การ รีไฟแนนซ์ ที่ดี ควรวางแผนสรุปค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์แบบแบ่งเป็นดังนี้
- เตรียมค่าใช้จ่ายให้ที่ต้องเสียกับธนาคาร ค่าปรับกรณีไถ่ถอนหลักประกันก่อนกำหนด โดยปกติจะไม่เกิน 3 ปี โดยเฉลี่ยจะเสียค่าปรับประมาณ 2-3% ของยอดหนี้ แต่ถ้าเราทำการรีไฟแนนซ์ในช่วงเวลาที่เลยกำหนดจากธนาคารเดิมมาแล้ว ค่าใช้จ่ายนี้เราก็ไม่จำเป็นต้องจ่าย
- เตรียมค่าใช้จ่ายให้กับธนาคารรายใหม่ที่เราทำการขอรีไฟแนนซ์ โดยธนาคารที่เราไปขอจะทำการเรียกเก็บค่าประเมินมูลค่าหลัยทำกรมธรรม์อยู่และยังไม่หมดอายุเราสามารถที่จะโอนผลประโยชน์จากธนาคารเดิมมายังธนาคารเเห่งใหม่ได้ค่ะกประกัน ค่าธรรมเนียมการใช้อัตราดอกเบี้ยคงที่ และบางธนาคารอาจจะให้เราทำเบี้ยประกันอัคคีภัย โดยหากเราเค
- เตรียมค่าใช้จ่ายสำหรับค่าธรรมเนียมการจดจำนอง 1% และค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงินกู้ ให้เเก่กรมที่ดิน
ศึกษาผลประโยชน์ที่ได้รับเพิ่มขึ้นจากการรีไฟแนนซ์ ให้ชัดเจน
โดยข้อนี้สำคัญเพราะหากมียอดหนี้ที่ต้องการจ่าย 2 ล้านบาท แล้วอัตราดอกเบี้ย ปัจจุบันเสีย 6 .13% ต่อปี ในณะที่ธนาคารรายใหม่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ 3 ปี เท่ากับ 3.55 % ต่อปี คิดเป็นส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 2.58% ต่อปี นั้นก็เท่ากับว่าเราสามารถที่จะประหยัดเงินได้อีกเป็นแสนเลยที่เดียวค่ะ
อย่าละเลยเงื่อนไขอื่นๆ ของการรีไฟแนนซ์
โดยเราควรที่จะดูเงื่อนไขอื่นๆของธนาคารหลายๆที่เช่น พิจารณายอดหนี้และระยะเวลาการผ่อนชำระที่เหลือ โดย ถ้ายอดหนี้คงเหลือแล้วโดยสามารถทำการผ่อนอีกแค่ 1-2 ปี การทำรีไฟแนนซ์อาจเป็นทางเลือกที่ดีนัก นอกจากนี้ สถาบันการเงินบางแห่งมีเงื่อนไขให้ผ่อนค่างวดได้ไม่เกิน 2 เท่าของยอดผ่อนปกติ หรือถ้าคิดว่าจะขายบ้านในช่วง 3 ปีหลังรีไฟแนนซ์ อาจมีค่าปรับในการปิดบัญชีก่อนกำหนดเพิ่มอีก 2-3% ของวงเงินกู้ ดังนั้นการศึกษาเงื่อนไขอื่นๆอาจจะทำให้เป็นประโยชน์กับเรามากยิ่งขึ้นค่ะ
นอกจากนี้เรายังมีข้อแนะนำ 8 ข้อ ที่จะช่วยให้คุณเลือกสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและรีไฟแนนซ์ได้อย่างมืออาชีพมาฝากด้วยค่ะ
รีไฟแนนซ์กับสถาบันการเงินเดิม
การทำรีไฟแนนซ์ไม่จำเป็นต้องทำกับสถาบันทางการเงินอื่นเสมอไป สามารถทำได้กับสถาบันทางการเงินเดิม เนื่องจากสามารถลดความธรรมเนียมในการจำนองเงินกู้ได้ (ส่วนจะลดได้เท่าไหร่ ลองปรึกษากับทางสถาบันการเงินดูจ้ะ)
