ปัดฝุ่นปฎิรูปภาษีที่ดินหวังช่วยผู้มีรายได้น้อย

หลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เมื่อ ค.ส.ช.ได้เข้าควบคุมและเข้าบริหารประเทศ เพื่อเดินหน้าเศรษฐกิจ ทำให้หลายๆฝ่ายเล็งเห็นช่องทางที่จะทำให้ภาคอสังหาพัฒนามากขึ้น มีการนำโครงการเก่าๆมาปัดฝุ่นใหม่เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย หลังจากโดนดองชะงักค้างมาร่วมปี ซึ่ง โครงการปฎิรูปภาษีที่ดินและภาษีโรงเรือนก็เป็นอีกสิ่งที่ทางภาคอสังหาฯหวังจะให้มีการเปลี่ยนแปลง

ซึ่งทางนายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรรเป็นหัวเรือในการหารือพร้อมเชิญนายกอีก 2 สมาคมของอสังหาฯเข้าร่วม ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเสนอให้มีการจัดเก็บค่าโอน ค่าจดจำนอง เป็นแบบตายตัว ซึ่งทางนายกคอนโดฯพร้อมตอบรับนโยบายและขอให้เดินหน้าเรื่อง EIAและ เห็นด้วยที่ทาง ค.ส.ช จะมาช่วยปรับปรุงและผลักดันให้อสังหาฯเดินหน้าได้ต่อไป ทั้งการออกสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อกระตุ้นให้ภาคอสังหาฯมีการเคลื่อนไหว อีกทั้ง ยังหวังผลักดันร่าง พ.ร.บ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งการลงทุนโครงการรถไฟรางคู่ และ ยังให้ความเห็นว่าสำหรับการผลักดันภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นไม่ควรรีบร้อนออกกฎหมาย โดยอยากให้พิจารณาในเรื่องของการปรับปรุงโครงสร้างการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการโอนและค่าจำนองที่ซ้ำซ้อน และควรให้ยกเว้นการจัดเก็บภาษีผู้มีรายได้น้อยเพื่อช่วยลดภาระ

นายอธิป พีชานนท์ นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร และกรรมการบริษัทศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ยังกล่าวต่อว่า เรื่องการผลักดินภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้น จริงๆทางสมาคมได้มีการส่งเรื่องให้กับสมัยรัฐบาลเก่าแล้วแต่ไม่ได้รับการพิจารณา ซึ่งทางรัฐบาลมีข้อแนะนำให้แก้ไขคือ วรปรับปรุงโครงสร้างจัดเก็บค่าธรรมเนียมการโอน 2% ของราคาประเมิน และค่าจดจำนอง 1% ของราคาประเมินให้จัดเก็บเป็นอัตราคงที่แทน เนื่องจากใช้เอกสารชุดเดียวกันไม่ว่าราคาบ้านจะถูกหรือแพง เพื่อเป็นการสร้างความเสมอภาค ส่วนการยกเว้นจัดเก็บภาษีให้กับผู้มีรายได้น้อย เสนอให้ยกเว้นภาษีสำหรับที่อยู่อาศัยเนื้อที่ไม่เกิน 100 ตร.ว. หรือในต่างจังหวัดเสนอให้ยกเว้น

160614

สำหรับที่อยู่อาศัยที่ราคาประเมินไม่ถึง 1 ล้านบาท

สำหรับข้อเสนอต่างๆที่กล่าวมาในข้างต้น ทางสมาคม จะนำเข้าหารือร่วมกับสมาคมต่างๆ เพื่อนำบทสรุปมาร่างหนังสือไปยื่นต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

อีกทั้ง นายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต นายกสมาคมอาคารชุด และกรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจคอนโดมิเนียม บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) ยังกล่าวเสริมด้วยว่า เห็นด้วยกับการปฎิรูปเรื่องภาษี แต่ก็มีข้อแนะนำว่าอย่าให้ซับซ้อนเพราะเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน อีกทั้งยังหวังในเรื่องของ EIA ที่อยากให้แก้ไขปรับปรุงในการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งผลกระทบอยู่ในขณะนี้สำหรับผู้ประกอบการ โดยต้องการให้ระจายอำนาจไปสู่ระดับท้องถิ่น เพื่อลดปริมาณงานของส่วนกลาง และให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาของคณะกรรมการชำนาญการ (คชก.) ให้มีความชัดเจน และเป็นไปในทิศทางเดียวกันภายใต้กฎระเบียบบนมาตรฐานเดียวกัน เพื่อไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามดุลพินิจของแต่ละบุคคล พร้อมกับเพิ่มช่องทางในการยื่นรายงานอีไอเอ ตามที่ได้รับการรับรอง จากวิศวกรสิ่งแวดล้อม และสามารถทำหนังสือการตอบรับรายงานฯไปยื่นขออนุญาตการก่อสร้างกับหน่วยงานท้องถิ่นได้ทันที จากเดิมที่ต้องส่งเข้าหน่วยงานกลางเพียงอย่างเดียวเพื่อให้ก่อสร้างโครงการได้เร็วขึ้น และ ผู้ประกอบการไม่ต้องเสียเวลารอในการยื่นขอก่อสร้างโครงการต่างๆ

ข่าวและบทความข้างต้นนี้จัดทำโดย ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท ดอท พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด หากท่านมีข้อสงสัยหรือต้องการส่งข่าวเกี่ยวกับแวดวงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการประชาสัมพันธ์ สามารถติดต่อได้ที่ [email protected]