วันนี้เรามีเรื่องจริงที่อยากมาแชร์เพื่อนๆทุกๆท่านให้ได้ทราบ ว่าเหตุการณ์นี้มันสามารถเกิดขึ้นได้จริงๆ และคนทำนั้นเป็นถึงคนสำคัญใน เทศบาล โดยเรื่องราวความทุกข์ใจครั้งนี้เป็นเรื่องราวของคุณ some one some time สมาชิกจากเว็บไซต์ pantip.com ที่เวลานี้เจ้าตัวนั้นทุกข์ทรมาณใจเป็นอย่างมาก ดังนั้นวันนี้เราจะขอเป็นอีก 1 เสียงที่จะบอกเล่าเรื่องราวสุดอัปยศของผู้มีอํานาจในบ้านเราที่กระทำกับชาวบ้านตาดำๆได้ลงคอ เพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราไปชมกันเลย
บทเรียนราคาแพง เสียที่ดินในโฉนดครึ่งนึงให้เทศบาลฟรีๆ ใครช่วยเราได้บ้าง BY some one some time
รบกวนโหวต และ แชร์ ให้เราด้วย ถ้าท่านใดกรุณา รบกวนส่งเรื่องของเราให้นักข่าว หรือเพจข่าวใหญ่ๆที เราทำแล้ว แต่เงียบมาก
- ทางเราได้ยื่นขอตรวจสอบทางสาธารณะ ที่ เทศบาล เพื่อจัดการกับบ้าน 4 หลัง ที่ สร้างบ้าน และ โรงรถทับที่สาธารณะ ( ตอนนี้ได้แต่รอเวลา ) และ มีฉโนดอีกแปลง ที่เข้าออกไม่ได้ กำลังจะไปยื่นเรื่องเดียวกัน ในวันจันทร์หน้า
- ตอนนี้ติดต่อทนายเรียบร้อย ทางทนายขอเอกสารเพิ่มเติม และ ทำสำนวนก่อน ( ยังไม่ตอบอะไรมานะ )
- ยื่นขอคัดสำเนา การเบิกจ่าย ต่อ เทศบาล ในกรณีทำทางธารณะในที่ดินของเรา ( เอกสารตัวนี้ เราจะนำยื่นประกอบสำนวนการฟ้อง และ แจ้ง ปปช และ สตง เข้าตรวจสอบ )
- อาทิตย์หน้า ถ้าได้เอกสารข้างต้นครบ เราจะยื่นที่ ศูนย์ดำรงธรรม
- เราส่งเรื่องไปทางเพจข่าวใหญ่ๆ หลายที่ ( แต่ไม่มีการติดต่อกลับ ยังเงียบ )
———————
ที่ดินแปลงนี้เป็นของเราเอง ครอบครองมาในปี2546 เป็นฉโนด ( ตามรูป ที่มีสีม่วง คือ ที่ดินที่เราเสียไป )
ซึ่งเราสมัยก่อนจนมาก ไม่มีเงินทำรั้วและคิดว่าที่ดินเราติดทางสาธารณะทั้งแถบเดินเข้าออกคงไม่มีอะไร ชาวบ้านและครอบครัวเราก้อเดินผ่านเข้าออกปกติและที่ดินเราสามารถเดินทะลุลงแม่น้ำเจ้าพระยาได้ ทางาธารณะก็เช่นกัน
