หลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงาน หนี้ครัวเรือน ไตรมาส 2 ของปี 2561 ตอนนี้ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยเมื่อดูจากยอดคงค้างสินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคลของธนาคารพาณิชย์ ที่ขยายตัว 8% ด้านความสามารถในการชำระหนี้เมื่อดูสัดส่วนหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวมลดลงจาก 2.78% ในไตรมาสแรกปี 2561 เป็น 2.72% ภาพรวมลดลงในสินเชื่อเกือบทุกประเภท แต่สินเชื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
หนี้ครัวเรือน ปี 61 คนไทยเป็นหนี้เฉลี่ย 178,994 บาท ต่อครัว
หลังจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้รายงานตัวเลขเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนไตรมาส 1 ปี 2561 พบว่า ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนขยับสูงขึ้นมาอยู่ที่ 12.17 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.2% จากปีก่อน ในด้าน สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพี ชะลอลงมาอยู่ที่ 77.6% จาก 78.0% ในไตรมาส 4 ของปีก่อนทำให้ทางศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกมาคาดการณ์ว่าสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพี จะชะลออยู่ที่ 76.5-77.5% ต่อจีดีพี แต่สัดส่วนหนี้เอ็นพีแอลของรายย่อยจะขยับสูงขึ้น และ ต้นทุนดอกเบี้ยอาจมีแนวโน้มทยอยเพิ่มขึ้น
จากการคาดการณ์นี้จะสะท้อนว่า ประชากรไทยส่วนใหญ่มีแนวโน้มยังคงติดกับดักหนี้ เกือบทุกระดับชนชั้นตั้งแต่ หนี้เพื่อการศึกษา หนี้ที่อยู่อาศัย และหนี้เพื่อกรอุปโภคและบริโภค ไปอีกสักระยะ ด้านเปอร์เซ็นต์หนี้สินครัวเรือนปี 61 โดยจากการสรุปของทาง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยเฉลี่ยครัวเรือนจะมีหนี้สินเฉลี่ยอยู่ที่ 178,994 บาทต่อครัวเรือน โดยจะแยกเป็น 2 หัวข้อใหญ่ๆคือ
- หนี้เพื่อใช้ในครอบครัว 76.9 % แยกเป็น หนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคต่างๆ 39.0% หนี้เพื่อที่อยุ่อาศัย 36.3% และหนี้เพื่อการศึกษาอีก 1.6 %
2.หนี้เพื่อการลงทุน 23.1% โดยจะแยกเป็น คน2กลุ่มคือ หนื้ในภาคการเกษตรกรรม 14.0% สำหรับกลุ่มเกษตร กับ หนี้สำหรับการลงทุนในธุรกิจ 8.5 % สำหรับคนทั่วไปและพนักงานบริษัท และ หนี้อื่นๆอีก 0.6%
แนวทางการแก้ปัญหาหนี้สินครัวเรือนจากธปท.
จากปัญหาดังกล่าว ธปท.จึงมีนโยบายที่จะนำมาตรการเชิงป้องกันกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ (GenY) นั้นคือ โครงการ Fin.ดี We Can Do โครงการที่จะให้ความรู้ควบคู่การลงมือปฏิบัติในทางการเงินของครูและนักศึกษาในสถาบันอาชีวศึกษาถึง 17 แห่งจากทุกภูมิภาค นอกจากให้ความรู้แล้วยังมีการจัดประกวดโดยมีรายละเอียดดังนี้
1.นวัตกรรมการสอนซึ่งมุ่งให้ครูจัดทำเครื่องมือการสอนที่บูรณาการกับช่องทางการเรียนในวิชาเรียนและกิจกรรมต่างๆ
2.โครงงานสำหรับนักศึกษาโดยนำความรู้ทางการเงินที่ครอบคลุมความรู้ทางการเงินส่วนบุคคลผู้ประกอบการ ผนวก กับหลักปรัญชาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวคิดและจัดทำผลงาน
โดยคนที่ชนะจะได้เป็นต้นแบบแรงบันดาลใจขยายผลในการนำความรู้เชิงวิชาชีพมาประยุกต์ร่วมกับความรู้ทางการเงินและลงมือปฏิบัติจริง เพื่อส่งต่อพลังความสำเร็จในการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต