หลังจากที่แบงก์คุมเข้มสินเชื่อ บ้าน ทำให้เหล่าดีเวลลอปเปอร์ พากันหนี้ไปสร้าง บ้านราคาแพง กัน บวกกับปัจจัยราคาที่ดินที่ปรับสูงขึ้นรวดเร็วจากโครงการรถไฟฟ้าทั่วกรุงเทพและหนี้เสียที่มากขึ้น ยิ่งตอกย้ำให้เหลือ ซัพพลายบ้านราคาต่ำกว่า 1.5 ล้าน น้อยลงเต็มที ดังนั้นวันนี้เราลองมาดูกันดีกว่าว่า ในอนาคตอันใกล้นี้ ทิศทางของตลาดจะเป็นอย่างไรและคนรายได้น้อยจะซื้อบ้านลำบาก…ขึ้นจริงหรือ..?
เพราะอะไร บ้านต่ำกว่า 1.5 ล้าน ถึงขายยากและไม่นิยมสร้าง
เพราะภาครัฐเข้มสินเชื่อบ้าน นี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เหล่า ดีเวลลอปเปอร์ ไม่กล้าที่จะสร้าง บ้านราคาต่ำกว่า 1.5 ล้าน เพราะกลัวว่าสร้างมาแล้วจะขายไม่ออก เพราะแบงก์ยังคงคุมเข้มปล่อยสินเชื่อในกลุ่มผู้มีรายได้น้อยทำให้ไม่สามารถกู้บ้านผ่าน ทำให้เหล่า ดีเวลลอปเปอร์ ไปจับตลาดที่มีราคาสูงขึ้นแทน เพราะสร้างแล้วขายได้เนื่องจากผู้ซื้อที่มีศักยภาพมากกว่า แต่ถ้ามองให้ลึกลงไปแล้วนี้ไม่ใช้เป็นเรื่องที่ดีเพราะลูกค้าส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ ที่อนาคตอาจจะ มีปัญหาในการโอนกรรมสิทธิ์ ยิ่งทำให้ ธปท.มีความกังวลว่าอนาคตอาจจะเกิดปัญหาฟองสบู่แตกได้ ทำให้คนรายได้น้อยได้รับผลกระทบไปแบบเต็มๆ
ที่ดินแพงราคาแพงขึ้นจากหลายปัจจัย ตลาดที่อยู่อาศัยทั้งคอนโดฯ-บ้าน-ทาวน์เฮาส์ ราคาสูงกว่า 1.5 ล้าน ภาพรวมจะมีมูลค่าประมาณ 4 แสนล้านบาท ขณะที่กลุ่มบ้านต่ำกว่า 1.5 ล้านบาท มีสัดส่วนที่ 5 หมื่นล้านบาท โดยส่วนใหญ่จะอยู่ที่ กรุงเทพฯและปริมณฑล เป็นหลักและกลุ่มบ้านต่ำกว่า 1.5 ล้าน โครงการใหม่ๆก็ไม่ค่อยมีออกมาให้เห็นเท่าไร แทบไม่มีให้เห็นเนื่องจากถูกหลายปัจจัยที่ทำให้ เหล่าดีเวลลอปเปอร์ ไม่อยากลงทุนไม่ว่าจะเป็น ที่ดิน ที่ราคาสูงขึ้นจากการมาของโครงการรถไฟฟ้า ทำให้ไม่ค้มค่าที่จะพัฒนาโครงการในราคาถูก จึงไม่แปลกที่เราจะไม่ได้เห็นโครงการราคาต่ำกว่า 1.5 ล้าน ในอนาคต
ทางรอดของคนรายได้น้อย
เชื่อได้เลยว่าคนไทยหลายๆคนยังคงอยากที่จะมีบ้าน แต่ติดตรงที่ผ่านมารายได้ของคนไทยมักเติบโตช้ากว่ามูลค่าบ้านในตลาด และกลุ่มคนที่ต้องการไม่สามารถกู้เงินผ่านระบบสินเชื่อได้ง่าย ดังนั้นแนวทางแก้ปัญหาคงอาจจะต้องให้ภาครัฐออกระบบสินเชื่อมารองรับ ให้กับกลุ่มคนที่ไม่เคยมีบ้านหรือเป็นบ้านหลังแรก โดยไปเน้นคุมเข้มปล่อยสินเชื่อในกลุ่มคนที่มีบ้านมากว่า 1 หลังจะดีกว่า หรือพวกกู้เพื่อการลงทุนจะดีกว่า
ดังนั้นถ้าภาครัฐออกมาตราการมาสนับสนุนจากทั้งรัฐและเอกชน อาจจะทำให้ ตลาดบ้านราคาต่ำกว่า 1.5 ล้าน ยังคงไปได้ต่ออย่างแน่นอน โดยถ้าภาครัฐและเอกชนร่วมมือพัฒนาโครงการราคาถูกมารองรับ โดยเลือกใช้ทำเลที่เหมาะสมอาจจะไม่จำเป็นต้องในเมืองเสมอไปพื้นที่รอบนอกที่สามารถเข้าออกเมืองได้ไม่ลำบาก บวกกับสินเชื่อจากสถาบันการเงินของรัฐ อาจจะเป็นปัจจัยหนุนให้ตลาดไปต่อได้ เพราะราคาที่ดินในการสร้างไม่แพงบวกกับพื้นที่มีระบบคมนาคมที่จะสะดวกจากการเดินทางโดยรถไฟฟ้าบางเส้น ก็อาจจะแก้ปัญหาและเป็นทางรอดของคนรายได้น้อยได้นั้นเอง