามารถแสวงหาผลประโยชน์ในที่ดินเช่น ขุดดิน ขุดแร่ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง : ป.พ.พ. มาตรา ๑๔๑๐ ถึง มาตรา ๑๔๑๖
ประเภทการจดทะเบียน สิทธิเหนือพื้นดิน
สิทธิเหนือพื้นดิน หมายถึง กรณีที่เจ้าของที่ดินทำให้เกิดสิทธิเหนือพื้นดินในที่ดินของตนทั้งหมด
...
แนวทางเทคนิคแบบง่ายๆสำหรับ ซื้อบ้านมือสอง ให้โดนใจ
วันนี้เราขอมาแนะนำการเลือก ซื้อบ้านมือสอง ว่าเราควรพิจารณาหรือตรวจสอบรายละเอียดด้านไหนบ้างทำยังไงถึงจะได้บ้านที่เราพึงพอใจมากที่สุด และปัญหาที่ตามมาในภายหลังน้อยที่สุด
ซื้อบ้านมือสอง กับ 11 แนวทางเทคนิคง่ายๆในการเลือกซื้อ
ดูสภาพของตัวบ้าน อายุของบ้าน ให้มองดูว่าปลูกมานานกี่ปีแล้ว อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ในบ้านไม่ว่าจะเป็น เครื่องสุขภัณฑ์ โคมไฟหลอดไฟต่างๆทั่วไปในบ้านว่าชำรุดเสียหายหรือไม่ สายไฟฟ้าในบ้านมีการขาดชำรุดบ้างหรือไม่ เสื่อมสภาพแล้วหรือยัง ท่อน้ำประปามีสนิมขึ้นหรือไม่ มีการรั่วซึมแตกหรือไม่ เพราะถ้าภาพรวมโครงสร้างบ้านเก่าแก่ไม่แข็งแรงเราอาจจะต้องซ่อมแซมอีกมากจนอาจจะเป็นปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในภายหลังอีกจำนวนมากด้วยเหตุผลนี้บ้านเก่า จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดเป็นอันดับแรกๆในการพิจารณาตัดสินใจซื้อเพราะปกติแล้วบ้านมือสองจะมีการเสื่อมของราคาตามระยะเวลายิ่งถ้าสภาพแวดล้อมเป็นทำเลที่ไม่ค่อยดี ราคาบ้านจะยิ่งตกลงอย่างรวดเร็วค่ะ ฉะนั้นหากจะเลือกซื้อบ้านมือสอง ควรหาแหล่งที่คิดว่าอนาคตบ้านหลังนี้จะเจริญต่อไปในภายหน้า
เลือกพิจารณาสภาพแวดล้อมของบ้านนั้นๆว่าอยู่ในสภาพแวดล้อมอย่างไร การเดินทางสะดวกสบายหรือไม่...
ถมดินสร้างบ้าน พร้อมขั้นตอนและเอกสารในการขออนุญาตถมดิน
ถมดินสร้างบ้าน สำคัญยังไง สำหรับคนที่อยากมี บ้าน การจะ ปลูกบ้าน ซักหลังเมื่อได้ที่ดินมาแล้ว ขั้นตอนลำดับแรกเลยคือการ ถมดิน เพื่อปรับหน้าดินให้สม่ำเสมอและเหมาะสม หรือ ปรับสภาพหน้าดิน ที่ดินเดิมนั้นอ่อนตัวเกินไป เพื่อง่ายต่อการก่อสร้างและความมั่นคงของตัวบ้าน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะกระทำการอันใด เราก็ต้องอยู่ในกฎระเบียบและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดตามพระราชบัญญัติที่ได้กำหนดไว้
ถมดิน เท่าไหร่ถึงจะต้องทำเรื่องแจ้งตามกฎหมาย
การถมดินที่ต้องที่ต้องแจ้งเรื่องให้กับ เจ้าหน้าที่พนักงานส่วนท้องถิ้นทราบก็คือ
มีการทำการถมดินสูงเกินกว่าที่ดินข้างเคียง โดยจะวัดจากด้านที่มีพื้นที่ต่ำสุดเป็นมาตรฐาน
พื้นที่ที่มีมากกว่า 2,000 (1 ไร่...
การอายัดที่ดิน ทำความรู้จักและเข้าใจหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมาย
อีกหนึ่งนิติกรรมที่ดิน ที่สามารถไปดำเนินการได้ที่สำนักงานที่ดินก็คือ การอายัดที่ดิน ซึ่งก็คือ การห้ามมิให้ทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดิน เช่น ห้ามมีการซื้อขาย จำหน่ายโอนหรือทำให้ที่ดินเปลี่ยนเจ้าของไปผู้ที่จะขอต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินที่จะฟ้องบังคับให้มีการจด ทะเบียน หรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้
การอายัดที่ดิน ตามประมวลกฎหมายที่ดินบัญญัติว่า...
ผู้ใดมีส่วนได้เสียในที่ดินอันอาจจะฟ้องบังคับให้มีการจดทะเบียน หรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน หากมีความประสงค์ที่จะขออายัดที่ดินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ให้ทำได้ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนเห็นสมควรให้รับอายัดไว้ได้ไม่เกินกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่ขออายัด โดยให้ผู้นั้นไปดำเนินการทางศาล เมื่อศาลได้มีคำสั่งคำพิพากษาแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการต่อไปตามแก่กรณี
อายัดซ้ำ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน
หมายถึง บุคคลคนเดียวหรือต่างคนจะมาขออายัดที่ดินแปลงเดียวกัน...