แผนยุทธศาสตร์ภายใต้ ไทยแลนด์ 4.0 ยังคงเดินหาต่อไปหลังจากบิ๊กตู่ ได้เป็นนายกฯ ต่อ ทำให้ทางรัฐพร้อมพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรือ อีอีซี ที่มีแผนจะทำให้ โครงการแห่งนี้สามารถเชื่อมต่อการส่งออกระหว่างประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมของประเทศ และเสริมสร้างศักยภาพในเชิงการแข่งขัน และทำให้ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนและยาวนาน
โดยโครงการนี้จะยกระดับให้ จังหวัด ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ทั้ง3 จังหวัด ก้าวขึ้นมาเป็นแนวหน้าของประเทศที่มีความพร้อมทั้งในเรื่องโครงข่ายคมนาคม อุตสาหกรรม ท่าเรือ การท่องเที่ยว โดยในช่วงเวลาที่ผ่านมา 4 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ ปี2558-2561 มีการพัฒนาโครงการลงทุนในอีอีซี มีสัดส่วนถึง 54% ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมดในขณะที่ครึ่งแรกของปี 61 มีการขอรับส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เพิ่มขึ้น 122% มูลค่าเงินลงทุนกว่า 1.8 แสนล้านบาท
เจาะแผนพัฒนาโครงการสำคัญๆในโครงการ อีอีซี
เริ่มจากแผนภาพรวมเพื่อการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษ ภาคนั้น ได้ทาง ซีพี ที่มีโอกาสคว้า ‘ไฮสปีดเทรน’ มาที่สุดตอนนี้รอครม.อนุมัติ โดยได้วางแผนงานโครงการสำคัญไว้ได้แก่
- โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ล่าสุด กลุ่มซีพีและพันธมิตร ได้สัมปทานโครงการไฮสปีดเทรน)
- โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมือง การบินภาคตะวันออก (airport city)
- โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา
- โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะที่ 3
- โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 1 ในส่วนของเขตส่งเสริมเพื่อกิจการพิเศษ สำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย 21 เขต ที่มีกำหนดพื้นที่ไว้ 86,755 ไร่
เจาะที่ดิน อีอีซี ทั้ง 8.33ล้านไร่
ด้านแผนการพัฒนาเจาะที่ดินอีอีซี ทั้ง 8.33ล้านไร่ มีแผนการกำหนดทิศทางให้ใช้โยชน์ที่ดินมากที่สุดให้สอดคล้องกับภาพรวมเพื่อการพัฒนา EEC ประกอบด้วย
1.พื้นที่ทั้ง 86,755 ไร่จะกำหนดให้เป็นพื้นที่สำหรับเขตส่งเสริมกิจการพิเศษ โดยแบ่งเป็น
-ที่ดิน 18,484 ไร่ แยกออกเป็น 4 เขตได้แก่ 1. เขตส่งเสริมนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก EECi 2. เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล EECd 3. เขตส่งเสริมเมืองการบินภาคตะวันออก EECa และ 4. เขต ส่งเสริมรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน EECh
-ที่ดิน 2,098 ไร่ แยกออกเป็น 4 เขตได้แก่ 1.เขตส่งเสริมโตโยต้าเกตเวย์ 2.เขตส่งเสริม 3.โตโยต้าบ้านโพธิ์ เขตส่งเสริมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
-ที่ดิน 322 ไร่ แยกออกเป็น 1 เขต คือ เขตส่งเสริมนวัตกรรมการแพทย์ EECmd
2.พื้นที่ทั้ง 18,484 ไร่ มีแผนสำหรับพัฒนาเป็นเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษสำหรับกิจการพิเศษประมาณการการใช้งานพื้นที่ในระยะแรก
3.พื้นที่ทั้ง 13,870 ไร่ เตรียมรอทำเป็นโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่
4.พื้นที่ทั้ง 15,500 ไร่ มีแผนสำหรับพัฒนาเป็น พื้นที่พัฒนาเมืองใหม่และพื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจแบ่งเป็น module 1 ของเมืองใหม่ 12,500 ไร่ พื้นที่ศูนย์กลางการเงิน 500 ไร่ และพื้นที่มหานคร การบินภาคตะวันออก 2,500 ไร่
5.พื้นที่ทั้ง 1,500 ไร่มีแผนสำหรับพัฒนาเป็นพื้นที่พัฒนารองรับศูนย์กลางโลจิสติกส์
นอกจากนี้ แหล่ง ท่องเที่ยวสำคัญใช้พื้นที่แหล่งท่องเที่ยวปัจจุบัน, พื้นที่อื่นๆ ตาม หลักวิชาการผังเมือง 8,202,814.81 ไร่ ซึ่งรวมตัวเลขประมาณการใช้ที่ดินทั้งหมด 8,338,923.81 ไร่
ที่ดินไหนบ้างคาดราคาพุ่ง
สำหรับการลงทุนพื้นที่อีอีซี นั้น อยากที่เราทราบกันว่ามีพื้นที่อุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่แล้วก็ยังมีพื้นที่ดินสำหรับ พัฒนาไปในด้านท่องเที่ยวทำธุรกิจเกี่ยวกับเกษตร หรือว่าจะเป็นด้านภาคอสังหาริมทรัพย์ คอนโดหรือบ้านพักอาศัย รวมไปจนถึง โครงการอากาศยานเชื่อมสนามบิน มีรถไฟความเร็วสูง โดยทั้งหมดที่กล่าวมานี้
ทำให้พื้นที่ดินทั้ง 3 จังหวัดมีโอกาสที่จะพุ่งสูง โดยเฉพาะพื้นที่ สถานีบริเวณพื้นที่ศรีราชา 25 ไร่ (อยู่ใจกลางเมืองแถบย่านทางรถไฟบริเวณโรงเรียนอัชสัมชัญศรีราชา) ที่เวลานี้มีแผนจะให้เอกชนพัฒนาเชิงพาณิชย์มูลค่า 10,000 ล้านบาท ดังนั้นในเวลานี้คาดการได้ล่วงหน้าเลยว่าหากโครงการที่ดิน อีอีซี เสร็จราคาที่ดินทั้ง 3 จังหวัดอาจจะสูงจนคนธรรมดาซื้อไม่แล้วอย่างแน่นอน
บ้านมือสอง ราคาโดนกลับมาอีกครั้งในงาน Half Year Sale ครึ่งปีครึ่งราคา BY ธอส. ราคาต่ำสุดที่