สวัสดีครับ ใครที่กำลังจะต่อเติมบ้าน เราอยากให้ได้อ่านบทความดีๆบทความหนึ่ง เกี่ยวกับเรื่องที่ควรรู้ก่อนการต่อเติมบ้าน เชื่อว่าในที่นี้หลายคนคงยังไม่รู้ในหลายๆเรื่อง เพื่อให้ได้คุณภาพใน การต่อเติมบ้าน ของทุกท่าน จึงควรอ่านบทความนี้เพื่อเป็นแนวทางเป็นอย่างยิ่ง และเราก็ต้องขอขอบคุณ สมาชิกหมายเลข 3966088 จากเว็บบอร์ดออนไลน์ชื่อดังอย่าง Pantip.com ที่ได้มาแชร์ข้อมูลดีในครั้งนี้ครับ
เจ้าของบ้านจำนวนไม่น้อย (โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเภท ทาวน์โฮม บ้านจัดสรร) ที่คิดอยาก ต่อเติมบ้าน โดยเฉพาะห้องครัวไทย ออกมาทางหลังบ้าน เพื่อจะได้มีพื้นที่เป็นสัดเป็นส่วนสำหรับทำกับข้าวได้อย่างสบายใจ แต่ไม่รู้จะเริ่มยังไง จะทำไป ก็กลัวหลายๆอย่าง กลัวมีปัญหากับข้างบ้าน กลัวผู้รับเหมาทิ้งงาน กลัวทำแล้ว ไม่ได้คุณภาพ เกิดการทรุดตัว มีรอยแตกร้าว หรือ ไม่เป็นไปตามที่ตกลง ผมจึงอยากขอแนะนำ สิ่งที่เจ้าของบ้านควรรู้เป็นข้อมูลติดตัวไว้ก่อนที่จะลงมือทำ หรือติดต่อช่างรับเหมามาทำการต่อเติมบ้าน
มาดูกันว่ามีสิ่งใดบ้างที่เราควรจะทำความเข้าใจเพื่อให้เกิดปัญหาใน การต่อเติมบ้าน น้อยที่สุด…
- กฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง หรือ พรบ.ควบคุมอาคาร
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร กำหนดให้การก่อสร้าง/ต่อเติมต้องมีระยะห่างระหว่างอาคาร เพื่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยและป้องกันการรบกวนบุคคลในพื้นที่ข้างเคียง สรุปพรบ.ง่ายๆ ดังนี้
1.1 ระยะห่างระหว่างอาคารที่ก่อสร้าง / ต่อเติมบ้าน
อาคารชั้นเดียว จนถึงอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตร เช่น ต่อเติมบ้าน พื้นที่หลังบ้าน เป็นห้องครัว ห้องซักล้าง ระเบียงชั้น 2 ระยะห่างผนัง ถ้ามีช่องเปิด (ช่องเปิด หมายถึง หน้าต่าง ช่องลม ช่องที่สามารถส่องผ่านได้ ไม่เว้นแม้กระทั่ง ช่องแสง บล็อกแก้ว)ต้องเว้นระยะห่างจากแนวเขตที่ดินข้างเคียง ไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร
ถ้าเป็นผนังทึบ (ไม่มีผนังช่องเปิด)ต้องเว้นระยะห่างจากแนวเขตที่ดินข้างเคียง ไม่น้อยกว่า 0.50 เมตร*ยกเว้น การได้รับความยินยอมจากเจ้าของพื้นที่ข้างเคียง เป็นลายลักษณ์อักษร (มีหนังสือยินยอม) สามารถสร้างชิดเขตแนวที่ดินได้
