เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก ไม่เว้นแม้แต่ในวงการก่อสร้างและรับเหมา ซึ่งว่ากันว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่ค่อยมีการอัปเดตและเดินช้ากว่าอุตสาหกรรมอื่น แต่ในปี 2020 ก็มีนวัตกรรม ก่อสร้าง ในอนาคต ทั้งด้านเทคโนโลยีสร้างบ้าน และนวัตกรรมการจัดการออกแบบที่น่าสนใจหลายด้านเข้ามา โดย Economic Intelligence Unit (EIC) ได้ชี้ว่าผู้รับเหมาไทยได้เผชิญอุปสรรคด้านการขาดแคลนแรงงานถึงราว 5 หมื่นคนถึง 2 แสนคนต่อปี ตั้งแต่ปี 2018- 2020 ซึ่งเทคโนโลยีการก่อสร้าง คือเครื่องมือสำคัญที่จะเข้ามารับมือกับปัญหาเหล่านี้
พลิกโฉมวงการด้วย 3 นวัตกรรม ก่อสร้าง ในอนาคต
บทวิเคราะห์จาก Economic Intelligence Unit (EIC) ศูนย์วิจัยธนาคารไทยพาณิชย์ ชี้ว่านอกจากผู้รับเหมาไทยจะต้องเผชิญกับปัญหาภาวะขาดแคลนแรงงานแล้ว ยังต้องพบกับต้นทุนค่าแรงที่สูงขึ้น จากการปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับขึ้นราว 5% ซึ่งเป็นความท้าทายสำคัญที่คาดว่าจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น โดยสะท้อนมาจากประสิทธิภาพของวงการอุตสาหกรรมก่อสร้าง ทั้งในด้านประสิทธิภาพการผลิต (productivity) และการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ที่ยังคงเดินตามหลังอุตสาหกรรมอื่นอยู่
โดยนวัตกรรม ก่อสร้าง ในอนาคต ที่ Economic Intelligence Unit (EIC) คาดว่าจะเข้ามาเป็นเครื่องมือสำคัญ ที่ช่วยให้อุตสาหกรรมก่อสร้างไทยรับมือกับความท้าทายของโลกยุคใหม่ได้ ได้แก่ Building Information Modeling หรือ BIM, Prefabs และ Construction Robotics
Building Information Modeling หรือ BIM
BIM เป็นนวัตกรรม ก่อสร้าง ในอนาคต ที่เป็นที่รู้จักในประเทศไทยในช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้ว แต่ยังไม่ได้ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลาย โดย BIM เป็นเทคโนโลยี สร้างบ้าน ต้นทุนต่ำ มีความคุ้มค่า โดยเป็นเทคโนโลยีสร้างแบบจำลองข้อมูลอาคารในรูปแบบ 3 มิติ ที่สามารถถอด BOQ (Bill of Quantities) ได้อย่างแม่นยำ ที่สำคัญคือยังสามารถช่วยบูรณาการทำงานในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเริ่มต้นออกแบบอาคารไปจนถึงการดำเนินการก่อสร้าง สามารถลดปัญหาของอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ที่มักเจอปัญหาการทำงานซ้ำซ้อน ขึ้นงานไม่ตรงแบบ ซึ่งจะช่วยให้ลดความขัดแย้งของงานในแต่ละส่วนได้ ลดระยะเวลาในขั้นตอนของการออกแบบได้ถึง 30% และยังลดปริมาณแรงงานในการก่อสร้างได้ถึงประมาณ 25% อีกด้วย
อุปสรรคของการนำ BIM เข้ามาใช้ในประเทศไทย คือการขาดบุคลากรที่มีความรู้ในการใช้เครื่องมือ และต้นทุนค่าซอฟท์แวร์ โดยมีค่าใช้จ่ายประมาณ 250,000 บาทต่อซอฟท์แวร์ และประมาณ 3 หมื่นบาทต่อหลักสูตรของการอบรมบุคลากร ทำให้การใช้ BIM ยังคงจำกัดใช้อยู่ในผู้ประกอบการรายใหญ่เท่านั้น
Prefabs หรือ ชิ้นส่วนอาคารสำเร็จ
หลายคนอาจเริ่มคุ้นเคยกับการก่อสร้างที่ใช้ชิ้นส่วนอาคารสำเร็จรูปดี โดย Prefabs เป็นนวัตกรรมก่อสร้าง ในอนาคต ที่เริ่มเข้ามาเป็นปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น ชิ้นส่วนอาคารสำเร็จรูป ผนังสำเร็จรูป เสาสำเร็จรูป เป็นต้น โดยชิ้นส่วนเหล่านี้จะผลิตในโรงงาน และจะนำมาประกอบในไซต์ก่อสร้าง ทำให้สามารถลดต้นทุนค่าแรงงานได้ถึง 5-20% อีกทั้งยังสามารถลดระยะเวลาการก่อสร้างไปได้ราว 20% ทำให้ต้นทุนการก่อสร้างโดยรวมสามารถลดลงได้มากกว่า 10% เลยทีเดียว
สำหรับชิ้นส่วนอาคารสำเร็จ หรือ Prefabs เริ่มเป็นที่แพร่หลาย ทำให้สามารถจัดหาได้ง่ายมากขึ้น โดยสามารถหาได้จาก 2 ช่อทาง คือ การสั่งซื้อจากผู้ประกอบการรายอื่น และ การลงทุนสร้างโรงงานผลิตเอง โดยจากการวิเคราะห์ของ Economic Intelligence Unit (EIC) พบว่า หากผู้ประกอบการตัดสินใจก่อสร้างโรงงานผลิตชิ้นส่วนสำเร็จเอง จะมี ROI สูงถึง 16% เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตอยู่ที่ประมาณ 700-780 บาทต่อตารางเมตร แต่ในขณะเดียวกันต้นทุนการผลิตจากผู้ประกอบการรายอื่นอยู่ที่ประมาณ 800-900 บาทต่อตารางเมตร
Construction Robots หรือ หุ่นยนต์ก่อสร้าง
อนาคตที่จะเห็นหุ่นยนต์ทำงานแทนมนุษย์นั้นไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไปแล้ว โดย Construction Robots เป็นนวัตกรรม ก่อสร้าง ในอนาคต ที่คาดว่าจะถูกนำมาใช้ในไทยมากขึ้นภายใน 5-10 ปี โดยหุ่นยนต์ที่น่าจับตามองสำหรับการก่อสร้างคือ หุ่นยนต์ผูกลวดเหล็กที่ใช้สำหรับงานฐานราก และหุ่นยนต์เรียงอิฐ เนื่องจากจะช่วยย่นระยะเวลาในก่อสร้างได้เร็วขึ้นถึง 10 เท่า และ 5 เท่าตามลำดับ ทำให้ต้นทุนด้านแรงงานลดลงได้ถึง 50% และ 30% ตามลำดับ
นอกจากนวัตกรรม ก่อสร้าง ในอนาคต ทั้ง 3 รูปแบบที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีเทคโนโลยี ก่อสร้างใหม่ๆ ที่น่าจับตามอง ไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยี VR (Virtual Reality) AR (Augmented Reality) MR (Mixed Reality), เทคโนโลยีการพิมพ์แบบ 3 มิติ (3D Printing) และการประยุกต์ใช้ IoT (Internet of Things) ซึ่งจะเป็นนวัตกรรมที่เข้ามาผลักดันให้อุตสาหกรรมก่อสร้าง ไม่เป็นอุตสาหกรรมที่ล้าหลังอุตสาหกรรมอื่นอีกต่อไป
ที่มา
https://www.scbeic.com/th/detail/product/4740