สวัสดีค่ะ วันนี้เรากลับมาพบกันอีกครั้ง โดยใกล้เข้ามาแล้วนะคะ สำหรับวันสุดท้ายของปีนี้ โดยเราก็ควรที่จะเตรียมความพร้อมสำหรับที่จะรับปีใหม่ที่จะเข้ามาหาเรา โดยในวันนี้เราก็อยากมาทำความรู้ความเข้าใจกันอีกสักครั้งสำหรับเรื่อง พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อให้เราจะได้มีความรู้และความเข้าใจร่าง พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2560 ตามที่กระทรวงการคลังนำเสนอและเริ่มใช้ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา โดยใช้แทนพ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 และ พ.ร.บ.ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 เดิม โดยในวันนี้หลายๆท่านอาจจะยังไม่ทราบกันว่า เจ้าพ.ร.บ ฉนับนี้มีเนื้อหาอะไรบ้างและดีหรือไม่เราผู้เสียภาษีจะต้องรู้อะไรบ้างไปหาคำตอบกันเลยค่ะ
สาระสำคัญร่าง พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ฉบับใหม่มีอะไรบ้าง
1.แก้ไขพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 และพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508
2.ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษี ได้แก่ บุคคลธรรมดาที่เป็นเจ้าของที่ดินต่างๆหรือสิ่งปลูกสร้าง ที่เป็นผู้ครอบครองหรือทำประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์สินของรัฐ
3.หน่วยงานที่จัดเก็บภาษี ได้แก่ เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง เทศบาลนคร องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา โดยรายได้ภาษีที่จัดเก็บได้จะเป็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท). โดยสามารถที่นำเงินไปใช้พัฒนาท้องถิ่นต่อไป
4.ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษี ได้แก่ ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง ร้านค้าและห้องชุด
5.ฐานภาษีที่ต้องจ่ายมีดังนี้ 1 มูลค่าทั้งหมดของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยคำนวณมาจากราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน สิ่งปลูกสร้างต่างๆ ตามราคาประเมินทุนทรัพย์แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน โดยเราสามารถเข้าไปดูได้ที่ ราคาประเมินที่เว็บไซต์นี้ค่ะ
อัตราภาษีที่กำหนดมีกี่กลุ่ม
อัตราภาษีที่กำหนดในพระราชบัญญัติโดยอัตราสูงสุดที่จะจัดเก็บภาษีของผู้เป็นเจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ โดยจะจัดแบ่งอัตราภาษีดังกล่าวออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
- อาชีพเกษตรกรรมจัดเก็บภาษีได้ในอัตราสูงสุดไม่เกิน 0.2%
- สำหรับที่พักอาศัยที่เกิน 50 ล้าน ให้จัดเก็บภาษีได้ในอัตราสูงสุดไม่เกิน 0.5%
- พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม เป็นต้น ให้จัดเก็บภาษีได้ในอัตราสูงสุดไม่เกิน 2%
- ที่ดินที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าไม่ได้ทำประโยชน์ ให้จัดเก็บภาษีได้ในอัตราสูงสุดไม่เกิน 5%
อัตราภาษีที่ใช้จัดเก็บจริงมีอะไรบ้าง
อัตราภาษีที่ใช้จัดเก็บจริงจะกำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา โดยกำหนดเป็นอัตราก้าวหน้าเพิ่มขึ้นตามมูลค่าของฐานภาษี ดังนี้
- อาชีพเกษตรกรรม เริ่มตั้งแต่ 0-0.1% ของฐานภาษี
