เรื่องกฎหมายเกี่ยวกับ รั้วบ้าน ที่ไม่ใช่แค่เรื่องบ้านๆอีกต่อไป

รั้วบ้าน

หลังจากการที่เรา ปลูกบ้านเอง หรือ ซื้อบ้าน มาแล้ว หากคุณอยากที่จะทำการล้อม รั้วบ้าน เพื่อความเป็นส่วนตัว หรือแสดงขอบเขตกรรรมสิทธิ์แล้ว คุณยังต้องคำนึงถึงกฎหมายของตัวบ้านก่อนว่าจะสามารถล้อมได้สูงแค่ไหน ใช้หลักเกณฑ์ใดในการกำหนด จะได้ไม่เป็นการทำผิดกฎหมายควบคุณอาคารกันโดยไม่รู้ วันนี้เราจะพาไปดูกันว่า จะล้อมรั้วบ้านอย่างไรให้ไม่มีปัญหาทางกฎหมายตามมาในภายหลัง

ล้อม รั้วบ้าน ต้องมีการแจ้งต่อหน่วยงานไหนไหม

โดยปกติแล้ว การล้อมรั้วบ้านนั้น จะมีการขออนุญาตก็ต่อเมื่อ

  1. รั้วกั้นระหว่างเขตที่ดินเอกชนกับที่สาธารณะ จะต้องขออนุญาตก่อสร้าง เพราะถือเป็น “อาคาร” ตามกฎหมาย
  2. รั้วกั้นระหว่างที่ดินเอกชนที่ติดกันและรั้วนั้นมีความสูงไม่ถึง 10 เมตร ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตก่อสร้าง เพราะไม่ถือเป็น “อาคาร” แต่หากรั้วนั้นมีความสูงถึง 10 เมตร ก็จะต้องยื่นขออนุญาตก่อสร้างเพราะเข้าข่ายเป็น “อาคาร”

 

การสร้างรั้วบ้านติดกับเพื่อนบ้านนั้นสามารถใช้ที่ดินร่วมกันได้หรือไม่

การสร้างรั้วกั้นระหว่างที่ดินเอกชน หรือเพื่อนบ้านนั้น สามารถใช้ที่ดินร่วกันได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กันว่าสามารถตกลงกันได้รึเปล่า หากตกลงกันได้ โครงสร้างใต้ดินของรั้วและแนวเขตสามารถแบ่งกันคนครึ้งได้

 

แนวรั้วบ้านและความสูงของรั้วด้านติดถนนสาธารณะ

รั้วบ้านที่สร้างระหว่างที่ดินเอกชนกับถนนสาธารณะ กฎหมายควบคุมอาคารผ่อนผันให้ รั้วหรือกำแพงที่สร้างขึ้นติดต่อหรือห่างจากถนนสาธารณะน้อยกว่าความสูงของรั้ว ให้ก่อสร้างได้สูงไม่เกิน 3 เมตร เหนือระดับทางเท้าหรือถนนสาธารณะ หากความสูงไม่เป็นไปตามที่ผ่อนผันไว้ รั้วนั้นก็จะต้องมีระยะถอยร่น (จากถนนสาธารณะ) สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร หากถนนสาธารณะกว้างน้อยกว่า 6 เมตร ความสูงรั้วด้านที่ยอมให้สร้างชิดเขตถนนสาธารณะจะถูกจำกัดให้สูงได้ไม่เกิน 2 เมตรเท่านั้น

 

ลักษณะและรูปแบบของรั้วตามกฎหมาย

โดยกฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2535) ข้อ 5 กำหนดว่า “รั้วหรือกำแพงกั้นเขตที่อยู่มุมถนนสาธารณะที่มีความกว้างตั้งแต่ 3 เมตรขึ้นไป และมีมุมหักน้อยว่า 135 องศา ต้องปาดมุมรั้วหรือกำแพงกั้นเขตนั้น โดยให้ส่วนที่ปาดมุมมระยะไม่น้อยกว่า 4 เมตร และทำมุมกับเนวถนนสาธารณะเป็นมุมเท่า ๆ กัน”

Credit : SCG

 

สนใจข้อมูลข่าวสารเด่นๆ คอนเทนท์ร้อน ที่เราหามาเสริฟให้คุณผู้อ่านในทุกๆวันจาก Dotproperty คลิ๊ก …