ซี.พี.สู้ครั้งสุดท้าย ดัน 12 ข้อเสนอโครงการรถไฟความเร็วสูงเร่งปิดดีลลงนาม

เครือเจริญ

ลือหึ่ง เครือเจริญ ดัน 12 ข้อเสนอคัดทิ้งเข้าบอร์ดอีอีซี ประธานบอร์คัดเลือกเผยไม่มีหารืออีก คุยนัดสุดท้าย 23 เม.ย.นี้ ส่งร่างสัญญาให้อัยการตรวจ เร่งปิดดีลลงนาม พ.ค.นี้ นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือก โครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. เงินลงทุน 224,544 ล้านบาท กล่าวว่า ได้นัดหมายคณะกรรมการคัดเลือกหารือเป็นการภายใน โดยไม่ได้เชิญกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์ จำกัดและพันธมิตร แต่จะประชุมสรุปร่วมกันนัดสุดท้ายวันที่ 23 เม.ย.นี้

เครือเจริญ ดัน 12 ข้อเสนอโครงการรถไฟความเร็วสูง เร่งปิดดีลลงนาม พ.ค.นี้

เครือเจริญ“ประเด็นพูดคุยต่างๆ ถือว่าในฝั่งเราสรุปจบแล้ว ถ้าฝั่งซี.พี.เสนออะไรมาอีก ฝ่ายกฎหมายของคณะกรรมการคัดเลือกสามารถโต้แย้งกลับไปได้เสมอ คาดว่าหลังประชุมวันที่ 23 เม.ย.นี้ จะส่งร่างสัญญาให้อัยการสูงสุดพิจารณาวันที่ 26 เม.ย.นี้ น่าจะเสนอให้คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือบอร์ด อีอีซี ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน รับทราบผลการคัดเลือกได้ภายในสัปดาห์เดียวกัน โดยวางกำหนดลงนามในสัญญาช่วงเดือน พ.ค.นี้” นายวรวุฒิระบุและว่า  ด้าน เครือเจริญโภคภัณฑ์หรือกลุ่มซี.พี.จะนำข้อเสนอที่ถูกคณะกรรมการคัดเลือกปัดทิ้งทั้ง 12 ข้อ เสนอบอร์ดอีอีซีนั้น นายวรวุฒิ ชี้แจงว่า เบื้องต้นในที่ประชุมแจ้งว่า กลุ่มซี.พี.ยังไม่มีการเสนอประเด็นดังกล่าวเข้ามา ทั้งนี้ ในการนำเสนอผลการคัดเลือกต่อบอร์ดอีอีซี คณะกรรมการคัดเลือกจะแนบประเด็นไปด้วยว่า คณะกรรมการไม่รับข้อเสนอทั้ง 12 ข้อ แต่ถ้าซี.พีจะเสนอถึงบอร์ดอีอีซีเองโดยตรง ก็ถือว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคณะกรรมการคัดเลือก

 

ขณะที่แหล่งข่าวในคณะกรรมการคัดเลือก เปิดเผยว่า มีกรรมการบางคนได้รับจดหมายแจ้งจากกลุ่มซี.พี.ว่า ทางกลุ่มจะขอยื่นข้อเสนอทางการเงิน 12 ข้อที่ถูกคณะกรรมการคัดเลือกไม่รับไว้ ไปเสนอบอร์ดอีอีซีเอง ทำให้ตอนนี้ความเห็นของคณะกรรมการคัดเลือกแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือฝ่ายหนึ่งเห็นควรให้ซี.พี.แนบข้อเสนอดังกล่าว ส่งให้บอร์ดอีอีซีเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบ ขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งคัดค้าน  สำหรับข้อเสนอ 12 ข้อ ที่คณะกรรมการคัดเลือกพิจารณาไม่รับมาพิจารณาไปก่อนหน้านี้ ประกอบด้วยการขอขยายเวลาก่อสร้างอีก 180 วัน จากเดิมกำหนดต้องเสร็จ 5 ปี, ให้รัฐรับประกันผลตอบแทนโครงการหากไม่ถึง 6.75%, ให้เจรจาบริษัทเป็นรายแรก เมื่อมีการขยายอายุสัมปทานหลังครบ 50 ปี อีก 49 ปี รวมเป็น 99 ปี, ให้รัฐจ่ายเงินอุดหนุนตั้งแต่ปีแรก, เลื่อนจ่ายค่าเช่าที่ดินมักกะสันและศรีราชาจนกว่าจะมีผลตอบแทนหรือได้รับส่งมอบพื้นที่ครบ, ขอจ่ายค่าสิทธิเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์ปีที่ 6 เป็นต้นไป, ห้ามรัฐอนุมัติโครงการที่เป็นปฏิปักษ์ต่อโครงการเพราะทำให้เกิดการแข่งขัน, ปรับรูปแบบเป็นทางระดับดิน, การสร้างส่วนต่อขยายไประยอง, ย้ายจุดที่ตั้งสถานี, สร้างสเปอร์ไลน์เชื่อมการเดินทาง

 

ที่มา prachachat.net