สวัสดีค่ะ วันนี้เรามีบทความดีๆ สำหรับคนที่กำลังอย่างมีบ้านมาฝากกันเช่นเคย โดยวันนี้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการผ่อนบ้านกันในนิยามของการ “ผ่อนสั้น หรือ ผ่อนยาว” โดยการผ่อนชำระในกรณีการ กู้บ้าน ซึ่งหลายคนชอบถามกันมาว่า ผ่อนสั้น หรือ ผ่อนยาว อย่างไหนดีกว่ากัน วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกันค่ะ
แต่ก่อนที่เราจะเริ่ม แหะๆ ขอพูดถึงสำนวนก่อนเลยละกัน ไหนๆก็ไหนๆ และ เผื่อใครอยากรู้จะได้ไขข้อข้องใจไปพร้อมๆกันค่ะ ความหมายของ ผ่อนสั้น ผ่อนยาว ก็คือ การประนีประนอม หรือการ อะลุ้มอะล่วย กันนั่นเองซึ่งคุณผู้อ่านเห็นด้วยมั้ยล่ะคะว่า มันก็คือคอนเซปต์ของการที่เอามากับการผ่อนชำระ สั้นๆ ยาวๆ นั่นเอง เพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราไปดูรายระเอียดกันเลยค่ะ
โดยปกติแล้วเมื่อเราเลือกบ้านที่ถูกใจได้แล้ว โดยปกติตามกระบวนการก็คือการติดต่อธนาคารพาณิชย์เพื่อขอสินเชื่อบ้านและทางธนาคารก็จะให้เลือกว่า คุณจะเลือก ผ่อนชำระในระยะสั้น หรือ ระยะยาวดีคะ…? ถ้าหากเป็นระยะสั้น ก็คือ 5-10 ปี ถ้าเป็นระยะยาว ก็คือ 15-30 ปี โดยประมาณค่ะ โดยเดี๋ยวเราไปดูข้อดีข้อเสียกันว่าเราควรจะเลือกแบบไหนนี้ระหว่าง ผ่อนสั้น หรือ ผ่อนยาว
การผ่อนชำระ “ระยะสั้น” ข้อดี ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยมาก ผ่อนหมดเร็ว ข้อเสีย เงินที่ชำระในแต่ละงวดค่อนข้างสูง โดยปกติการผ่อนแบบนี้เหมาะกับผู้ที่มีรายได้ต่อเดือนสูง ที่รายจ่ายแต่ละเดือนหลังผ่อนบ้านแล้วควรจะเลือกสัก 60-70% ค่ะเพื่อรักษาสภาพคล่องทางการเงินในแต่ละเดืนค่ะ
การผ่อนชำระ “ระยะยาว” ข้อดี เงินที่ผ่อนชำระในแต่ละเดือนไม่สูง ข้อเสีย ต้องผ่อนนานและเสียดอกเบี้ยในระยะยาวขึ้นบ้านครั้งอาจจะเสียดอกตั้งแต่ 4-5 แสนไปจนถึง ล้านกว่า นั้นขึ้นอยู่กับราคาบ้านและระยะเวลาผ่อนค่ะ โดยการผ่อนแบบนี้เหมาะกับผู้มีรายได้น้อยหรือผู้ที่มีภาระผ่อนชำระอื่นๆ มากอยู่แล้ว แต่ถ้าผู้ผ่อนคำนวนดูแล้วว่าถ้าผ่อนรายจ่ายแต่ละเดือนดูจะเดือนชนเดือนเราแนะนำว่าควรจะชะลอการซื้อบ้านออกไปก่อนค่ะหรือไม่ก็ควรจะโปะสิ้นที่เราผ่อนอยู่ออกให้หมดหรือไม่ก็ทำการกู้ร่วมก็เป็นทางออกที่ไม่เลวเหมือนกันค่ะ
เป็นยังไงกันบ้างงง….เลือกถูกแล้วหรือยังคะ…อย่าลืมว่าสิ่งที่เรานำเสนอเป็นเพียง กฎเกณฑ์ทั่วไป ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว คุณสามารถพูดคุยปรึกษากับพนักงานสินเชื่อประจำธนาคารที่คุณวางใจ เพื่อข้อเสนอและเงื่อนไขที่ดีที่สุดค่ะ แล้วพบกันใหม่ครั้งหน้าค่ะ