ณ. เวลานี้หากจะพูดถึงมหากาพย์โปรเจ็กต์ รถไฟฟ้า ที่กินงบประมาณมากที่สุดในประเทศไทย คงนี้ไม่พ้น โปรเจ็กต์ รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงช่วง บางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26 กม. ที่ใช้งบประมาณก่อสร้างบานปลายบ่อยที่สุด เพราะในเวลานี้ขยับเพิ่มแล้วถึง 5 ครั้ง ในรอบ 6 ปี วันนี้เรา จะพาไปชม มหากาพย์การขอเพิ่มงบประมาณก่อสร้าง รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงช่วง บางซื่อ-รังสิต ว่าเพราะอะไรถึง ทุบสถิติงบประมาณก่อสร้าง บานปลาย จาก 59,888 ล้านบาท ตอนนี้ ทะลุไปแล้วกว่าแสนล้านบาท
มหากาพย์โปรเจ็กต์ รถไฟฟ้าสายสีแดงเพราะอะไรเพิ่มงบไม่หยุด ไม่รู้จะไปจบตรงไหน
หลังจากที่เมื่อเร็วๆนี้ทาง การรถไฟแห่งประเทศไทยหรือร.ฟ.ท. ผู้ดำเนินการ ค่าก่อสร้างโปรเจ็กต์ รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงช่วง บางซื่อ-รังสิต ได้ออกมากล่าวถึงสาเหตุว่าเพราะอะไรจึงจำเป็นต้องของบเพิ่ม โดยได้ออกมาชี้แจงตั้งแต่ งบประมาณครั้งแรกดังนี้
- งบประมาณครั้งที่หนึ่ง เริ่มปี 2552 จากงบประมาณ 59,888 ล้านบาท เพิ่มเป็น 75,548 ล้านบาท โดยของบเพิ่มมา 15,660 ล้านบาท สาเหตุคือ แบบก่อสร้างฉบับเดิมาคำนวณไว้ไม่สอดคล้องกับต้นทุนในขณะนั้น
- งบประมาณครั้งที่สอง เริ่มปี 2555 จากงบประมาณ 75,548 ล้านบาท เพิ่มเป็น 80,375 ล้านบาท โดยของบเพิ่มมา 4,827 ล้านบาท สาเหตุคือ ผู้รับเหมาเสนอราคาประมูลทั้ง 3 สัญญา เกินจากกรอบราคากลาง จึงจำเป็นต้องของบเพิ่ม
- งบประมาณครั้งที่สาม เริ่มปี 2555 จากงบประมาณ 80,375 ล้านบาท เพิ่มเป็น 88,479 ล้านบาท โดยของบเพิ่มมา 8,104 ล้านบาท สาเหตุคือ ค่าก่อสร้างปรับแบบก่อสร้างส่วนของชานชาลาสถานีและโครงการทางให้รองรับกับรถไฟความเร็วสูงสถานีกลางบางซื่อ และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ในอนาคต
- งบประมาณครั้งที่สี่ เริ่มปี 2559 จากงบประมาณ 88,479 ล้านบาท เพิ่มเป็น 95,222 ล้านบาท โดยของบเพิ่มมา 6,743 ล้านบาท สาเหตุคือ ผลจากการเจรจาประมูลสัญญาที่ 3 กับกลุ่มร่วมค้า MHSC (มิตซูบิชิ เฮฟวี่-ฮิตาชิ-สุมิโตโม) ติดหล่มการประมูลจากเดิมที่คาดไว้อยู่ที่ 25,656 ล้านบาท แต่เมื่อเคาะราคาได้เพิ่มขึ้นเป็น 32,399 ล้านบาท ทำให้จำเป็นต้องของบเพิ่ม
