เจ้าสัวเจริญทุ่มทุน 1.2 แสนล้าน ตั้งเป้า วันแบงค็อก ต้องเป็นเบอร์ 1แลนด์มาร์คแห่งใหม่ของโลก

เจ้าสัวเจริญ

ทีมงาน เจ้าสัวเจริญ  โชว์เมกะโปรเจกต์ โครงการวัน แบงค็อก ว่าที่ แลนด์มาร์คแห่งใหม่ของโลกกับงบลงทุน  มูลค่าลงทุนกว่า 120,000 ล้านบาท คาดเปิดให้บริการเฟสแรกในปี 66

เจ้าสัวเจริญทุ่มทุน 1.2 แสนล้านตั้งเป้า วันแบงค็อก ต้องเบอร์ 1

นายปณต สิริวัฒนภัคดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด  (บริษัทในเครือเจ้าสัวเจริญ)  ได้เผยถึงแผนงานหลักของโครงการ วัน แบงค็อก ซึ่งโครงการอสังหาริมทรัพย์รูปแบบมิกซ์ยูสที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และตั้งเป้าเป็นเบอร์ 1 ในแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของโลก ด้วยมาตรฐานใหม่ ทั้งด้านการออกแบบ คุณภาพ ความยั่นยืนด้านสิ่งแวดล้อม และการใช้ชีวิตในสมาร์ต ซิตี้ เชื่อมั่นว่า วัน แบงค็อก จะชูให้ประเทศไทยโดดเด่นในเวทีโลก และเติบโตในฐานะศูนย์กลางของประเทศอาเซียน พร้อมทั้งตั้งเป้าหมายเป็นโครงการแรกในไทยที่ได้รับการรองรับมาตรฐานอาคารระดับสากลอย่าง LEED –ND Platinum  ทั้งนี้ผังรวมโครงการ ประกอบไปด้วย อาคารสำนักงานเกรดเอระดับพรีเมียม 5 อาคาร ที่พักอาศัย (คอนโดมิเนียม) ระดับลักชัวรี่ 3 อาคาร พื้นที่ร้านค้าปลีก 4 จุดเชื่อมกัน โรงแรมหรู 5 อาคาร และพื้นที่ศูนย์กลางสำหรับกิจกรรมทางศิลปะ และวัฒนธรรม

กว่า 104 ไร่ กับทุน 120,000 ล้านบาท

สำหรับโครงการวัน แบงค็อก ถูกพัฒนาขึ้นครอบคลุมกว่า 104 ไร่ มีมูลค่าลงทุนกว่า 120,000 ล้านบาท โดยคิดรวมกับผลกระทบต้นทุนก่อสร้างที่เปลี่ยนแปลง และค่าแรงงานในอนาคตไว้แล้ว เบื้องต้นจะเปิดให้บริการโครงการเฟสแรกได้ในปี 2566 และจะก่อสร้างแล้วเสร็จ 100% ได้ในปี 2569

ขณะที่นางสาวซู หลิน ซูน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร วัน แบงค็อก เปิดเผยว่า แผนงานหลักของโครงการ วัน แบงค็อก ประกอบด้วย 4 อาณาบริเวณที่เชื่อมต่อถึงกัน โดยมีใจกลางของโครงการอยู่ที่ Civic Plaza พื้นที่สันทนาการขนาด 10,000 ตารางเมตร (ตร.ม.)  ตัวโครงการเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สายสีน้ำเงิน สถานีลุมพินี ทางเข้าออกรอบโครงการ 6 จุด จากฝั่งถนนวิทยุ ถนนพระราม 4 และทางเชื่อมโดยตรงกับทางด่วนซึ่งอยู่ระหว่างขั้นตอนการอนุมัติ เป็นต้น

ทั้งนี้ วัน แบงค็อก มุ่งเป็นที่ตั้งบริษัทในกรุงเทพฯ และเป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจแห่งใหม่ ด้วยพื้นที่เช่าสุทธิของอาคารสำนักงานทั้ง 5 อาคาร รวมกว่า 500,000 ตารางเมตร  มีกำหนดก่อสร้างเป็นเฟสให้แล้วเสร็จในระหว่างปี 2566-2569 สามารถรองรับบุคลากรขององค์กร ทั้งในประเทศ และระดับนานาชาติ ได้กว่า 500 บริษัท หรือราว 50,000 คน  นอกจากนี้ยังเปิดพื้นที่ให้แบรนด์ต่าง ๆ  ด้วยพื้นที่รีเทล 4 โซน ที่มีความแตกต่างกัน ด้วยร้านค้า และร้านอาหารกว่า 450 ร้าน บนพื้นที่ 180,000 ตารางเมตร

โรงแรมหรูระดับซูเปอร์ลักชัวรี่ 5 แห่ง คภายในวัน แบงค็อก

ส่วนโรงแรม 5 แห่ง ภายในวัน แบงค็อก ทั้งหมดจะเป็นแบรนด์ใหม่สำหรับกรุงเทพฯ เป็นทางเลือกที่โดดเด่นสำหรับนักท่องเที่ยว ครอบคลุมตั้งแต่ระดับบูทีคโฮเทล โรงแรมเพื่อธุรกิจ ไปจนถึงระดับซูเปอร์ลักชัวรี่  รวมกว่า 1,100 ห้อง โดยโรงแรมลักชัวรี่แห่งแรกคือ The Ritz-Carlton, Bangkok ที่จะพร้อมเปิดให้บริการในปี 2566 ด้านที่พักอาศัยระดับลักชัวรี่ทั้งหมด 3 อาคาร ซึ่งที่พักอาศัยโครงการแรกจะตั้งอยู่เหนือโรงแรม The Ritz-Carlton, Bangkok  ประกอบด้วยห้องที่ตกแต่งอย่างหรูหราขนาด 2-4 ห้องนอน จำนวน 110 ห้อง พื้นที่เริ่มต้น 130 ตารางเมตร พร้อมเปิดตัวช่วงต้นปี 2563

“สิ่งที่ถือเป็นความสำเร็จของ วัน แบงค็อก คือ Signature Tower ที่สูงกว่า 430 เมตร เป็นหนึ่งในสิบตึก ที่สูงที่สุดของอาเซียน ภายในประกอบด้วยพื้นที่สำนักงาน และโรงแรมหรูระดับซูเปอร์ลักชัวรี่  อีกทั้ง วัน แบงค็อก มีพื้นที่สีเขียวถึง 50 ไร่ จากพื้นที่รวม รวมถึง Civic Plaza ที่มีพื้นที่กว่า 10,000 ตารางเมตร”นางสาวซู หลิน ซูน กล่าว

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวหุ้น

เจ้าสัวเจริญเจ้าสัวเจริญ จัดหนักยกทัพธุรกิจอสังหาฯครั้งใหญ่ พร้อมขายหุ้นบริษัทให้ประชาชนได้เป็นเจ้าของ

 

เจ้าสัวเจริญ

พาส่องที่ดินทั่ว กทม.ของ เจ้าสัวเจริญ พร้อมแผนการพัฒนาและซื้อที่ดินเพิ่มในอนาคต

 

 

สนใจข้อมูลข่าวสารเด่นๆ คอนเทนท์ร้อน ที่เรานำมาเสิร์ฟให้คุณผู้อ่านในทุกๆวันจาก Dotproperty คลิ๊ก