ต่อมามีนายกอบต มาคุยกับที่บ้านว่ามีปูนเหลือจะเอามาราดได้ไหมจะได้เดินสะดวกคนที่บ้าน โดยเราเจ้าของฉโนดไม่รู้เรื่อง ญาติเรา ถามว่า ถ้าให้ราดทางนี้จะเป็นของหลวงหรือเปล่า เค้าก็บอกว่าไม่เป็นแน่นอน แค่ราดปูนเฉยๆ ไม่มีอะไร ทางญาติเราเห็นแก่ความสะดวกเลยปล่อยให้ราดปูน และแอบทำลำรางสาธารณะโดยที่ไม่แจ้งทางเรา
ต่อมาชาวบ้านที่บ้านติดทางอีกฝั่งเริ่มลุกล้ำสร้างบ้านทับทางสาธารณะ เลยใช้ทางเดิมไม่ได้ เลยมาเดินในบ้านเราฝั่งเดียวเป็นถนน เริ่มเอารถมาจอดครั้งละ4 คันจนบ้านเราเดินผ่านไม่ได้ เอารถจอดไม่ได้ จะโดนขูดรถทุกคันทางบ้านเราไม่กล้าเข้ามาจอดเลยต้องปล่อยให้เค้าจอด ไปหาที่จอดที่อื่นเอาเอง จนเกิดการทะเลาะกันเค้าเริ่มหาเรื่องมากขึ้น ขับรถเบียดหลานเราเกือบตกถนนหลายครั้ง ขูดรถ เอามีดจะมาแทงน้าเรา ตะโกนด่า เดินกระแทก ข่มขู่ ทางเราอดทนมาตลอด เพราะในบ้านมีแต่เด็ก คนแก่ ผู้หญิง กลัวมากๆ ทางเราเลยต้องขอรังวัด แต่ทางฝั่งที่สร้างบ้านทับถนนได้เข้าร้อง ศูนย์ดำรงธรมค้าน ไม่ให้เราทำรั้วและไปร้องเรียนเทศบาลอายัติไม่ให้เราได้รังวัด จนต่อมาได้รังวัดเจ้าหน้าที่ที่ดินที่มารังวัด แจ้งเราว่าเป็นที่ดินของเราจริง ครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมายแต่ทางเทศบาลได้ยื่นค้านต่ออัยการ อัยการมีหนังสือแจ้งเรามาว่า ที่ดินที่ราดปูนทั้งหมด เป็นทางสาธารณะ
ใครพอจะมีคำปรึกษามีคำแนะนำอะไรเราได้บ้าง เครียดมากเลย
ท่านไหนที่สนใจทราบข้อมูลเพิ่มเติมสามารถ เข้าไปชมได้ ที่ลิงค์นี้เลย https://pantip.com/topic/38897956
แนวทางการช่วยเหลือจากเหล่าสมาชิกคนอื่นๆ
คุณสมาชิกหมายเลข 5193202
ได้มาเห็นว่า ที่ดินของเจ้าของกระทู้ ไม่เข้าเกณฑ์ -ม.1304 (1) เพราะใช้อาศัยเข้าออกเป็นประจำจะมายึดไม่ได้บวกกับ ที่ดินมีโฉนด ทำให้ ไม่เข้าเกณฑ์ -ม.1304(2) เพื่อนบ้านก็ไม่สามารถจะมาอ้างว่าครอบครองปรปักษ์ไม่ได้เพราะยังไม่ถึง 10ปี ด้านอบต.ที่มาราดปูนบนที่ดินของจขกท ก็ได้ราดปูนบนที่ดินฟรีๆ แค่นั้นเองไม่มีสิทธิ์เรียกร้อง
อะไรทั้งนั้น และสุดท้าย ผู้ฟ้องขอจดทะเบียนภาระจำยอมต้องเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ติดทางที่จะขอเท่านั้น!!