- งบประมาณครั้งที่ห้า ล่าสุดทาง ร.ฟ.ท.จะของบเพิ่มกว่า 9,000 ล้านบาท โดยในเวลานี้ทาง บอร์ดร.ฟ.ท. อนุมัติแล้ว ตอนนี้อยู่ในระหว่างทำข้อมูลเพิ่มเพื่อส่งให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาก่อนเสนอ ครม. ต่อไป โดยมีการคาดว่าอาจจะขอเป็นกรอบไว้ใช้จริงงบประมาณอาจจะไม่ถึงเท่าที่ขอ
สาเหตุที่จำเป็นต้องของบเพิ่มจะแบ่งออกได้ดังนี้
- เพื่อสำหรับการปรับสร้างรางเพิ่มจาก 3 ราง เป็น 4 ราง
- สำหรับจ่ายค่าชดเชยจากการขยายเวลาก่อสร้าง ให้กับผู้รับเหมาก่อสร้างงานโยธา เนื่องจากโครงการนี้ใช้เงินกู้จาก ไจก้า หรือองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่นเพราะในสัญญาที่ตกลงกลับทาง ไจก้า ระบุให้ผู้รับเหมาเรียกค่าชดเชยได้ หากมีการขยายเวลาก่อสร้าง
สัญญาจากไจก้า ตัวการสำคัญในการของบเพิ่ม
โดยอย่างที่เราทราบกันว่าทาง ร.ฟ.ท. ได้ทำการตกลงในสัญญาฉบับนี้โดยในนั้นมีข้อตกลงแยกเป็นสัญญาได้ดังนี้
- สัญญาที่ 1 งานสถานีกลางบางซื่อ และศูนย์ซ่อมบำรุง ขอขยายเวลาถึงเดือน พ.ย. 2562 สาเหตุ เพราะมีการรื้อสิ่งปลูกสร้างของ ร.ฟ.ท.ออกจากพื้นที่และปลูกสร้างขึ้นใหม่ขึ้นมาแทนำให้เกิดการล่าช้าเป็นผลให้จำเป็นต้องขอขยายเวลาก่อสร้างออกไป
โดยทำให้ทาง ร.ฟ.ท.ต้องเสีย ค่าชดเชยประมาณ 3,000 ล้านบาท เสียให้แก่กลุ่มกิจการร่วมค้า SU (บมจ.ซิโน-ไทยฯ และ บมจ.ยูนิคฯ)
- สัญญาที่ 2 งานโครงสร้างทางวิ่งยกระดับและระดับพื้นงานสถานี 8 แห่ง และถนนเลียบทางรถไฟและถนนทางข้าม ขอขยายถึงเดือน ก.ย. 2562 โดยสาเหตุเกิดจาก ติดการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างสกายวอล์กทำให้ต้องเสีย ค่าชดเชยประมาณ 1,000 ล้านบาท เสียให้แก่ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์
ทำให้เวลานี้โครงการนี้มีการของบประมาณเพิ่มไปแล้วกว่า 5 ครั้ง ในระยะเวลากว่า 6 ปี รัฐบาลเสียเงินไปแล้วกว่า 104,222 ล้านบาท โดยที่โครงการยังไม่เสร็จสมบูรณ์และจากทางที่ ร.ฟ.ท. ออกมาคอนเฟิร์มว่าโครงการ รถไฟฟ้าสายสีแดงบางซื่อ-รังสิต จะสามารถเปิดใช้ในเดือน ม.ค. 2564 นี้จะเสร็จทันเปิดใช้หรือไม่
หรือจะเกิดแอคซิเดนอีกหรือไม่ เราก็ขอภาวนาให้โครงการนี้ราบลื่นหรืออย่างน้อยๆก็ขออย่างให้มีการของบประมาณเพิ่มเติมอีกเป็น ครั้งที่ 6 เลย
เจาะสาเหตุทำไมคอนโดย่านบางนาถึงมาแรง แซงทุกโค้ง ปรับขึ้นสูง 44%
อัพเดท รถไฟฟ้า ใหม่ 10 สาย พลิกโฉมประเทศไทย