DotProperty.co.th

สามีเก่าติดหนี้บัตรเครดิต ธนาคารสามารถมายึดบ้านได้หรือไม่  โดยบ้านชื่อเป็นของภรรยา ไปหาคำตอบกัน

วันนี้เรามีเรื่องราว เกี่ยวกับเรื่องที่สามีภรรยาที่หย่ากันไปแล้ว แต่ปรากฎว่าอยู่ดีๆก็มี จดหมายทวงหนี้จากบริษัทตามหนี้ของธนาคารส่งมาว่า จะยึดทรัพย์หากไม่ชำระหนี้ โดยที่ หนี้บัตรเครดิต ครั้งนี้เป็นของอดีตสามีที่ได้ไปทำเอาไว้ คนที่รับเคราะห์เลยตกเป็นของอดีตภรรยา โดยที่บ้านและที่ดินหลังนี้เป็นชื่อของ คุณภรรยาแต่เพียงผู้เดียว แล้วธนาคารมีสิทธิ์ยึดได้จริงหรือไม่เดียวเราไปหาคำตอบกันเลยคะ

สามีเก่าติด หนี้บัตรเครดิต ธนาคารขู่ยึดบ้านได้หรือไม่

อันดับแรกเราต้องดูก่อนคะว่าบ้านหลังนี้เป็น ถ้าบ้านหลังนี้ ซื้อมาต่อที่แต่งงานแล้วโดยที่ยังไม่หย่ากัน ก็แสดงว่าบ้านหลังนี้เป็นสินทรัพย์ร่วมกัน ดังนั้นทำให้บ้านอาจจะสามารถที่จะถูกยึดได้เพราะอดีตสามารถมีส่วนในสินทรัพย์นี้ครึ่งหนึ่ง ถึงแม้ว่าชื่อจะเป็นชื่อภรรยาก็ตามแต่ถ้าบ้านและที่ดินหลังนี้เป็นชื่อของคุณภรรยาตั้งแต่ก่อนแต่งานธนาคารหรือเจ้าหนี้ก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะทำการยึดบ้านหลังนี้ได้คะ

 

ทางแก้ปัญหาสำหรับในกรณีที่บ้านและที่ดินเป็น สินทรัพย์ร่วมกัน

อันดับแรกติดต่อเจ้าหนี้ว่าหนี้ที่อดีตสามีสร้างไว้ว่าเท่าไรแล้วเราสามารถที่จะประนอมหนี้ครั้งนี้ได้หรือไม่ถ้าดูแล้วเจ้าหนี้เรียกเก็บเงินบวกดอกเบี้ยแพงจนเกินไป

เราก็รอให้เจ้าหนี้ไปฟ้องศาลเมื่อได้หมายศาลมาแล้วนั้นก็เราไปศาลต้องทำความเข้าใจก่อนคะว่า หนี้บัตรเครดิตหรือสินเชื่อส่วนบุคคลนั้นโดยปกติจะมีอายุความ 2 ปีนับจากวันที่ชำระครั้งสุดท้าย

ดังนั้นทางเจ้าหนี้จึงจะต้องรีบฟ้องศาลให้ได้ภายใน2ปีเท่านั้น เพราะถ้าหากเลยจาก2ปีไปแล้ว ลูกหนี้สามารถหัวหมอฟ้องต่อศาลได้ว่า”คดีขาดอายุความ”

เท่ากับลูกหนี้ไม่ต้องชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ ดังนั้นไม่แปลกที่ถ้ายังไม่ขาดอายุความเจ้าหนี้ส่วนใหญ่จะรีบทำการฟ้องศาล โดยเมื่อฟ้องศาลแล้ว ศาลก็จะมีหนังสือประทับคำฟ้องมาส่งให้ถึงป้านถึงมือลูกหนี้

และจะมีวันนัดมาศาล และในวันมาศาล อันดับแรกเริ่มเลยจะได้พบกับทนายของฝ่ายเจ้าหนี้ จะทำการไกล่เกลี่ยประนีประนอม อาจจะตกลงกันได้

โดยปราศจากดอกเบี้ย โดยที่เราไม่ควรให้ไปถึงกรณีที่ศาลต้องขึ้นบัลลังค์ศาล เพราะถ้าถึงตอนนั้นอย่างไรเราก็สู้เจ้าหนี้ไม่ได้ เมื่ออดีตสามีเราสร้างหนี้เราก็ต้องชดใช้แทนถ้าสามีไม่รับผิดชอบ เราที่เป็นอดีตภรรยาอาจจะต้องรับผิดชอบแทน

โดยที่เราก็แจ้งความจํานงบอกเหตุและผลต่างๆว่าหนี้นี้มาได้อย่างไร จากนั้นก็ขอศาลให้ทำการประนอมหนี้เพื่อที่เราจะสามรถ ผ่อนจ่ายไป ไรบ้าง

ดีกว่าบ้านโดยยึด เพราะศาลจะดูเหตุและผล และหนี้ที่อดีตสามีเราได้สร้างไว้ โดยที่เราอาจจะเสียเงินจ่ายหนี้ในจำนวนที่เป็นธรรมมากยิ่งขึ้นหรือบ้างกรณีอาจจะ

ไม่จำเป็นต้องจ่ายดอกเบี้ยเลยด้วยซ้ำ เพราะหนี้ในครั้งนี้เป็นของอดีตสามีทำไว้ ศาลอาจจะเห็นใจในระดับหนึ่งคะ อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับ ดุลพินิจของศาลคะ

ดังนั้นพยายามติดต่อเพื่อของประนอมหนี้จะดีที่สุดคะ   ทุกปัญหามีทางออกคะค่อยๆคิดนะคะ

 

สนใจข้อมูลข่าวสารเด่นๆ คอนเทนท์ร้อน ที่เราหามาเสริฟให้คุณผู้อ่านในทุกๆวันจาก Dotproperty คลิ๊ก …