ประเทศไทยในช่วง 2 ปีมานี้เรียกว่าเจอวิกฤตกันมากมายทั้งโรคระบาด ภัยธรรมชาติและอื่นๆ ส่งผลให้การใช้ชีวิตของใครหลายคนต้องเปลี่ยนรูปแบบไปจนกระทบถึงตลาดอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่สำคัญในการใช้ชีวิตของเรา จนตอนนี้ทำให้ถึงกับเดาทิศทางกันไม่ออกเลยว่าอนาคตตลาดอสังหาฯ จะมีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรได้บ้าง
มีหลายคนที่ตัดสินใจลงทุนกับตลาดอสังหาฯ ด้วยการปล่อยให้เช่าแต่เมื่อเผชิญกับ COVID-19 แล้วตลาดให้เช่าก็แทบจะหยุดชะงักลงจนเกิดเป็นคำถามในใจของผู้ให้เช่าหลายคนว่า เรายังควรเก็บอสังหาฯ ให้เช่าเอาไว้หรือจะขายออกไปดี?
มาดูกันดีกว่าว่าวันนี้เรามีข้อมูลอะไรที่จะมาช่วยตัดสินใจเรื่องนี้กันได้บ้าง
ค่าเดินทางพุ่งสูงขึ้น
แต่วันนี้มีการเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามา
ด้วยการระบาดของ Covid-19 ช่วงนี้เริ่มลดลง ทุกคนเริ่มกลับไปทำงานหรือกลับไปเรียนได้บ้างแล้วทำให้เรามองเห็นแนวโน้มว่าตลาดให้เช่าอาจเริ่มกลับมาคึกคักมากขึ้นถึงแม้ว่าเรายังต้องรอดูว่าจะมีการล็อกดาวน์อีกรอบหรือไม่ก็ตาม แต่ปัจจัยการกลับมายังไม่ได้มีเพียงแค่นั้น
BTS ยกเลิกการขายตั๋วเที่ยว 30 วัน
นี่นับเป็นทั้งข่าวดีและข่าวร้ายสำหรับนักลงทุนให้เช่าเพราะสำหรับคนที่เลือกคอนโดที่มีจุดขายอยู่ที่คอนโดติด BTS นั้นจะต้องมาคำนวณกันใหม่แล้วว่านี่ยังเป็นจุดขายได้หรือไม่ เพราะผู้เช่าหลายคนที่ต้องใช้รถไฟฟ้าเดินทางเป็นหลักสามารถนำเอาค่าเดินทางที่ต้องจ่ายเพิ่มไปตามหาห้องที่มีราคาสูงขึ้นแต่ไม่ต้องจ่ายค่าเดินทางได้หรือไม่
ค่าน้ำมันจะปรับสูงขึ้น
ในช่วงเดือนกันยายนราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกได้มีการปรับตัวพุ่งสูงขึ้นส่งผลให้ราคาน้ำมันในประเทศจะปรับตัวขึ้นตามไปด้วย การปรับตัวนี้ย่อมกระทบต่อการเดินทางทั้งคนที่มีรถยนต์ส่วนตัวและคนที่ใช้รถโดยสารสาธารณะ ซึ่งอาจทำให้การเช่าที่อยู่อาศัยที่ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางได้เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมากขึ้น
ค่าทางด่วนขึ้นราคา
ปัญหาเรื่องค่าเดินทางยังไม่จบเมื่อนายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้แจ้งถึงการปรับขึ้นราคาทุก 5 ปีตามสัญญาสัมปทานจากราคาเดิมขึ้นอีก 15 บาท(ปกติรถยนต์จ่าย 50 บาทจะกลายเป็น 65 บาท) คนที่เลือกซื้อบ้านใกล้ทางด่วนหรือคอนโดใกล้ทางด่วนอาจจะต้องเตรียมตัวรับค่าใช้จ่ายที่จะเพิ่มขึ้นอีกเที่ยวละ 15 บาทอีกทั้งค่าน้ำมันที่จะขึ้นราคาอีกทำให้การเปลี่ยนที่อยู่ชั่วคราวลดการใช้รถยนต์อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
ตลาดอสังหาฯ ไม่คึกคัก
นอกจากนี้ยังได้มีการประมาณการไว้ว่าในปี 2564 จะมีจำนวนที่อยู่อาศัยเปิดใหม่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลประมาณ 47,349 หน่วยซึ่งถือว่าน้อยที่สุดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเพราะการระบาดของ Covid-19 โดยคาดการณ์ไว้ในปี 2565 ว่าตลาดอสังหาฯ จะเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น
การยกเลิก LTV
สำหรับปัจจัยข้อนี้จะเป็นข่าวร้ายสำหรับผู้ต้องการลงทุนระยะยาวอย่างการให้เช่าเพราะการยกเลิกมาตรการนี้ทำให้สามารถกู้เงินซื้อที่อยู่อาศัยได้ง่ายมากขึ้น
จากข้อมูลการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบต่อตลาดอสังหาฯ เหล่านี้อาจทำให้ใครหลายคนสามารถตัดสินใจได้แล้วว่าควรจะปล่อยเช่าต่อหรือขายออกไปจะดีกว่ากัน และเชื่อว่าหลายคนยังคงรอให้เศรษฐกิจฟื้นตัวกลับมาเพื่อให้สามารถหวังผลการลงทุนได้อีก
ที่มา
https://www.prachachat.net/economy/news-785953
https://www.thansettakij.com/property/500697?fbclid=IwAR2U7PrhDwAlQ-rU8C-l7qRbgaBFAHK-Q6RIE_dMRuMz84I-JkHKlgXVS6g