- ที่พักอาศัยหลัก ส่วน 50 ล้านบาทขึ้นไป ตั้งแต่ 0.05-0.1% และที่พักอาศัยหลังอื่น ตั้งแต่ 0.03-0.3% ของฐานภาษี
- ประเภทอื่น ๆ ตั้งแต่ 0.3-1.5% ของฐานภาษี
- ที่ดินว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพที่ดิน จะจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นทุก 3 ปี โดยในปีที่ 1-3 เก็บในอัตรา 1% ของฐานภาษี ปีที่ 4-6 เก็บในอัตรา 2% ของฐานภาษี ปีที่ 7 เป็นต้นไป เก็บในอัตรา 3% ยกเว้นภาษีให้แก่ทรัพย์สินบางประเภท เช่น สาธารณสมบัติ ทรัพย์สินของรัฐที่ไม่ได้ใช้หาผลประโยชน์ ทรัพย์สินของสถานทูต ทรัพย์สินของสภากาชาดไทย ทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดและที่ดินสาธารณูปโภคของโครงการจัดสรรที่มิได้ใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ทรัพย์สินของเอกชนที่ได้ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ และบ้านพักอาศัยหลักในส่วนที่มีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท เป็นต้น
รูปแบบสำหรับการคำนวณภาระภาษี ที่ต้องเสียในแต่ละปี
- กรณีที่ดินที่ไม่มีสิ่งปลูกสร้าง ภาระภาษี = มูลค่าที่ดิน x อัตราภาษี โดยมูลค่าที่ดิน = ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน (ต่อ ตร.ว.) x ขนาดพื้นที่ดิน
- กรณีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาระภาษี = (มูลค่าที่ดิน + มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง) x อัตราภาษี โดยมูลค่าสิ่งปลูกสร้าง = (ราคาประเมินทุนทรัพย์โรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง (ต่อ ตร.ม.) x ขนาดพื้นที่สิ่งปลูกสร้าง) – ค่าเสื่อมราคา
- กรณีห้องชุด ภาระภาษี = มูลค่าห้องชุด x อัตราภาษี โดยมูลค่าห้องชุด = ราคาประเมินทุนทรัพย์ห้องชุด (ต่อ ตร.ม.) x ขนาดพื้นที่ห้องชุด (ตร.ม.)
การยกเว้นและบรรเทาภาระภาษี
การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะมีการบรรเทาภาระให้กับเจ้าของบ้านพักอาศัยหลักที่ได้มาจากการรับมรดก ผู้ประกอบกิจการอสังหาริมทรัพย์ สถาบันการเงินที่มีอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ได้มาจากการชำระหนี้ และกิจการสาธารณะ ดังนี้
- จัดเก็บภาษีในอัตรา 0.05% ของฐานภาษี ที่เป็นอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ได้มาจากการชำระหนี้ของสถาบันการเงิน เป็นระยะเวลา 5 ปี
- ในกรณีที่เจ้าของบ้านพักอาศัยหลักได้รับกรรมสิทธิ์บ้านจากกองมรดกก่อนที่กฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ จะมีการบรรเทาภาษีให้ โดยการลดภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 50% ของจำนวนภาษีที่จะต้องเสีย
- ให้จัดเก็บภาษีในอัตรา 0.05% ของฐานภาษี สำหรับที่ดินที่อยู่ระหว่างการพัฒนาเพื่อจัดทำเป็นโครงการที่พักอาศัยเพื่อขาย ที่นิติบุคคลที่ประกอบกิจการอสังหาริมทรัพย์เป็นเจ้าของเป็นเวลา 3 ปี นับตั้งแต่เจ้าของที่ดินได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน
- ให้ยกเว้นการจัดเก็บภาษีเป็นเวลา 1 ปี ให้กับที่ดินที่อยู่ระหว่างการปลูกสร้างบ้านที่เจ้าของใช้เป็นบ้านของตนเอง
- ให้ลดภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไม่เกิน 75% ของจำนวนภาษีที่จะต้องเสียสำหรับกิจการสาธารณะ
ถ้าเราชอบสต๊อกบ้านจะเสียภาษีถูก-แพง ?