สัญญาว่าจ้างก่อสร้าง ต่อเติมบ้าน ที่ดีนั้น เอกสารต้องเป็นไปตามที่ตกลงกันของทั้งผู้รับจ้าง และเจ้าของบ้าน เพื่อเป็นการกำหนดการจ่ายเงินเป็นงวดๆ โดยต้องแบ่งงวดเงินที่จะจ่าย ให้สอดคล้องกับงวดงานที่แล้วเสร็จ
ตัวอย่างงวดงาน งวดงานที่ 1 เคลียร์พื้นที่ ตอกเสาเข็ม แล้วเสร็จ 100%งวดงานที่ 2 ทำฐานรากแล้วเสร็จทุกต้น (100%) ทำตอม่อแล้วเสร็จ 50%งวดสุดท้าย ผู้รับจ้างจะต้องเก็บรายละเอียดงาน ทำความสะอาดหน้าพื้นที่ทำงาน หรือเศษวัสดุออกนอกพื้นที่ทำงาน จนกว่าพื้นที่จะพร้อมต่อการส่งมอบงานได้
ตัวอย่าง งวดเงินเงินงวดที่ 0 *มัดจำก่อนเริ่มงานหลังจากทำสัญญางวดนี้ เพื่อการทำงานที่ราบรื่นงานผู้รับเหมา 20% ของราคาค่าก่อสร้างทั้งหมด เมื่อผู้รับจ้างทำสัญญาว่าจ้างเป็นลายลักษณ์อักษรเงินงวดที่ 1 20% ของราคาค่าก่อสร้างทั้งหมด เมื่อผู้รับจ้างทำงานงวดที่ 1 แล้วเสร็จเงินงวดที่ …. (สุดท้าย) 20% ของราคาค่าก่อสร้างทั้งหมด เมื่อผู้รับจ้างทำงานงวดที่ (สุดท้าย) แล้วเสร็จ
1.3 เทคนิคการก่อสร้าง
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า “บ้านทุกหลัง หรือทุกอาคารมีการทรุดตัว” ไม่ว่าจะตอก เจาะ เสาเข็มหรือไม่ ก็ตาม ขึ้นอยู่กับว่าจะมาก หรือน้อย แตกต่างกันเมื่อรู้แบบนี้แล้ว ก็ต้องเข้าใจว่า “การต่อเติมบ้าน” โครงสร้างใหม่ เข้าไปกับโครงสร้างบ้านเดิม ย่อมมีการ “แยก” ออกจากกัน โดยเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากโครงสร้างบ้านเดิม อยู่บนเสาเข็มที่ตอกไปแล้ว อาจมีการทรุดบ้าง แต่น้อย เช่น 1 เซนติเมตรต่อ 2 ปีแต่ส่วนต่อเติมบ้าน เช่น ครัวหลังบ้าน ไม่ได้ตอกเข็ม ทรุดลงปีละ 3 เซนติเมตร ทำให้เกิดรอยแตกร้าว เป็นต้นสิ่งที่เราพอจะทำได้คือ ป้องกัน/แก้ไข ไม่ให้รอยร้าวนั้น น่าเกลียด ตกแต่งเพื่อความสวยงาม
ตัวอย่าง การต่อเติมยอดนิยม คือ ต่อเติมบ้าน ส่วนครัวไทยหลังบ้าน
- รอยต่อหลังคากับอาคารเดิมเพื่อให้มีความยืดหยุ่น
เมื่อส่วนต่อเติมเกิดการทุรด รอยต่อระหว่างอาคารเก่าจึงสำคัญ แนะนำให้ใช้ Flashing เป็นตัวเชื่อมระหว่างหลังคากับอาคารเดิม
2.1 กรีดร่องผนังฉาบ (อาคารเดิม) ให้เป็นร่อง ตลอดแนวหลังคา
2.2 ติดตั้ง แผ่น Flashing
2.3 อุดร่องผนัง และร่องระหว่างหลังคาด้วย โพลี ยูรีเทนเมื่อส่วน ต่อเติมบ้าน เกิดการทรุด จะทำให้ไม่เกิดช่องว่างที่น้ำหรือฝนสาดเข้าตัวอาคาร
สนใจข้อมูลข่าวสารเด่นๆ คอนเทนท์ร้อน ที่เรานำมาเสิร์ฟให้คุณผู้อ่านในทุกๆวันจาก Dotproperty คลิ๊ก