หลังจากเมื่อเร็วๆนี้มีกระแสเปลี่ยนเงื่อนไขสร้าง รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โดยให้เอกชนสร้าง และภาครัฐทยอยผ่อนจ่ายระหว่างดำเนินการ หรือสร้างไปจ่ายไปนั้น อาจจะยังเป็นแค่เสียงลือเสียงเล่าอ้างเท่านั้น
โครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน
โดยโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินเป็นโครงการที่ใช้โครงสร้างและแนวเส้นทางการเดินรถเดิมของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแอร์พอร์ตลิงค์ (Airport Rail Link) ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน โดยจะก่อสร้างทางรถไฟขนาด 1.435 เมตร (Standard Gauge) ส่วนต่อขยาย 2 ช่วงจากสถานีพญาไท ไปยังสนามบินดอนเมือง และจากสถานีลาดกระบัง ไปยังสนามบินอู่ตะเภา พร้อมเชื่อมเข้าออกสนามบิน โดยใช้เขตทางเดิมของการรถไฟฯ เป็นส่วนใหญ่ รวมระยะทาง 220 กม. มีผู้เดินรถรายเดียวกัน ซึ่งรถไฟความเร็วสูงมีความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง (สำหรับช่วงการเดินทางระหว่างเมือง คือ สถานีสุวรรณภูมิ ถึง สถานีอู่ตะเภา) และความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง (สำหรับช่วงการเดินทางในเมือง คือ สถานีดอนเมือง ถึง สถานีสุวรรณภูมิ) ประกอบไปด้วยสถานีรถไฟความเร็วสูงจำนวน 9 สถานี ได้แก่ สถานีดอนเมือง สถานีบางซื่อ สถานีมักกะสัน สถานีสุวรรณภูมิ สถานีฉะเชิงเทรา สถานีชลบุรี สถานีศรีราชา สถานีพัทยา และสถานีอู่ตะเภา โดยทางรัฐเตรียมพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟในพื้นที่มักกะสันของ รฟท. ประมาณ 150 ไร่ และ พื้นที่โดยรอบสถานีศรีราชา ประมาณ 25 ไร่
พื้นที่และเส้นทางของโครงการ
โครงสร้างทางวิ่งของโครงการ ประกอบไปด้วย เส้นทางรถไฟในเมือง (ARL+ARLEX) มีระยะทาง 60 กม. (ความเร็ว 160 กม./ชม.) มี 10 สถานี ดังนี้
- สถานี ดอนเมือง
- สถานีบางซื่อ
- สถานีพญาไท
- สถานีราชปรารภ
- สถานีมักกะสัน
- สถานีรามคำแหง
- สถานีหัวหมาก
- สถานีบ้านทับช้าง
- สถานีลาดกระบัง
- สถานีสุวรรณภูมิ
เส้นทางรถไฟระหว่างเมือง มีระยะทาง 160 กม. (ความเร็ว 160 กม./ชม.) มี 5 สถานี ดังนี้
- สถานีฉะเชิงเทรา
- สถานีชลบุรี
- สถานีศรีราชา
- สถานีพัทยา
- สถานีอู่ตะเภา
12 เหตุผลที่ประชาชนและภาครัฐจะได้รับ ประโยชน์จาก รถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน
การมาถึงของโครงการ รถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน สิ่งที่ประชาชนและภาครัฐที่จะได้รับ นอกจากการเดินทางที่สะดวกรวดเร็วแล้วยังมีผลประโยชน์ที่ประเทศและประชาชนได้รับดังนี้
- จะเกิดการจ้างงานในธุรกิจเกี่ยวที่ไม่น้อยกว่า 100,000 อัตราใน 5 ปีต่อจากนี้
- มีการจ้างแรงงานสำหรับภาคการก่อสร้างไม่น้อยกว่า 16,000 อัตรา
- มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่ๆสู่ประเทศไทย
- ที่ดินบริเวณที่รถไฟความเร็วสูง มีการปรับราคาขึ้นสูง
- ในอนาคตมูลค่าเพิ่มการพัฒนาเมืองการบินภาคตะวันออกเพิ่มสูงประมาณ 150,000 ล้านบาท
- มีการใช้วัสดุก่อสร้างภายในประเทศ (เหล็ก 1 ล้านตัน ปูน 8 ล้านลูกบาศก์เมตร)
- ภาครัฐได้ผลตอบแทนทางการเงิน 127,985 ล้านบาท (มูลค่าปัจจุบัน คิดจากอัตราคิดลดของเอกชนร้อยละ 6.06 ใน 1-50 ปี และคิดลดด้วยอัตราเงินเฟ้อร้อยละ 2.5 ระหว่างปีที่ 51-100)
- มูลค่าเพิ่มการพัฒนาเศรษฐกิจ (รัศมี 2 กม.ตามเส้นทางรถไฟ) 214,621 ล้านบาท (มูลค่าปัจจุบัน คิดจากอัตราคิดลดทางด้านเศรษฐกิจร้อยละ 3)
- รัฐได้รับ ภาษีเข้าเพิ่ม30,905 ล้านบาท (มูลค่าปัจจุบัน คิดจากอัตราคิดลดทางด้านเศรษฐกิจร้อยละ 3)
- ช่วยลดการใช้น้ำมัน เวลา อุบัติเหตุ และสิ่งแวดล้อม 128,641 ล้านบาท (มูลค่าปัจจุบัน คิดจากอัตราคิดลดทางด้านเศรษฐกิจร้อยละ 3)
- ประชาชนที่โดนเวนคืนที่ดิน จะได้รับค่าเวนคืนที่ดินที่คุ้มค่า
- ทรัพย์สินทั้งหมดสุดท้ายจะตกเป็นของรัฐเมื่อสิ้นสุดสัญญา
อ้างอิงจาก eeco.or.th
เพราะอะไรรัฐ ไม่ผ่อนผัน LTV ในการซื้อบ้าน
ข่าวดี รัฐช่วยคนอยากมีบ้าน รับปีใหม่ สุดอลังการ ลดดอกเบี้ย ฟรีโอนแบบลด แลก แจก แถม