ประโยชน์จาก พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ฉบับใหม่ สารพัดปัญหายังรวมถึงในทางปฏิบัติ การโอนบ้านจัดสรรมีปัญหามาก เช่น ตอนซื้อที่ดินมาพัฒนาวาละ 5,000 บาท แต่พอก่อสร้างเสร็จและโอนให้ผู้บริโภคมีการสร้างพื้นที่ส่วนกลาง อาจทำให้ราคาประเมินเปลี่ยนกลายเป็นวาละ 30,000 บาท
เรื่องที่ 2 กรณีบ้านที่สร้างเสร็จแล้วและยังขายไม่ได้ เป็นสต๊อก มีภาระภาษียังไง ถ้าเสียภาษีพาณิชยกรรมอัตราภาษีสูงกว่าที่อยู่อาศัย 3 เท่า รัฐจะตีความยังไง
ความโปร่งใสในการเรียกเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีมากแค่ไหน
ในอนาคตที่ภาษีจะบังคับใช้ เรื่องความโปร่งใส กระบวนการในการประกาศราคาประเมินยังไม่ทราบหลักเกณฑ์ เพราะการบังคับจัดเก็บเป็นภารกิจขององค์กรปกครองท้องถิ่น ทำให้มีข้อกังวลว่าอาจเกิดความลักลั่นที่ทรัพย์สินแปลงติดกันอาจเสียภาษีไม่เท่ากัน ทั้งนี้ แนวทางการตรวจสอบของประชาชนทำได้มากน้อยแค่ไหน อย่างไร
กรณีมีข้อกังขาเกี่ยวกับอัตราภาษีรายแปลง แนะนำว่ากระบวนการกำหนดอัตราจัดเก็บภาษีต้องทำอย่างโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ควรมีการติดประกาศให้เห็นชัดเจน และดีที่สุดควรแปะไว้ในข้อมูลข่าวสารบนออนไลน์ นอกจากนี้ยังมีเรื่องการกำหนดเวลา ถือเป็นเรื่องทางเทคนิค โดยกฎหมายภาษีที่ดินฯระบุไว้เลยว่า ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมีหน้าที่ชำระภาษีในวันที่ 1 มกราคมของปี นั่นคือผู้ขายต้องรีบขายภายใน 31 ธันวาคม ในขณะที่ผู้ซื้อก็อยากประวิงเวลาไปซื้อหลังวันที่ 1 มกราคม
ประโยชน์จาก พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่
- ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ กล่าวคือ ผู้มีทรัพย์สินมูลค่าสูงมีภาระภาษีมากกว่าผู้ที่มีทรัพย์สินมูลค่าต่ำ
- เพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี ลดการใช้ดุลยพินิจ กระตุ้นให้มีการใช้ประโยชน์จากที่ดิน ลดปัญหาการกักตุนที่ดินเพื่อเก็งกำไรและกระจายการถือครองที่ดิน
- ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากการเรียกเก็บภาษี 64,290 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดิม 38,318 ล้านบาท (ภาษีโรงเรือนและที่ดิน-ภาษีบำรุงท้องที่)
- ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการบริหารงานของ อปท. มากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จาก พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ฉบับใหม่ในครั้งนี้เชื่อว่าไม่ได้มีผลกระทบกับคนส่วนใหญ่หรือมนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆ เท่าไรนัก แต่สำหรับพ่อค้านายหน้าสะสมที่ดินซื้อคอนโดไว้ปล่อยเช่า ร่วมถึงคนที่มีบ้านหลายหลัง ก็ลองตรวจสอบทรัพย์สินของตัวเองกันว่ามีมูลค่าเท่าไร จัดอยู่ในประเภทไหนบ้าง ประเภทที่ต้องเสียภาษีด้วยหรือไม่ ในอัตราเท่าไร อย่าลืมบริหารจัดการทรัพย์สินที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดค่ะ แล้วพบกันใหม่ครั้งหน่าค่ะ
ลงประกาศฟรี !!! ไม่มีค่าใช้จ่ายลงประกาศเลย คลิ๊ก …
ขายคอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดิน กับ Dot Property ขายง่าย ขายไว หรือต้องการซื้อ-เช่า !!! คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินทั่วไทยมากกว่า 300,000 รายการคลิ๊กที่นี่