เปิดแผน กคช.สร้างบ้าน ผู้มีรายได้น้อย ทั่วประเทศ ตามนโยบายดร.สมคิด ชง 2 สูตร หาที่ดินร่วมพัฒนากับเอกชน มูลค่าไม่เกิน 1,000 ลบ.เพื่อไม่เข้าเกณฑ์ กกร. พร้อมร่วมกับเอกชนและเป็นพี่เลี้ยง เผยมี 30-40 รายทั่วประเทศสนใจ กำหนดต้องกัน 20% ของโครงการขายผู้มีรายได้น้อย เล็งปลดล็อกเชื่อมเข้ากู้ตรงกับไฟแนนซ์ได้ หลังมีแบงก์ใหญ่ให้กู้หมื่นกว่าล้านบาท แจก แจงผลงาน
การเคหะแห่งชาติ เร่งเจรจา40 อสังหาเอกชนสร้างบ้าน ผู้มีรายได้น้อย
ดร.ธัชพล กาญจนกูล ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ (กคช.) เปิดเผยถึงแนวทางในการผลักดันโครงการที่อยู่ให้แก่ผู้รายได้น้อย ตามแนวนโยบายของ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ที่แผนงานจะต้องแล้วเสร็จใน 3-4 เดือนข้างหน้าว่า มีหลายแนวทางที่สามารถดำเนินการได้
โดยพยายามที่ตัวโครงการต้องมีมูลค่าไม่เกิน 1,000 ล้านบาท เพื่อให้เกิดความคล่องตัว เนื่องจากตามเกณฑ์แล้ว ต้องเข้า สู่การพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (พีพีพี) ซึ่งจะไม่ทันกับนโยบายของรัฐบาล
สำหรับแนวทางที่จะเกิดขึ้นได้
1.การจัดสรรที่ดินให้เอกชนเช่าและพัฒนาโครงการ โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่รับผิดชอบอนุมัติ ซึ่งในขณะนี้ ได้มีการหารือกับทาง 3 ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน และธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.)ในการสนับสนุนสินเชื่อ c
2.น่าจะเป็นวิธีที่ดีและรวดเร็ว คือ ร่วมกับเอกชนและเป็นพี่เลี้ยงให้กับผู้ประกอบการ ขณะนี้มีเอกชนกว่า 30-40 ราย ให้ความสนใจที่จะเข้าร่วมกับโครงการนี้ เช่น ที่ภาคอีสานมีถึง 10 โครงการ จ.เชียงใหม่, พิษณุโลก, โคราช, มุกดาหาร, อุบลราชธานี, อุดรธานี และที่ จ.นราธิวาส ได้แสดงความต้องการเข้ามา ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี โดยขนาดของโครงการจะมีมูลค่าไม่มากประมาณ 100-500 ล้านบาท
“คิดว่าแบบที่ 2 น่าจะเร็ว ซึ่งการ ที่กคช. เข้าไปเป็นที่ปรึกษานั้น จะเกิดประโยชน์ในหลายด้านกับโครงการและตัวผู้ประกอบการ ทั้งในเรื่องการออกแบบ การทำตลาดที่สามารถทำได้กว้างและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ทั่วประเทศ และในกรณีที่เอกชน เอ็มโอยู กับกคช. จะมีเรื่องอัตราดอกเบี้ยพิเศษจากธนาคาร เพียงแต่ในแต่ละโครงการ ทางกคช.จะกำหนดให้กั้นส่วนของผู้มีรายได้ประมาณ 20% ของจำนวนยูนิต แต่กระนั้น ทาง กคช.จะไม่มีนโยบายรับซื้อโครงการเหมือนกรณีบ้านเอื้ออาทร เนื่องจากมีความเสี่ยงสูง” ผู้ว่าฯกคช.กล่าวอธิบาย
ต่อคำถามที่ว่า หากกคช.ขอความร่วมกับบริษัทอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่จะส่งผลดีต่อโครงการหรือไม่นั้น ดร. ธัชพล กล่าวว่า เรื่องนี้ ตนเชื่อว่า หากเชิญบริษัทเอกชน ที่อยู่ในตลาดหุ้น ก็คงได้รับการตอบรับแน่นอน เพียงแต่ไม่ตรงกลุ่มเป้าหมาย เนื่องจากวัตถุประสงค์หลัก กคช.ต้องการช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (สตาร์อัพ
ขอสินเชื่อแล้วกู้ไม่ผ่าน
สำหรับประเด็นการขอสินเชื่อหากกรณีกู้ไม่ผ่านนั้น ในระยะแรกจะมีกองทุนเพื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย คล้ายๆ กองทุนเกษตรกร โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ กคช. และจะให้ ครม.พิจารณา ตัววงเงินอยู่ที่ 5,000 ล้านบาท โดยหากมีการบริหารจัดการเรื่องสินเชื่อที่ดี ลูกค้าเข้าสู่ระบบสถาบันการเงินได้ กคช.ได้รับคืนเงินกู้ จะเพิ่มการหมุน รอบของกองทุนได้สูงถึง 10 รอบ หรือปล่อยสินเชื่อได้ถึง 50,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ กคช.ได้นำโมเดลทางการเงินสมัยใหม่เข้ามาใช้ในดำเนินงาน หรือ Leasehold Financial Model ซึ่งจะช่วยให้กคช.มีฐานะการเงิน และกำไรที่ดีขึ้น
โดยวิธีการ กคช.จะขายสินทรัพย์ และโอนสินทรัพย์เรียกร้องตามสัญญาเช่ากับ CEMCO (บริษัท จัดการทรัพย์สินและชุมชม จำกัด บริษัทลูก กคช.) ทำให้มี ความคล่องตัว ซึ่งไม่ติดการเป็นรัฐวิสาหกิจ และทาง CEMCO ทำสัญญาเช่าซื้อกับลูกหนี้ และโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าให้กับตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย(บตท.) และทาง CEMCO รับหน้าที่การให้บริการกับ บตท.
