รู้หรือไม่ว่า “ โฉนดน้ำ ” คืออะไร

โฉนดน้ำ

แม้จะมือชื่อคล้ายๆกับ โฉนดที่ดิน แต่เป็นพียงแค่ใบอนุญาตให้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่สาธารณะ บริเวณชายฝั่งทะเล และปากแม่น้ำเท่านั้น ที่เรีกว่า โฉนดน้ำ นั้นมีที่มาจากคำที่เจ้าพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ (ธ.ก.ส.) ใช้เรียกกันภายในนั้นเอง เพื่อสื่อความหมายกับลูกค้าที่มาขอกู้เงินจากธนาคาร ตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนของรัฐบาลเท่านั้น….

โฉนดน้ำที่มาของ โฉนดน้ำ

เกิดขึ้นภายใต้โครงการที่มีชื่อว่า โครงการซีฟู้ดแบงค์ (Sea Food Bank) ซึ่งเป็นโครงการที่เกิดการร่วมมือกันระหว่าง ธ.ก.ส. กับ กรมประมง ครับ เพื่อช่วยเหลือชาวประมงที่เลี้ยงปลาในกระชังให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น โดยกรมประมงจะทำหน้าที่ออกเอกสารสิทธิโฉนดน้ำ เพื่อเป็นหลักฐานให้กับเกษตรกรที่ประกอบอาชีพเพราะเลี้ยงสัตว์น้ำตามชายฝั่งไปใช้เป็นหลักประกันสินเชื่อในโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนของรัฐบาล

  • สำหรับกลุ่มประชาชนที่เป็นเป้าหมายลำดับแรกๆในการออกโฉนดน้ำของทางรัฐบาลนั้น กรมประมงจะจดทะเบียนและออกใบรับรองสิทธิการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ให้ ก็คือประชาชนที่ขึ้นทะเบียนคนจนกับกระทรวงมหาดไทยในทุกจังหวัด และมีความประสงค์ที่จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามเงื่อไขที่กรมประมงกำหนดเอาไว้
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำรายเดิมก็ยังคงได้รับสิทธิในพื้นที่เดิมอยู่แต่ต้องมีการปรับขนาดพื้นที่ลง โดยชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่จะมีส่วนร่วมในการคัดเลือกผู้ประสงค์จะประกอบอาชีพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทั้งในกลุ่มที่จะเลี้ยงใหม่และกลุ่มที่เลี้ยงอยู่เดิมแล้วโดยต้องรวมกลุ่มเป็นประชาคม สหกรณ์ หรือวิสาหกิจชุมชนผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรและปฏิบัติตามเงื่อไขที่กรมประมงกำหนด

ทั้งนี้กรมประมงมีอำนาจที่จะสามารถยกเลิกสิทธิการใช้พื้นที่น้ำเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้ หากประชาชนผู้ที่เข้าร่วมโครงการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ได้กำหนดเอาไว้ เช่น ไม่ประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำภายใน 1 ปี การก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมในแหล่งที่เลี้ยง และ ทำการเลี้ยงไม่เป็นไปตามมาตราฐานการผลิตที่กำหนด เป็นต้น

เกญฑ์การพิจารณา

ว่าชาวบ้านแต่ละรายควรจะมีสิทธิได้พื้นที่มากน้อยเพียงใด จะใช้วิธีให้ประชาคมของชุมชนนั้นตัดสินใจกันเอง เมื่อกรมประมงสำรวจแล้วว่ามีพื้นที่เพาะเลี้ยงได้ขนาดไหน ก็จะให้ชาวบ้านมาประชุมเจรจาตัดสินใจกันเองว่าจะแบ่งพื้นที่กันอย่างไร ได้คนละกี่ตารางวา

เมื่อประชาคมตกลงกันได้แล้วก็จะมีการรังวัดพื้นที่โดยใช้แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศหรือแผนที่ภาพถ่ายทางดาวเทียมมากำหนดจุดพิกัด เพราะพื้นที่น้ำนั้นไม่สามารถปักหมุดได้เหมือนที่ดิน เมื่อรังวัดแบ่งแยกโฉนดน้ำแล้วก็จะกำหนดให้เจ้าของทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในเขตพื้นที่ของตัวเองเท่านั้น ห้ามบุกรุกออกไปนอกเขตพื้นที่ที่กำหนดไว้ในใบอณุญาต

เราจะมาพูดถึงข้อจำกัดสำหรับผู้ที่ถือโฉนดน้ำกันนะครับ ก็คือขะซื้อขายจำหน่ายจ่ายโอนให้แก่บุคคลอื่นไม่ได้ จะโอนได้ก็ต่อเมื่อเจ้าของเสียชีวิตไปแล้วและผู้มีสิทธิได้ครอบครองต่อจากคนก่อนก็ต้องเป็นทายาทหรือลูกเจ้าของโฉนดน้ำเท่านั้นนะครับ

สำหรับจุดเด่นของโฉนดน้ำ

อยู่ตรงที่สามารถนำไปจำนองขอกู้กับธนาคารได้ แต่ต้องเป็นธนาคารของรัฐที่เข้าร่วมกับโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนเท่านั้นนะครับ ซึ่งปัจจุบันมีเพียงที่เดียวคือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. โดยกำหนดให้ชาวบ้านสามารถนำโฉนดน้ำมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำไปทำอาชีพเลี้ยงสัตว์ในกระชังต่อได้ อัตราเงินกู้นั้น กู้เงินได้รายละไม่เกิน 50,000 บาท คล้ายๆกับโครงการให้ชาวบ้านนำที่ดิน ส.ป.ก. เพื่อมาขอกู้เงินจาก ธ.ก.ส.

