DotProperty.co.th

ประเทศไทย 4.0  กับ อสังหาริมทรัพย์ในไทย ดีจริงหรือแค่ มโน

สวัสดีค่ะวันนี้เรากลับมาพบกันอีกครั้งโดยช่วงเวลานี้คงไม่มีอะไรจะ ฮิต ไปกว่าคำว่า ประเทศไทย 4.0  โดยแนวคิดนี้ เริ่มมาตั้งแต่เดือนเมษายนปีที่ผ่านมา โดยวันนี้เราไปดูกันดีกว่าค่ะว่าคำว่า ประเทศไทย 4.0 นั้น ดีจริงหรือแค่ มโน โดยคนที่จะมาให้บทวิเคราะห์ ในครั้งนี้คือ ดร.โสภณ พรโชคชัย เพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราไปชมกันเลยค่ะ

จุดเรื่มต้นก่อนจะเป็น ประเทศไทย 4.0

โดยก่อนจะเป็น 4.0  นั้น  การแบ่งไว้ตั้งแต่โมเดล ยุคแรก “ประเทศไทย 1.0” ที่จะไปเน้นภาคการเกษตร เป็นหลัก เพราะประเทศเราทำ  เกษตรกรรมเป็นหลักนั้นเอง ยุคที่ 2  “ประเทศไทย 2.0” เน้นอุตสาหกรรมเบา   เป็นการแบ่งยุคที่ผิดเพี้ยนจากความเป็นจริงอย่างชัดเจน

เพราะนับแต่มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 เมื่อปี 2503 เราก็เข้าสู่ยุคการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า (Import-substitution Industrialization) โดยเน้นการผลิตอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ต่าง ๆ ทั้งสิ่งทอ ยางรถยนต์

โดยหลักฐานสำคัญคือการเกิดขึ้นของบริษัทไทยเกรียงอเมริกันเท็กซ์ไทล์และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อื่นๆ จากอเมริกา แม้แต่โรงกลั่นน้ำมันไทยก็เริ่มในช่วงต้นปีกึ่งพุทธกาลที่ผ่านมา และตามมาด้วยอุตสาหกรรมสิ่งทอ เช่น เทยินโพลีเอสเตอร์ ในช่วงปี 2510

อุตสาหกรรมไทยเฟื่องมากจากการมีไฟฟ้าจากเขื่อนภูมิพล โดยกระจายทั้งในย่านรังสิต บางนา พระประแดง นี่แสดงว่าคณะทำงานของ ดร.สมคิดคงไม่เข้าใจหรือลืมประวัติศาสตร์อุตสาหกรรมไทยไปแล้ว   ยุคที่ 3 “ประเทศไทย 3.0” โดยจะเน้นอุตสาหกรรมหนัก

อุตสาหกรรมต่าง ๆ ในนิคมอุตสาหกรรมนั้น เน้นอุตสาหกรรมเบา อุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น อาจเรียกได้ว่าหมดยุคอุตสาหกรรมหนักไปแล้วในประเทศไทย อุตสาหกรรมหนักที่ใช้แรงงานมาก ได้ย้ายฐานการผลิตไปประเทศเพื่อนบ้านเป็นจำนวนมากแล้ว

ประเทศไทย 4.0 กับ อสังหาริมทรัพย์ในไทย

ในความเห็นของ แวดวงอสังหาริมทรัพย์ ได้บอกว่า  ที่ว่ารัฐบาลจะสนับสนุนภาคเอกชนนั้น ในความเป็นจริง หากเราปล่อยให้ภาคเอกชนดำเนินการโดยรัฐสนับสนุนก็เพียงพอแล้ว รัฐบาลไม่ต้องไปทำอะไรมาก ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจทื่อยู่อาศัย ภาคเอกชนดำเนินการได้ดีอยู่แล้ว

ภาครัฐแทบไม่มีบทบาทอะไร ณ กลางปี 2558 บมจ.พฤกษา เรียลเอสเตท ได้พัฒนาโครงการขึ้นทั้งหมด 415 โครงการ รวม 163,630 หน่วย รวมมูลค่าถึงประมาณ 297,403 ล้านบาท ถ้าเทียบกับการเคหะแห่งชาติที่พัฒนาที่อยู่อาศัยมาก่อน บมจ.พฤกษาเรียลเอสเตท เป็นเวลา 17 ปี

จะพบว่า ณ สิ้นปี 2557 การเคหะแห่งชาติสร้างที่อยู่อาศัยประเภทเคหะชุมชนเพื่อการขาย/ให้เช่า ในตลาดเปิดประมาณ 142,103 หน่วยเท่านั้น (ไม่รวมบ้านเอื้ออาทร) การที่เอกชนนำ รัฐบาลก็ไม่ต้องออกเงินอุดหนุนใด แถมยังได้ภาษีมหาศาล

ได้งานให้กับประชาชนเป็นจำนวนมากจากบริษัทพัฒนาที่ดินอีกด้วย ดังนั้นหากภาครัฐไม่มีการโกง ไม่ต้องให้เอกชนจ่ายใต้โต๊ะ ก็จะช่วยพัฒนาประเทศชาติได้มหาศาลแล้ว

 

สรุปไทยจะดีขึ้นได้อย่างไร

  1. การสร้างบรรยากาศประชาธิปไตยมากขึ้น จึงจะทำให้ภาพพจน์ของประเทศดีขึ้น ดูอย่างเมียนมาหลังเลือกตั้ง ก็ยิ่งมีผู้เข้าไปลงทุนมากขึ้น
  2. ข้าราชการต้องทำงานรับใช้ประชาชนมากขึ้น ไม่ใช่เอาเวลาไปออกกำลังกาย ควรทำงานในวันหยุดหรือเวลากลางวันโดยสลับเปลี่ยนกันมาเพื่อช่วยกันขับเคลื่อนประเทศมากกว่า
  3. การทำองค์กรราชการส่วนกลางให้เล็กลง รุข้าราชการที่ขาดประสิทธิภาพออกไปบ้าง ไม่ใช่อยู่ไปเรื่อย ๆ และเลี้ยงดูข้าราชการและครอบครัวไปชั่วชีวิต แถมมีบำนาญ มีลาภยศสักการะมากมาย อย่างนี้การกระจายรายได้จึงไม่เกิด ความเหลื่อมล้ำจึงมีมากมาย
  4. ทำการจัดเก็บภาษีมรดก และภาษีที่ดินที่อยู่อาศัยอย่างเป็นธรรมกว่านี้
  5. การให้ท้องถิ่นได้มีงบประมาณ มีส่วนในการตัดสินใจอนาคตของตนเอง มากกว่าที่จะถูกส่วนกลางควบคุม จะทำให้ประเทศชาติเจริญขึ้นกว่านี้

โดยสรุปแล้วรูปธรรมของ 4.0 ทั้งหลายล้วนแต่มีมาก่อนหน้าประกาศนโยบายนี้แล้วทั้งสิ้น ไม่มีอะไรใหม่ ประเด็นที่ต้องกล้าพูดให้ชัดๆ ก็คือ การที่ประเทศไทยยังไม่มีการปกครองแบบประชาธิปไตยเช่นนานาอารยประเทศ ต่างหากเล่าที่ทำให้ไทยต้องติดกับดักแหละขัดขาตัวเองล้ม

การสร้างวาทกรรมทางการตลาดก็เป็นเพียงแค่การปิดฟ้าด้วยฝ่ามือ ต้องแก้ที่รากเหง้าอันนี้ต่างหาก ทุกวันนี้ผู้มีอำนาจมีพนักงานเทกระโถนมากมายล้วนมาจากภาษีอากรของประชาชนแล้วแบบนี้ประเทศไทยเจริญไปได้อย่างไร

 

ที่มา. ประชาไท