ลดราคา!!! ค่ารถไฟฟ้า สายสีม่วง ผู้โดยสารจะเพิ่ม 30% ได้จริงหรือ? (อ่านต่อ)

ค่ารถไฟฟ้า,บัตรรถไฟฟ้า,รถไฟฟ้าสายสีม่วง
ค่ารถไฟฟ้า,บัตรรถไฟฟ้า,รถไฟฟ้าสายสีม่วง
ค่ารถไฟฟ้า,บัตรรถไฟฟ้า,รถไฟฟ้าสายสีม่วง
ค่ารถไฟฟ้า,บัตรรถไฟฟ้า,รถไฟฟ้าสายสีม่วง
  1. การที่จะกระตุ้นให้มีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นถึง 30% นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายแม้ว่าจะมีการลด ค่ารถไฟฟ้า และค่าที่จอดรถแล้วก็ตาม เนื่องจากตลอดแนวเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีม่วงมีแหล่งทำงานขนาดใหญ่น้อย มีอาคารสูงไม่มาก การใช้ที่ดินส่วนใหญ่ประกอบด้วยแหล่งทำงานขนาดเล็กและแหล่งที่อยู่อาศัยที่ไม่หนาแน่นมาก โดยมีหมู่บ้านกระจัดกระจายซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ไกลจากสถานี ทำให้การเดินทางเข้าออกสถานีไม่สะดวก

จากการที่มีแหล่งทำงานขนาดใหญ่น้อย ทำให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วงส่วนใหญ่จะต้องเดินทางเข้าไปทำงานในตัวเมือง เช่น สาทร สีลม และสยาม เป็นต้น หากเขาเหล่านี้เลือกที่จะใช้รถไฟฟ้าเพื่อเดินทางไปทำงาน เขาจะต้องเปลี่ยนรถไฟฟ้าหลายต่อ เสียค่าโดยสารแพง ใช้เวลาการเดินทางไม่น้อย รถไฟฟ้าจึงไม่สามารถจูงใจคนเหล่านี้ได้ ดังนั้น ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วงและค่าที่จอดรถจะต้องถูกมากจึงจะจูงใจให้คนหันมาใช้รถไฟฟ้า ซึ่งรฟม.สามารถปรับลดราคาได้เพราะรฟม.ลงทุนเองทั้งหมด ต่างกับรถไฟฟ้าบีทีเอส และรถไฟฟ้าใต้ดินที่เอกชนลงทุนทั้งหมด และลงทุนบางส่วนตามลำดับ

แต่การลด ค่ารถไฟฟ้า และค่าที่จอดรถเพียงอย่างเดียวก็จะไม่สามารถทำให้ผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 30% ได้ การจะทำให้มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญนั้น รฟม.จะต้องทำการตลาดอย่างต่อเนื่อง เช่น ช่วยขนคนจากบ้านมาสู่สถานี ดังที่บีทีเอสได้เคยทำในช่วงแรกๆ ของการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส โดยจัดให้มีชัตเติลบัสวิ่งระหว่างแหล่งทำงาน/แหล่งที่อยู่อาศัยกับสถานีหลายสาย ทำให้มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง โดยสรุป ถึงเวลานี้จำเป็นที่รฟม.จะต้องบริหารงานแบบเอกชนเพื่อทำให้ธุรกิจอยู่รอด และเจริญเติบโตให้ได้

  1. ผมเห็นด้วยกับท่านประธานบอร์ดรฟม. ที่กล่าวว่า “ไม่เน้นเรื่องกำไรขาดทุน เพราะเป็นบริการสาธารณะ” แต่อย่างไรก็ตาม รฟม.จะต้องทำให้รถไฟฟ้าสายสีม่วงขาดทุนน้อยที่สุด ไม่สร้างภาระหนักให้กับรัฐบาล หากรฟม.ไม่เร่งทำการตลาดเชิงรุกแบบเอกชน แม้ว่าจะลดราคาลงแล้วก็ตาม ก็จะไม่สามารถทำให้มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นถึง 30% ได้ ผมคาดว่าน่าจะมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นประมาณ 10% เท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้การขาดทุนก็จะเพิ่มขึ้น กล่าวคือ ในปัจจุบันมีผู้โดยสารประมาณวันละ 20,000 คน รฟม.มีรายได้จากค่าโดยสารวันละประมาณ 600,000 บาท นั่นหมายความว่าผู้โดยสารเสียค่าโดยสารเฉลี่ยคนละ 30 บาท หากลดค่าโดยสารลงมาเป็น 14-29 บาท ผมคาดว่าค่าโดยสารเฉลี่ยต่อคนจะลดลงเหลือประมาณ 20 บาท ดังนั้น รฟม.จะมีรายได้ลดลงเหลือวันละประมาณ 440,000 บาท (20,000 คน X 10% X 20 บาท) ในขณะที่รฟม.ต้องจ้างบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีเอ็มให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาวันละ 3.6 ล้านบาท (สำหรับปีแรกที่เปิดให้บริการ) ดังนั้น รฟม.จะขาดทุนเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 3.16 ล้านบาท (3,600,000–440,000) จากปัจจุบันวันละ 3 ล้านบาท

ด้วยเหตุนี้ รฟม.จะต้องหาทางทำให้มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 50% จากจำนวนผู้โดยสารในปัจจุบันวันละประมาณ 20,000 คน หรือเพิ่มขึ้นเป็นวันละไม่น้อยกว่า 30,000 คนให้ได้ จึงจะทำให้ลดการขาดทุนในปีนี้ลงได้ แต่ในปีหน้าจำนวนผู้โดยสารจะต้องเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่า มิฉะนั้น รฟม.จะขาดทุนเพิ่มมากขึ้นเพราะจะต้องจ่ายค่าจ้างบีอีเอ็มเพิ่มขึ้นเป็นวันละประมาณ 5.1 ล้านบาท จากปัจจุบันวันละ 3.6 ล้านบาท

ดังนั้น การที่ท่านประธานบอร์ดรฟม.คาดหวังว่า “เชื่อว่าต้องรอระยะยาวจึงจะคุ้มทุน” นั้น หากไม่สามารถทำให้ผู้โดยสารเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญได้ จะไม่มีวันที่จะคุ้มทุน ไม่ว่าจะรอนานเพียงใดก็ตาม

ขอขอบคุณข้อมูลจาก prachachat.net

อ่านหน้า 1

 

                                                                                                                                           

Dot Property เว็บไซต์อสังหาริมทรัพย์ชั้นนำ ซื้อ-ขาย อย่างมืออาชีพ…

ท่านต้องการขายอสังหาริมทรัพย์อยู่หรือไม่ ลงประกาศขายกับ Dot Property ฟรี!!! ไม่มีค่าใช้จ่าย ลงประกาศง่าย ขายได้ไว
หรือหากท่านกำลังมองหา คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดิน เว็บไซต์ Dot Property มีให้ท่านเลือกมากกว่า 300,000 รายการ ได้ตรงตามความต้องการ ครอบคลุมทุกพื้นที่ในประเทศไทย