DotProperty.co.th

สรุปแบบชัดเจน 1 ม.ค. ปีหน้า เราต้องจ่ายภาษีที่ดินใหม่คนละกี่บาท

หลังจากที่เมื่อเร็วๆนี้ทางรัฐสภาได้มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)เพื่อพิจารณาลงมติร่าง พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ในวาระ2และ3 ที่ค้างการพิจารณาเมื่อวันที่ 15 พ.ย.2561 และได้มีมติให้ความเห็นชอบร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวแล้ว และมีผลเริ่มใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2563 เป็นต้นไป รวมระยะเวลาร่างพ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯทั้งหมดเป็นเลา 1 ปี 7 เดือน 16 วัน.

 

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เราต้องจ่ายคนละกี่บาท

สำหรับกฎหมายที่ดินใหม่นี้มีสาระสำคัญ ก็คือ จะเป็นตัวกำหนดอัตราการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแบ่งเป็น4 ประเภท คือ  1.ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม  2.ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย 3.ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม และ 4.ที่ดินว่างเปล่าสำหรับการเสียภาษีที่ดิน เป็นยังไงในแต่ละประเภทนั้นจะสรุปได้ดังนี้

ที่ดินสำหรับเกษตรกรรม

โดยจะทำการยกเว้นภาษีบุคคลธรรมดาอยู่ที่ 50 ล้านบาทรก หรือสรุปง่ายๆคือ สำหรับคนที่ถือครองที่ดินไม่เกิน 50 ล้านบาทจะไม่ต้องจ่ายภาษีที่ดินนั้นเอง

ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย

โดยจะทำการยกเว้นภาษีที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย บุคคลธรรมดาอยู่ที่ 50 ล้านบาทแรก กรณีบ้านหลังหลัก และ เฉพาะตัวบ้านยกเว้นภาษี 10 ล้านบาท  ตัวอย่างคือ ถ้าเราเป็นเจ้าของบ้านหลังแรกมีมูลค่าต่ำกว่าไม่เกิน 50 ล้านบาทจะไม่ต้องจ่ายภาษี ด้านคนที่เป็นเจ้าของบ้านอย่างเดียวจะได้รับการยกเว้นถ้าบ้านราคาไม่เกิน 10 ล้านบาท ส่วนคนที่มีบ้านหลังที่สองถ้าเกิน 50 ล้านบาทจ่ายภาษีปีละ 10,000 บาท

ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม

โดย บุคคลธรรมดา ที่มีที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม ไม่ว่าจะเป็นบ้านเช่าหรือตึกแถวมูลค่าตั้งแต่ 50 ล้านบาทจะเสียภาษีปีละ 150,000 บาท ถ้าต่ำกว่านั้นก็หักลบลงมา 0.3%

ที่ดินว่างเปล่า

ที่ดินว่างเปล่าจะทำการคิดอัตราภาษีเริ่มต้นตั้งแต่ 0.3% ขึ้นไปและจะทำการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆอีก 0.3% ของทุกๆ 3ปี ถ้าหากยังไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์ โดยรวมทั้งหมดแล้วต้องไม่เกิน 3 %โดยยกตัวอย่างง่ายๆดังนี้ หากเรามีที่ดินเกิน 50 ล้านบาท ปีแรก เราจะต้องเสียภาษีปีละ 1.5 แสนบาท ต่อจากนั้นปีที่ 10 เสียภาษีปีละ 6 แสนบาท เป็นต้น

จากที่กล่าวมานี้ กฎหมาย การจัดเก็บภาษีและสิ่งปลูกสร้างที่ให้เริ่มบังคับใช้วันที่ 1 ม.ค.2563เป็นต้นไปและใน 3ปีแรกของการจัดเก็บภาษีตามกฎหมายฉบับนี้ให้ยกเว้นการจัดเก็บภาษีแก่เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เป็นบุคคลธรรมดาและใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรกรรม

 

สนใจข้อมูลข่าวสารเด่นๆ คอนเทนท์ร้อน ที่เรานำมาเสิร์ฟให้คุณผู้อ่านในทุกๆวันจาก Dotproperty คลิ๊ก