การตรวจรับบ้านนั้นถือเป็นขั้นตอนอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะเมื่อมีการตรวจรับบ้านและเซ็นรับบ้านเรียบร้อยแล้วก็เท่ากับว่า เรายินยอมรับสภาพบ้านหลังนั้นด้วยความเต็มใจ และหลังจากนี้หากตรวจพบปัญหาใด ๆ ทางโครงการก็อาจไม่รับแก้ไขปัญหาเหล่านั้น เนื่องจากถือว่าเจ้าของบ้านได้ยินยอมรับบ้านไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นในบทความนี้จึงจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับวิธีตรวจรับบ้านอย่างง่าย ๆ ที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง เพื่อให้มั่นใจได้ว่า บ้านที่กำลังจะเป็นของเรานั้นมีสภาพเรียบร้อยและสมบูรณ์พร้อมมากที่สุด
การตรวจรับบ้านคืออะไร ?
ก่อนที่เราจะไปเริ่มต้นรู้จักกับวิธีตรวจรับบ้านนั้น เรามาลองทำความรู้จักกันก่อนว่า การตรวจรับบ้านคืออะไรและสามารถทำช่วงไหนได้บ้าง
ในส่วนของช่วงเวลาในการตรวจรับบ้านนั้น โดยส่วนใหญ่แล้วทางโครงการจะเป็นผู้กำหนดช่วงเวลามาให้โดยมักจะเป็นช่วงที่บ้านมีการสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว และจะไม่ให้ผู้ที่ทำการซื้อบ้านเข้ามาตรวจสอบบ้านในช่วงระหว่างการก่อสร้างอีกด้วย
อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในวิธีตรวจรับบ้าน
เมื่ออ่านมาถึงหัวข้อนี้แล้ว เชื่อได้เลยว่าหลาย ๆ คนน่าจะเห็นถึงความสำคัญของวิธีตรวจบ้านก่อนโอนแล้ว ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันข้อผิดพลาดต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในระยะยาวหลังจากทำการโอนกรรมสิทธิ์เรียบร้อยแล้ว ทุกคนควรที่จะลงมีตรวจรับบ้านด้วยตัวเองอย่างละเอียด โดยสามารถเริ่มต้นจากการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ สำหรับใช้ในวิธีตรวจรับบ้านเหล่านี้
- แปลนบ้าน ถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมากที่จะทำให้เราสามารถเปรียบเทียบบ้านได้ว่า ถูกต้องตามแบบที่ได้สร้างมาหรือไม่
- กล้องถ่ายภาพหรือโทรศัพท์มือถือ เพื่อใช้บันทึกภาพไว้เป็นหลักฐานว่าเราได้ทำการตรวจสอบพื้นที่ต่าง ๆ แล้วจริง
- สมุดบันทึก ปากกาหรือดินสอ เพื่อใช้ในการจดข้อมูลต่าง ๆ
- อุปกรณ์ทำเครื่องหมาย เช่น เทปกาว โพสต์อิท เพื่อใช้ติดทำเครื่องหมายบริเวณที่พบว่ามีปัญหา
- ไฟฉาย แน่นอนว่าพื้นที่บางพื้นที่ อย่างท่อน้ำ ใต้หลังคา หรือใต้เค้าท์เตอร์ เป็นพื้นที่ที่ไม่มีแสงสว่างเพียงพอ ดังนั้นหากมีไฟฉายพกไปด้วย ก็จะทำให้เราสามารถตรวจสอบพื้นที่ต่าง ๆ ได้ง่ายมากขึ้น
- ตลับเมตร สำหรับวัดระยะพื้นที่ต่าง ๆ
- ไม้เมตร หรือไม้ตรงที่มีความยาวอย่างน้อย 1 เมตร ใช้สำหรับวัดระนาบของพื้น
- อุปกรณ์ใส่น้ำ เช่น ขวดน้ำ ถัง กะละมัง สำหรับใช้ตรวจสอบการรั่วซึมบริเวณฝ้า ขอบประตู หน้าต่าง เป็นต้น
- ลูกแก้ว ใช้ในการทดสอบความลาดเอียงของพื้น
- ไขควงวัดไฟฟ้า ใช้ตรวจสอบระบบไฟฟ้าว่ามีความผิดปกติหรือไม่
- ขนมปัง ใช้ในการทดสอบระบบชักโครกภายในห้องน้ำ โดยใช้ขนมปังแทนสิ่งปฏิกูล
วิธีตรวจรับบ้านด้วยตนเอง
หลังจากที่เราได้เตรียมอุปกรณ์กันมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คราวนี้มาลองดูวิธีตรวจรับบ้านด้วยตนเองกันบ้าง ว่าจะมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
- ค่อย ๆ ตรวจไปทีละโซน การตรวจรับบ้านนั้นถือเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้ความละเอียดมาก ดังนั้นควรค่อย ๆ เริ่มตรวจสอบไปทีละโซน โดยอาจแบ่งเป็นห้อง เพื่อให้สามารถตรวจสอบพื้นที่ต่าง ๆ ได้อย่างทั่วถึงและไม่ละเลยจุดใดจุดหนึ่งไป
- ไม่ควรละเลยที่จะตรวจสอบการรั่วซึม เพราะปัญหาการรั่วซึมนั้น ถือเป็นปัญหาใหญ่อย่างมาก ดังนั้นจึงควรตรวจสอบอย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นการขังน้ำในห้องน้ำ เพื่อดูว่ามีการรั่วซึมมายังผนังหรือฝ้าด้านล้างหรือไม่ นอกจากนี้ในส่วนของขอบประตูหรือหน้าต่าง ก็จำเป็นที่จะต้องใช้สายยางหรือทดลองสาดน้ำจากด้านนอกดูว่า น้ำรั่วซึมเข้ามายังภายในหรือไม่
- ต้องไม่ลืมที่จะตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้า แน่นอนว่าบางโครงการจะมีโปรโมชั่นแถมเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ มาพร้อมตัวบ้าน ดังนั้นไม่ควรที่จะละเลยในการตรวจสอบ เพราะหากมีปัญหาใด ๆ จะได้สามารถขอเปลี่ยนได้ทันเวลา
- ใช้เวลาในการตรวจสอบรอบ ๆ ตัวบ้านด้วย เพราะหลาย ๆ คนมักจะให้ความสำคัญกับตัวบ้านจนลืมที่จะตรวจสอบพื้นที่รอบ ๆ ตัวบ้านไป ดังนั้นควรใช้เวลาในการตรวจสอบพื้นที่รอบ ๆ บ้านด้วย ไม่ว่าจะเป็น พื้นที่ซักล้าง ระบบน้ำต่าง ๆ ท่อน้ำ กำแพง รั้วบ้าน พื้นที่เก็บของ ตลอดจนบ่อเกรอะต่าง ๆ
อ้างอิง
https://www.sansiri.com/content/view/คำแนะนำกู้บ้าน-รวมลิสต์ตรวจบ้าน-คอนโด-ฉบับด้วยตนเอง-ไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม/th
https://homeguru.homepro.co.th/check-home-by-yourself-before-receiving-the-transferring-of-a-house/
https://www.infinitydesign.in.th/8-สิ่งต้องดู-เมื่อตรวจรับคอนโดด้วยตัวเอง/81098