รีไฟแนนซ์กับบริษัทประกันก็ได้
นอกจากสถาบันทางการเงินเดิม สถาบันทางการเงินใหม่แล้ว บริษัทประกันก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ไม่ควรมองข้ามเชียวล่ะค่ะ เพราะบ่อยครั้งที่บริษัทประกันมีเงื่อนไขการปล่อยกู้ที่น่าสนใจกว่า (ลองดูนะคะ)
สถาบันทางการเงินที่น่าเชื่อถือ
จะดีกว่ามากถ้าใช้บริการกับบริษัททางการเงินที่น่าเชื่อถือและมีความมั่นคง เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาต่างๆกับสถาบันทางการเงินเนื่องจากเราต้องอยู่ร่วมกันในระยะยาวนั่นเอง
สอบถามบริการพิเศษจากเจ้าของบ้าน
มีโครงการบ้านไม่น้อยที่ร่วมมือกับสถาบันทางการเงินเสนอเงื่อนไขอัตราดอกเบี้ย 0% ให้กับลูกค้าในช่วงระยะหนึ่ง ดังนั้นอย่าลืมถามเงื่อนไขเหล่านี้ก่อนด้วยนะ
วงเงินการกู้
แต่ละสถาบันการเงินมักจะให้วงเงินกู้ต่างกัน และแน่นอนเงื่อนไขตลอดจนระยะเวลาในการกู้ก็ยังแตกต่างกันไปด้วย ให้เลือกที่วงเงินสูงและระยะเวลานาน เพราะจะทำให้ผู้กู้อย่างเรามีความยืดหยุ่นในการดำเนินการมากกว่า
อัตราดอกเบี้ย
มีด้วยกันหลากหลายรูปแบบ ทั้งคงที่ ลอยตัว ผสมผสาน ดังนั้นควรพิจารณาอัตราดอกเบี้ยโดยคาดการณ์จากแนวโน้มตลาดด้วย
ค่าธรรมเนียมการประเมินราคาหลักประกัน
แต่ละแห่งเก็บไม่เท่ากัน ดังนั้นควรเช็คกับสถาบันทางการเงินหลายๆแห่งก่อน เพื่อเป็นการประหยัดค่าธรรมเนียมให้ได้มากที่สุด
ค่าประกันอัคคีภัย
แต่ละสถาบันการเงินมักเก็บค่าประกันอัคคีภัยแตกต่างกัน ดังนั้นอย่าลืมสอบถามให้ดีก่อนด้วย
ก่อนจะจากกันนั้นการวางแผนรีไฟแนนซ์จะคุ้มค่าหรือไม่นั้น เราเจ้าของบ้านควรเปรียบเทียบค่าใช้จ่าย ต่างที่จะช่วยให้เราได้รับประโยชน์ต่างๆที่เพิ่มขึ้นใช้ชัดเจนและข้อกำหนดเงื่อนไขอื่นๆ ที่เป็นข้อจำกัดได้เปรียนเสียเปรียบ
ต่างๆทั้งนี้ก็ควรที่จะพิจารณาถึงปัจจัยที่อื่นอีกด้วยอาทิเช่น ค่าเดินทางต่างๆที่เราต้องเสีย เวลาที่ศูนย์เสียไปในการประเมินหลักประกัน ฯลฯ นอกจากนี้ท่านที่ทำการไถ่ถอนหลักประกันก่อนกำหนด อาจจ้ต้องเตรียมเงินสำหรับเสียค่าปรับเพิ่ม 2-3% โดยสรุปถ้าเราตัดเงื่อนไขต่างๆที่เรายกตัวอย่างนี้ออกไปแล้วการทำรีไฟแนนซ์ยังทำให้เราได้รับประโยชน์มากขึ้น นั้นก็คงจะตอบโจทย์ที่ว่าการ รีไฟแนนซ์ สินเชื่อ ส่วน บุคคล บ้าน เดี่ยว ทาวน์ โฮม คอนโด การแบบถูกที่ถูกเวลา จะทำใช้ชีวิตง่ายขึ้นค่ะ
เป็นยังไงกันบ้างคะ พอจะเป็นแนวทาง เป็นไอเดียให้ได้กันบ้างหรือเปล่า ถูกใจยังไงก็ลองนำไปใช้กันดูบ้างนะคะ แล้วพบกันใหม่ครั้งหน้า