ที่ดิน ส.ป.ก. เดิมทีเป็นที่ดินสาธารณะป่าสงวนที่ถูกชาวบ้านบุกรุก และต่อมาทาง ส.ป.ก.ได้เข้ามาจัดสรรให้ชาวบ้านได้มีที่อยู่ทำกินกัน โดยให้ชาวบ้านมีวิทธิแค่ใช้ที่ดินทำกินเท่านั้น ไม่มีสิทธิเกินเลยไปถึงขั้นเอาที่ดินของรัฐไปขายได้

โฉนดน้ำก็เช่นกัน ระยะหลังๆมานี้ อาชีพประมงมีปลาให้จับน้อยลง จึงมีชาวบ้าน นายทุนบุกรุกพื้นน้ำสาธารณะ ป่าชายเลนตามชายฝั่งปากน้ำ เลี้ยงหอย เลี้ยงปลาในกระชังกันมากมายจนสร้างผลกระบทต่อระบบนิเวศของธรรมชาติ

โดยเงื่อไขการนำโฉนดน้ำมาขอกู้เงินจาก ธ.ก.ส. นั้นจะให้สิทธิเฉพาะเจ้าของใบอนุญาตเลี้ยงสัตว์น้ำได้ไม่เกิน 8 ประชังนะครับ ถ้าเกิดว่าเลี้ยงหอยก็มีพื้นที่ม่เกิน 72 ตารางเมตร (1 กระชังจะต้องใช้พื้นที่ 3×3 เมตร) ถ้าเป็นกระชังเลี้ยงปลา มีพื้นที่ไม่เกิน 128 ตารางเมตร (1 กระชังต้องใช้พื้นที่ 4×4 เมตร) และก็ให้กู้เงินได้รายละไม่เกิน 50,000 บาท เพื่อเอาเงินไปซื้อวัสดุอุปกรณ์มาทำกระชัง และซื้อพันธุ์หอย พันธุ์ปลา เท่านั้น จะกู้เงินไปซื้ออย่างอื่นไม่ได้ อัตราดอกเบี้ยคิดร้อยละ 2 มีกำหนดชำระคือภายใน 5 ปี ส่วนผู้ค้ำประกันนั้นจะให้สมาชิกในกลุ่มค้ำกันเอง

ตามโครงการซีฟู้ดแบงค์ จะกำหนดเป้าหมายดำเนินการให้ ธ.ก.ส. สนับสนุนเงินทุนกับพื้นที่ที่กรมประมงและกรมการปกครอง ออกใบอนุญาตให้ทำการประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามแนวชายฝั่งเรียบร้อยแล้ว จำนวน 284,000 ไร่ โดยให้แล้วเสร็จภายในปี 2551 ทั้งนี้จะเริ่มนำร่องในพื้นที่ 5 จังหวัด ประกอบด้วย นครศรีธรรมราช จำนวน 3,478 ไร่ สุราษฎร์ธานีจำนวน 64,373 ไร่ ชลบุรีจำนวน 14,642 ไร่ ตราดจำนวน 3,250 ไร่ และพังงานจำนวน 27,435 ไร่ ตามลำดับ

อย่างไรก็ตามเรื่องโฉนดน้ำ ตลาดน้ำ การแปรรูปทรัพยากรน้ำ กำลังเป็นที่ถกเถียงกันเพราะกระทบกับกฎหมายอีกหลายฉบับ อาจมีการทำประชาพิจารณ์ ด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนและองค์การพัฒนาเอกชนมองว่าปัญหาขาดแคลนทรัพยากรน้ำอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งในการแย่งชิงน้ำ และเกิดการรวมศูนย์จัดการของรัฐ และใช้เทคโนโลยีที่ผิดพลาด บทเรียนที่ผ่านมาคือการสร้างเขื่อน นั้นเอง

 

รู้หรือไม่ ถ้าโฉนดก็เป็นชื่อเรา ถ้า อนาคต เราเสียชีวิตไป คนที่เซ็นเป็นเจ้าบ้าน จะมีกรรมสิทธิทั้งที่ดินและบ้านหลังนั้นหรือไม่ หาคำตอบเพิ่มต่อได้ใน   เอกสารสิทธิ์ ความต่างระหว่าง “เจ้าบ้าน-เจ้าของบ้าน-เจ้าของกรรมสิทธิ”

หลุดดาวน์

5 สาเหตุหลักๆที่ทำให้เกิดบ้านและคอนโด หลุดดาวน์

 

 

 

สนใจข้อมูลข่าวสารเด่นๆ คอนเทนท์ร้อน ที่เรานำมาเสิร์ฟให้คุณผู้อ่านในทุกๆวันจาก Dotproperty คลิ๊ก