สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาศึกษาและออกแบบโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ตซึ่งเป็นทางรถไฟสายใหม่เพื่อการท่องเที่ยวเส้นทางสุราษฎร์ธานี-พังงา-ภูเก็ต เป็นระบบ รถไฟฟ้ารางเบา หรือ Tramway มีแนวเส้นทางเริ่มต้นจากบริเวณสถานีรถไฟท่านุ่นจังหวัดพังงา ผ่านท่าอากาศยานภูเก็ตและสิ้นสุดที่บริเวณห้าแยกฉลอง ระยะทาง 58.5 กิโลเมตรงบประมาณลงทุนเกือบ 4 หมื่นล้านบาท โดยรัฐร่วมลงทุนกับภาคเอกชน (พีพีพี)
สำหรับเส้นทาง ส่วนใหญ่เป็นทางวิ่งระดับดิน ยกเว้นบริเวณสนามบินภูเก็ตจะเป็นสถานียกระดับ มีทั้งหมด 24 สถานี ยกระดับ 1 สถานีที่สนามบินภูเก็ต และใต้ดิน 1 สถานีที่สถานีถลาง มีศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่งตั้งอยู่บริเวณ อำเภอถลาง เช่นเดียวกับรถไฟฟ้ารางเบา จังหวัดเชียงใหม่มูลค่าลงทุน 2.8 หมื่นล้านบาท ระยะทาง 34.93 กิโลเมตร ใช้รูปแบบพีพีพีเช่นเดียวกัน แบ่งเป็นสายสีแดง ระยะทาง 12.54 กิโลเมตร
ส่วนสายสีน้ำเงิน 12 กิโลเมตร รวม 13 สถานี วงเงินลงทุน 3 หมื่นล้านบาท และสุดท้ายสายสีเขียว ระยะทาง 10.47 กิโลเมตร รวม 10 สถานี วงเงินลงทุน 2.5 หมื่นล้านบาท
สำหรับความคืบหน้า รถไฟรางเบาภูเก็ตจะเริ่มดำเนินการก่อน ส่วนจังหวัดขอนแก่น ล่าสุดภาคเอกชน ในพื้นที่เร่งขับเคลื่อนตามมติคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) โดยมีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
ที่มา : หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ตะลึง! บ้านราคาต่ำล้าน ยังมีขายใน กทม.
ซีพี ยังไม่พร้อมคุยต่อ ขอเลื่อนถกรถไฟไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ไป 13 มี.ค.