“หลังผู้ถือหุ้นบางส่วนใน CEMCO ได้ถอนออกไป ก็มีบริษัทอสังหาฯ บริษัทประกัน รวมถึงบริษัทข้ามชาติสนใจเข้ามา โดยในระยะข้างหน้าจะมีการเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 50 ล้านบาท และแม้จะมีขาดทุนสะสม 10 ล้านบาท แต่ผลกำไรเริ่มดีขึ้น มีสเปรดจากการปล่อยที่อยู่ อาศัยประมาณ 4% ทั้งนี้ หากเราสามารถกู้ไฟแนนซ์ได้ตรง จะทำให้เราเร็วขึ้น ซึ่งเราจะเป็นดีเวลลอปเปอร์ และมีหลายแบงก์จะให้กู้รวมหมื่นกว่าล้านบาท”
ทั้งนี้ การร่วมทุนและพัฒนาโครง การ หากเอกชนเข้าร่วมจะมีเรื่องสิทธิพิเศษ เช่น เรื่องลดหย่อนค่าธรรมเนียมการโอน การให้โบนัสในเรื่อง FAR ที่มากขึ้น รวมอาจจะไม่ต้องเข้าผังจัดสรร ได้ชดเชยอัตราดอกเบี้ย เป็นต้นแจกแจงผลงาน
สำหรับผลการดำเนินงานในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2561 (ต.ค.60-พ.ค.61) กคช. สามารถทำกำไรได้ 600 ล้านบาท โดยในช่วงเดือนที่เหลือ ต้องเร่งกำไร ขณะที่ในช่วงที่ตนบริหารกคช. ก็สามารถผลักดันโครงการตามนโยบายของรัฐบาลได้ ทั้งเรื่อง การจัดตั้งกองทุนที่อยู่อาศัย โครงการที่อยู่อาศัยตามแนวรถไฟฟ้า เพื่อส่งเสริมให้แก่ผู้มีรายได้น้อย ได้มีโอกาสเข้าถึงที่อยู่อาศัย ซึ่งคณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้อนุมัติแล้ว 2 โครงการ
ประกอบด้วย โครงการประชานิเวศร์ โครงการที่ลำลูกกา เป็นโครงการนำร่อง บ้านข้าราชการ ประมาณ 500-600 หน่วย บ้านผู้สูงอายุ หรือ “บ้านกตัญญู” ในเบื้องต้นมีแผนจะพัฒนาในพื้นที่ 4 จังหวัด โดย 2 โครงการอยู่บนที่ดินของการเคหะฯ ได้แก่
1.โครงการที่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี 600 ยูนิต
2.โครงการที่ จ.เชียงใหม่ 300 ยูนิต
3.โครงการที่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 300-600 ยูนิต ตั้งอยู่บนที่ดินกรมธนารักษ์
และ 4.โครงการที่ จ.เชียงราย พัฒนาบนที่ดินของราชพัสดุ โครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง ระยะที่ 1 แปลง G สำเร็จไปแล้ว และเข้าสู่กระบวนการของระยะที่ 2 และสุดท้าย การเปิดศูนย์นวัตกรรมด้านที่อยู่อาศัยและบริการงานขาย (NHA INNOVATION CENTER) เป็นต้น
ที่มา : ผู้จัดการรายวัน 360 องศา