มาต่อกันเลยหลังจากเมื่อเร็วๆนี้ ทางเราได้เขียนบทความ ผ่าผลงาน รัฐบาลประยุทธ์ ยกแรก ตอนที่ 1 รถไฟฟ้าหลายสีเพื่อประชาชนที่รัก กับงบลงทุน4แสนล้าน วันนี้เรามาต่อกับโครงการเมกะโปรเจคอย่าง โครงการเมกะโปรเจคและรถไฟความเร็วสูงที่เรียกว่ามีหลายรัฐบาลอยากจะทำแต่ไม่สามารถทำได้ สุดท้ายมาจบที่รัฐบาลประยุทธ์ยกแรก โดยใช้วงเงินพัฒนาสูงถึง 648,369.59 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้
รถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูงคืนความสุขเชื่อมไทยให้ใกล้กัน กับงบ 6แสนล้าน
ในเวลานี้โครงการรถไฟทางคู่ในประเทศไทยได้อนุมัติแล้วหลายช่วง โดยจุดมุงหมายหลักคือเปลี่ยนระบบรถไฟระหว่างเมืองจากแต่เดิมเป็นทางเดี่ยวให้เป็นทางคู่เพื่อที่จะสามารถรองรับความจุได้ดีมากกว่าเดิมและยังจะทำให้อนาคตมีคุณภาพบริการที่ดีขึ้น นอกจากนี้ยังคาดว่าจะทำให้เกิดการลงทุนในการก่อสร้างในระบบกว่า 2 แสนล้านบาทต่อปีต่อเนื่องไปถึง 3-4 ปีข้างหน้า ส่วนด้านรถไฟความเร็วสูงมีแผนว่าจะออกมาในหลายระบบ แต่ละเส้นใช้ด้วยกันไม่ได้เพราะว่ามีการดึงเอกชนมาร่วมลงทุนรถไฟฟ้าทำให้เกิดอัตราค่าโดยสารอยู่ในระดับสูงและอาจจะไม่เท่ากัน ถึงแม้ว่าจะช่วยแบ่งเบาภาระงบประมาณของภาครัฐได้ก็จริง แต่ผลกระทบอาจจะตกไปสู่ประชาชนผู้บริโภคโดยตรงได้โดยเฉพาะ
เมื่อต้องเดินทางด้วยรถไฟฟ้าหลายสายต่อเนื่องกันโดยงบ รถไฟทางคู่ ขยายแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-นครราชสีมามีงบประมาณ 648,369.59 ล้านบาทโดยมีรายละเอียดดังนี้
- โครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ- นครราชสีมา งบลงทุน 179,000 ล้านบาท
- โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ งบลงทุน 85,345 ล้านบาท
- โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายสุราษฏร์ธานี-ปาดังเบชาร์ งบลงทุน 65,494 ล้านบาท
- โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายปากน้ำโพ-เด่นชัย งบลงทุน 62,624 ล้านบาท
- โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี งบลงทุน 37,562 ล้านบาท
- โครงการส่วนต่อขยายแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ งบลงทุน 31,149.35 ล้านบาท
- โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ งบลงทุน 29,855 ล้านบาท
- โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายขอนแก่น-หนองค่าย งบลงทุน 26,654.36 ล้านบาท
- โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายลพบุรี-ปากน้ำโพ งบลงทุน 24,842 ล้านบาท
- โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายชุมพร-สุราษฏร์ธานี งบลงทุน 24,293 ล้านบาท
- โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น งบลงทุน 23,802.53 ล้านบาท
- โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายนครปฐม-หัวหิน งบลงทุน 20,038 ล้านบาท
- โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร งบลงทุน 17,293 ล้านบาท
- โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย งบลงทุน 11,348.35 ล้านบาท
- โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ งบลงทุน 9,105 ล้านบาท
ปัญหาที่เกิดสำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงและรถไฟทางคู่
เวลานี้โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา และโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ติดปัญหาจากสาเหตุ ขาดการวางแผนด้านการใช้เทคโนโลยีเพราะนำระบบมาหลายระบบผสมกันทำให้ในอนาคตอาจจะเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงมากกว่าเดิมเพราะระบบที่หลายหลายค่าใช้อะไหล่และการซ่อมบำรุงอาจจะมีราคาแตกต่างกันไป ส่วนโครงการ รถไฟไฮสปีด กรุงเทพฯ- นครราชสีมา ก็เกิดคถามจากพรรคอนาคตใหม่ เพราะขัดกับตรรกะของการพัฒนาเป็นอย่างมากสาเหตุคือการอนุมัติทั้งรถไฟทางคู่ มอเตอร์เวย์ และรถไฟความเร็วสูงอัดเข้าไปพร้อมๆ กันในพื้นที่เดียว จะเป็นการเพิ่ม Capacity ให้กับระบบอย่างซ้ำซ้อน
ทำไมภาครัฐไม่กระจายออกไปในทางอื่นๆ ทำไมไม่ไปปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานหรือระบบขนส่งในด้านอื่นๆ ให้เพียงพอก่อน เช่น รถไฟทางคู่ หรือระบบรถเมล์ในเมือง แต่กลับมีการสร้างหลายโครงการพร้อมกันมาแย่งดีมานด์กันเองในเส้นทางเดียวกัน นอกจากนี้ยังส่อแววรื้อแบบสร้างไม่ถึง50% รถไฟทางคู่สายใต้ นครปฐม-ชุมพร อาจจะของบเพิ่มและเสร็จหลังปี 65 รวมถึงเงินที่ทางรัฐจะต้องเตรียมเวนคืนที่ดิน สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงและรถไฟทางคู่อีกด้วย