ทุกวันนี้จะเห็นได้ว่าตามตัวเมืองจะไม่เห็น สายไฟฟ้าแรงสูง เหมือนเมื่อก่อน เพราะได้มีนโยบายนำลงใต้ดินกันหมดแล้ว แต่หากมองดูตามต่างจังหวัด จะยังคงเห็นกันอยู่เป็นจำนวนมาก แล้วแบบนี้เราจะสามารถนำที่ดินผืนนั้นที่อยู่ใต้แนวสายไฟฟ้าแรงสูงมาใช้ประโยชน์ได้มากน้อยเพียงใด วันนี้เรามีคำตอบ
ข้อกำหนดสำหรับที่ดินที่อยู่ใต้แนว สายไฟฟ้าแรงสูง
ข้อกำหนดในการรอนสิทธิที่ดินที่อยู่ใต้แนวสายไฟฟ้าแรงสูง กำหนดไว้มีดังนี้
- ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นอันตรายแก่ระบบไฟฟ้า เช่น ห้ามนำวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรกล เช่น รถเครน รถยก รถตัก รถขุด เข้าใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงน้อยกว่า 4.00 เมตร หรือ ห้ามเผ่าไร้อ้อย นาข้าว ป่าพง หรือวัสดุอื่นใดในเขตแนวสายไฟฟ้า
- ห้ามปลูกสร้างอาคาร บ้านเรือน หรือ สิ่งปลูกสร้างอื่น ทุกชนิด ในเขตเดินสายไฟฟ้า
- ห้ามปลูกต้นไม้ หรือพืชผล ในเขตเดินสายไฟฟ้า ดังนี้
3.1 บริเวณพื้นที่ที่ตั้งเสา และพื้นที่โดยรอบโคนเสา ภายในระยะห่างจากแนวขาเสา 4 เมตร ห้ามปลูกต้นไม้ หรือพืชผล ทุกชนิด
3.2 บริเวณพื้นที่ในเขตเดินสายไฟฟ้านอกจากข้อ 3.1 ห้ามปลูกต้นไม้หรือพืชผล ซึ่งเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วมีความสูงเกินกว่า 3 เมตร
3.3 บริเวณพื้นที่ในเขตเดินสายไฟฟ้า ของสายส่งไฟฟ้า ระดับแรงดัน 500,000 โวลต์ ห้ามปลูกอ้อย
- กระทำการใดๆ เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นดิน บริเวณพื้นที่ในเขตเดินสายไฟฟ้า เช่น การปรับสภาพพื้นดินให้สูงขึ้น การขุดดิน การขุดบ่อ การก่อสร้างถนน จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรการ กฟผ.ก่อน
ระยะห้ามปลูกสร้างอาคาร โรงเรือน และ บ้านพักอาศัยในเขตเดินสายไฟฟ้า
สำหรับระยะห้ามที่ไม่ให้มีการปลูกสร้างอาคาร โรงเรือน และ บ้านพักอาศัยในเขตเดินสายไฟฟ้านั้นมีดังนี้
การสร้างขึ้นหรือทำขึ้น ซึ่งสิ่งใดก็ตามที่นอกเหนือจาก อาคาร โรงเรือน และที่พักอาศัย ไปจนถึงการกระทำใดๆที่ส่งผลให้เปลี่ยนแปลงพื้นดินบริเวณพื้นที่ในเขตเดินสายไฟฟ้า เช่น การปรับสภาพพื้นดินให้สูงขึ้น การขุดดิน การขุดบ่ การก่อสร้างถนน จะต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจาก กฟผ. ก่อน การอนุญาตให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ กฟผ. กำหนด
และถ้าหากมันจำเป็นจริงๆที่จะกระทำตามข้อห้ามข้างต้นทั้งหมดจริงๆแล้วล่ะก็ ผู้ดำเนินการเองก็จะต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจาก กฟผ. เสียก่อน และต้องปฎิบัติตามเงื่อนไขที่ กฟผ.ได้กำหนดไว้ทั้งหมดอย่างเคร่งครัดด้วย
ดังนั้น โรงเรือนหรือสิ่งอื่นใดที่สร้างขึ้น หรือทำขึ้น ต้นไม้หรือพืชผล ที่ปลูกขึ้น การปรับสภาพดิน ขุด เจาะ โดยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข หรือไม่ได้รับอนุญาต เป็นผลให้ กฟผ.มีอำนาจรื้อถอน ทำลาย หรือตัดฟันตามสมควรแก่กรณีโดยไม่ต้องจ่ายค่าทดแทนใดๆทั้งสิ้น
บทความที่มีเนื้อหาใกล้เคียง
ทำความรู้จัก การขอรังวัดที่ดินแบ่งแยกรวมหรือสอบเขตที่ดิน และ สิ่งที่ควรทราบ
รวมโฉนดที่ดิน ต้องทำยังไงบ้าง ที่นี่มีคำตอบ
ข้อมูลอ้างอิงจาก มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย