หลังจากที่เราพาคุณผู้อ่านไปทำความรู้จักกับ ความเป็นมา และขั้นตอนการดำเนินกานต่างๆของการบังคับคดีล้มละลาย กันแล้ว ในครั้งนี้เราก็จะพาคุณไปทำความเข้าใจกับ สิทธิและหน้าที่ของทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ที่มีต่อ คดีล้มละลาย เพื่อเตรียมตัวในลำดับต่อไป
คดีล้มละลาย เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์มีสิทธิและหน้าที่ดังนี้
- วางเงินประกันค่าใช้จ่ายเบื้องต้น
1.1 ชั้นพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว 8,000 บาท
1.2 ชั้นพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด 10,000 บาท
1.3 หากวางเงินประกันชั้นพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวแล้วต่อมาเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ต้องวางเงินประกันเพิ่มอีก 5,000 บาท เว้นแต่กองทรัพย์สินของลูกหนี้หรือผู้ล้มละลายมีเงินเพียงพอ
1.4 วางเงินประกันค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจำนวนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เห็นว่าจำเป็นตามควร
- ให้ถ้อยคำเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้หรือผู้ล้มละลายที่ถูกยึดหรืออายัดไว้ในคดีอื่นและคดีแพ่งอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้หรือผู้ล้มละลายที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาล (ถ้าหากมี)
- นำเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไปยึดทรัพย์สินของลูกหนี้หรือผู้ล้มละลาย(ถ้าหากมี)โดยเร็ว
- ดูแลระวังประโยชน์ของเจ้าหนี้ทั้งหลาย
- ช่วยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการรวบรวมจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้หรือผู้ล้มละลาย
- สิทธิ์และหน้าที่เช่นเดียวกับเจ้าหนี้ทั้งหลาย
เจ้าหนี้ทั้งหลาย รวมทั้งเจ้าหนี้ผู้ที่เป็นโจทย์ มีสิทธิและหน้าที่ ดังนี้
- แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินและที่อยู่ของลูกหนี้หรือผู้ล้มละลาย
- ติดตามสอดส่องทรัพย์สินของลูกหนี้หรือผู้ล้มละลาย แล้วแจ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการ
- ช่วยเหลือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการรวบรวมจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้หรือผู้ล้มละลาย
- ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายใน 2 เดือน นับแต่วันโฆษนาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด หรือภายนระยะเวลาที่กำหนด (เฉพาะคดีล้มละลายที่ยื่นฟ้องตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม เป็นต้นไป)
- ไปตรวจคำขอรับชำระหนี้ตามเวลาที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนด
- ไปประชุมเจ้าหนี้ทุกครั้งเมื่อได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
- ไปศาลในวันนัดไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยตามวันเวลาที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
- แจ้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เมื่อย้ายที่อยู่ใหม่
- รับเงินส่วนแบ่งทรัพย์สินที่รวบรวมได้ในคดีล้มละลาย
ลูกหนี้หรือผู้ล้มละลายมิสิทธิและหน้าที่ ดังนี้
- ต้องไปสาบานตัวและให้ถ้อยคำชี้แจงเกี่ยวกับกิจกาและทรัพย์สินพร้อมทำบัญชีแสดงกิจการและทรัพย์สิน (ตามแบบ ล. 13 ก-ช ) ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
- ต้องส่งมอบทรัพย์สิน บัญชี ดวงตราห้างฯหรือบริษัท และเอกสารต่างๆต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
- ขอประนอมหนี้ภายในเวลากำหนด ไม่ว่าก่อนหรือหลังล้มละลาย
- ไปประชุมเจ้าหนี้ทุกครั้ง เมื่อได้รับแจ้งกำหนดวันนัดจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
- ไปให้ศาลไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยเมื่อได้รับแจ้งวันกำหนดนัดจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
- ทำบัญชี รับ-จ่าย ทุกระยะ 6 เดือน นับแต่ถูกพิทักษ์ทรัพย์ เสนอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
- แจ้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทุกครั้งเมื่อย้ายที่อยู่ใหม่
- เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ต้องขออนุญาตต่อศาล หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
- ขอค่าเลี้ยงชีพจากเงินที่ได้มาในระหว่างถูกพิทักษ์ทรัพย์ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตามความจำเป็นและสมควรแก่ฐานะ
- อาจขอให้ปลดตนเองจากการล้มละลาย หรือยกเลิกการล้มละลาย ตามวิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายที่กำหนด
ข้อจำกัดสิทธิของลูกหนี้หรือผู้ล้มละลาย
- ห้ามกระทำการใดๆ เกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สิน เว้นแต่กระทำตามคำสั่ง หรือความเห็นชอบของศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือที่ประชุมเจ้าหนี้
- ห้ามดำเนินคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สิน
- เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรต้องได้รับอนุญาต เป็นหนังสือจากศาล หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
- รับสินเชือจากบุคคล ตั้งแต่ 100 บาทขึ้นไป ต้องแจ้งให้ทราบว่าตนถูกพิทักษ์ทรัพย์ หรือตนเป็นบุคคลล้มละลาย
การขอรับชำระหนี้
- หนี้ที่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้
1.1 มูลหนี้ต้องเกิดวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
1.2 ต้องมิใช่หนี้ที่เกิดขึ้นโดยการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือหนี้ที่ฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้
1.3 ต้องมิใช่หนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นโดยเจ้าหนี้รู้ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่ไม่รวมถึงหนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้กระทำขึ้น เพื่อให้กิจการของลูกหนี้ดำเนินต่อไปได้
- ใครมีสิทธิ์ขอรับชำระหนี้
2.1 เจ้าหนี้
2.2 ผู้รับมอบอำนาจหรือผู้แทนของเจ้าหนี้ โดยทำหนังสือมอบอำนาจตามแบบที่กำหนดไว้และปิดอากรแสตมป์กับขีดฆ่าให้ครบถ้วนถูกต้อง
- วิธีการขอรับชำระหนี้
3.1 ติดต่อขอรับแบบพิมพ์คำขอรับชำระหนี้ได้ที่ฝ่ายคำคู่ความสำนักงานเลขานุกรม (ในส่วนกลาง) หรือสำนักงานบังคับคดีจังหวัดในส่วนภูมิภาค หรือดาวน์โหลดจากเว็บไซต์กรมบังคับคดี (www.led.go.th)
3.2 กรอกข้อความรายการในคำขอชำระหนี้ให้ชัดเจนถูกต้อง และครับถ้วน ทั้งนี้ให้แนบเอกสารเกี่ยวกับหนี้ที่ยื่นขอรับชำระหนี้มาด้วย มีปัญหาประการใดสามารถสอบถามได้จากเจ้าหน้าที่
3.3 หากเป็นนิติบุคคล ต้องแนนต้นฉบับหรือหนังสือรับรองนิติบุคคล และชื่อผู้มีอำนาจ
3.4 ชำระค่าธรรมเนียมในการยื่นคำขอรับชำระหนี้ ตามจำนวนหนี้สินที่ขอรับชำระหนี้ โดยอัตราการชำระหนี้นั้น หนี้เกิน 50,000 บาทขึ้นไป ค่าธรรมเนียม 200 บาท เว้นแต่เป็นคำขอของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียม
3.5 สำเนาใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียม ควรเก็บรักษาไว้ เพื่อประโยชน์ในการติดต่อขอรับเงิน
- การยื่นคำขอรับชำระหนี้
4.1 ในส่วนกลางสามารถยื่นได้ที่ฝ่ายคำคู่ความ สำนักงานเลขานุการกรม กรมบังคับคดี
4.2 ในส่วนภูมิภาค ให้ยื่นที่สำนักงานบังคับคดีที่จังหวัดใดก็ได้
- ชั้นสอบสวนคำขอรับชำระหนี้
เมื่อเจ้าหนี้หรือผู้รับมอบอำนาจหรือผู้แทนเจ้าหนี้ได้รับมอบหมายนัดของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ให้นำพยานหลักฐานไปให้การสอบสวนประกอบคำขอรับชำระหนี้ที่ยื่นไว้ โดยปฏิบัติดังนี้
5.1 ไปพบเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ตรงตามกำหนดวันเวลา ที่ระบุในหมาย หากมีความจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ ต้องแจ้งก่อนวันและเวลานัดเพื่อขอเลื่อนการสอบสวน
5.2 เจ้าหนี้ควรจะไปให้ถ้อยคำสอบสวนเกี่ยวกับมูลหนี้ด้วยตนเอง ทั้งหนี้เพื่อประโยชน์ต่อการพิสูจน์หนี้ของตนเอง
5.3 ต้องนำพยานบุคคลตลอดจนพยานเอกสารที่สนับสนุนมูลหนี้นั้นไปให้การสอบสวน หรือส่งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
5.4 ก่อนให้ถ้อยคำสอบสวน พยานต้องสาบานหรือปฏิญาณว่าจะให้การตามสัตย์จริง เว้นแต่
5.4.1 บุคคลที่อายุต่ำกว่าสิบสี่ปี หรือย่อนความรู้สึกผิดและชอบ
5.4.2 พระภิกษุสามเณรในพุทธศาสนา
- คำขอรับชำระหนี้ที่ศาลมีคำสั่งแล้ว ผู้ที่มีส่วนได้เสีย อาจอุทธรณ์ไปยังศาลฏีกาได้
- คำขอชำระหนี้ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งแล้ว (เฉพาะคดีล้มละลายที่ยื่นฟ้องตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม 2558 เป็นต้นไป) ผู้มีส่วนได้เสีย อาจยื่นคัดค้านต่อศาลได้ภายในกำหนด 14 วัน นับแต่วันที่ทราบคำสั่ง
ลงประกาศฟรี !!! ไม่มีค่าใช้จ่ายลงประกาศเลย คลิ๊ก …
ขายคอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดิน กับ Dot Property ขายง่าย ขายไว หรือต้องการซื้อ-เช่า !!! คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินทั่วไทยมากกว่า 300,000 รายการคลิ๊กที่นี่