คุณ Pod Pod Pod
มาอธิบาย เรื่อง ทางที่เป็นภาระจำยอม เพิ่มคือ หมายถึงไม่มีทางอื่นที่จะสัญจร แต่ในโฉนดก็มีทางสาธารณฯติดอยู่ ดังนั้นเทศบาลจะมาทำทางในโฉนดไม่ได้ หากทางสาธารณฯจะขยายมากินโฉนดเรา ต้องมีความจำเป็นตามแต่กรณี ดังนั้นจากเรื่องนี้เจ้าของกระทู้ ไม่มีเจตนาและไม่เคยคิดที่จะยกให้ พื้นที่ดินนี้เป็นสาธารณฯ ทำให้
สามารถไปพิสูจน์ในชั้นศาลได้ ด้านหนังสือแจ้ง จากอัยการ เป็นเพียงความเห็นฝากนั้นเฉยๆไม่มีสิทธิ์ชี้ขาด เพราะสิทธิ์ชี้ขาดมีแค่ศาลเท่านั้น ดังนั้นสามารถฟ้องกลับเจ้าหน้าที่รัฐเลวๆเรียกค่าชดเชยได้เลย
คุณ Bad people
มาแชร์ข้อเสียเปรียบ และวิธีที่เจ้าของกระทู้นำไปใช้ในการต่อสู้คดี โดยคุณBad people ยังเสริมอีกว่า บางครั้งคดีเรื่องที่ดินมันก็เอื้อต่อการเข้าองค์ประกอบตามที่อัยการมองเห็นเหมือนกัน แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีทางสู้ถึงจะไม่การันตีว่าจะชนะ 100% แต่หากเจ้าของเรื่องเตรียมตัวดีหลักฐานแน่น คนโกงยังไงก็แพ้ได้อยู่ดี
คุณ สมาชิกหมายเลข 2123757 หยิบยกเรื่องราวของ คุณลุงละม่อมกับคุณป้าละเมียด มาเล่าให้ฟังดังนี้
ติดป้ายว่าเป็นถนนส่วนบุคคลไว้ เช่นนี้แล้ว…ถนนดังกล่าวจะถือเป็นทางสาธารณะหรือไม่ ?
คดีนี้เหตุเกิดจากผู้ฟ้องคดีสองรายคือคุณลุงละม่อมกับคุณป้าละเมียด สองสามีภรรยาซึ่งเป็นเจ้าของอาคารร้านค้า ซึ่งตั้งอยู่หัวมุมสามแยกบนถนนที่เชื่อมต่อกับทางในซอยละมุน โดยลุงละม่อมและภรรยาได้ซื้ออาคารดังกล่าวต่อมาจากนายกิมหงวนซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินซอยละมุนด้วย
ต่อมาลุงละม่อมต้องการปรับปรุงอาคารร้านค้าของตนเองให้สวยงามและใหญ่โตขึ้น จึงปรับปรุงอาคารและวางกองวัสดุก่อสร้างต่างๆ ไว้บริเวณหน้าอาคารของตนเอง และได้ขออนุญาตเจ้าของซอยคือนายกิมหงวนในการขอวางกองวัสดุดังกล่าวแล้ว โดยลุงละม่อมได้สร้างรั้วสังกะสีล้อมกั้นเป็นแนวเขตพื้นที่การก่อสร้างไว้เพื่อความปลอดภัยของผู้สัญจรในระหว่างการก่อสร้างดังกล่าว ซึ่งรั้วที่กั้นได้ล้ำเข้ามาในเขตถนนซอยละมุนมีความกว้าง 2 เมตร ยาว 20 เมตร
เวลาผ่านมาหลายเดือนที่ลุงละม่อมได้ใช้พื้นที่ของถนนซอยละมุนวางวัสดุก่อสร้างและล้อมรั้วกั้นทำแนวเขตก่อสร้างไว้ เป็นเหตุให้ชาวบ้านที่ใช้ซอยดังกล่าวในการสัญจรไปมาได้รับความเดือดร้อนเพราะถนนแคบลง การจราจรติดขัดและลำบากในการขับขี่ยานพาหนะ จึงร้องเรียนไปยังนายกเทศมนตรีเพื่อขอให้แก้ไขเหตุเดือดร้อนในพื้นที่ นายกเทศมนตรีจึงแจ้งให้ลุงละม่อมรื้อถอนรั้วออกจากถนนซอยละมุน แต่ลุงละม่อมไม่ได้รื้อถอน เพราะเห็นว่าที่ดินซอยละมุนเป็นของนายกิมหงวนและนายกิมหงวนได้อนุญาตให้ตนใช้วางกองวัสดุได้
นายกเทศมนตรีจึงสั่งการให้เจ้าหน้าที่เข้ารื้อถอนรั้วสังกะสีและเรียกเก็บค่ารื้อถอนจากลุงละม่อม (มาตรา 39 ประกอบ มาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535) ลุงละม่อมและป้าละเมียดเห็นว่านายกเทศมนตรีไม่มีอำนาจทำได้เพราะเป็นทางส่วนบุคคลของนายกิมหงวน จึงยื่นฟ้องเทศบาลนครเพื่อขอให้ชดใช้ค่าเสียหายจากการรื้อถอนรั้วดังกล่าวแก่ตน
ประเด็นพิจารณาคือ ที่ดินบนถนนซอยละมุนถือเป็นถนนและที่สาธารณะ ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 หรือไม่ ? เพราะหากเป็นถนนหรือที่สาธารณะตามกฎหมายดังกล่าว นายกเทศมนตรีย่อมมีอำนาจตามกฎหมายในการสั่งให้รื้อถอนได้
ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาคือ มาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 ที่ได้นิยามคำว่า “ที่สาธารณะ” ว่าหมายรวมถึงถนน และให้ความหมายของคำว่า “ถนน” ว่าหมายรวมถึง ถนนส่วนบุคคลซึ่งเจ้าของยินยอมให้ประชาชนใช้เป็นทางสัญจรได้ และกฎหมายดังกล่าวได้ห้ามมิให้ผู้ใดตั้ง วาง หรือกองวัสดุใดๆ บนถนน เว้นแต่กระทำในบริเวณที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ประกาศกำหนดด้วยความเห็นชอบของเจ้าพนักงานจราจรหรือได้รับอนุญาตเป็นหนังสือ (มาตรา 19 และมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ.เดียวกัน)
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏต่อศาลว่าประชาชนที่อยู่อาศัยในบริเวณซอยละมุนและประชาชนทั่วไปต่างก็ได้ใช้ประโยชน์ถนนซอยละมุนในการสัญจรไปมาไม่น้อยกว่า 20 ปี จึงเป็นที่ประจักษ์ว่าประชาชนทั่วไปใช้ถนนซอยดังกล่าวเป็นทางสัญจรไปมาเหมือนถนนสาธารณะสายอื่นๆ และมีการใช้ประโยชน์ติดต่อกันเป็นเวลานานเกินกว่า 10 ปี ในลักษณะที่เจ้าของที่ดินมิได้ขัดขวางหรือห้ามปราม อันแสดงให้เห็นว่าเจ้าของที่ดิน “ได้ยินยอมให้ประชาชนใช้เป็นทางสัญจรได้โดยปริยาย”
แม้เจ้าของที่ดินจะมีการแสดงเจตนาโดยติดป้ายสงวนสิทธิ์ว่าเป็นถนนส่วนบุคคลไว้ ก็ถือเป็นแต่เพียงเพื่อแสดงว่าตนมิได้ทอดทิ้งที่ดินอันจะยังผลเป็นการป้องกันมิให้ถนนดังกล่าวตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามมาตรา 1304 (2) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้น แต่ไม่ถือเป็นการขัดขวางหรือห้ามปรามมิให้ประชาชนทั่วไปใช้ถนนดังกล่าวเป็นทางสัญจร ดังนั้นถนนซอยละมุนจึงเป็นถนนส่วนบุคคลซึ่งเจ้าของยินยอมให้ประชาชนใช้เป็นทางสัญจรได้ อันถือเป็น “ถนน” และเป็น “ที่สาธารณะ” ตามนิยามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535
เมื่อลุงละม่อมนำวัสดุก่อสร้างมากองไว้บนถนนซึ่งเป็นผิวจราจรโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ประกอบกับมีการกองวัสดุและทำรั้วกั้นมาเป็นเวลานานกว่า 7 เดือน จนส่งผลกระทบให้เสื่อมความสะดวกในการสัญจร นายกเทศมนตรีจึงมีอำนาจสั่งการให้ลุงละม่อมและป้าละเมียดรื้อถอนรั้วและกองวัสดุที่รุกล้ำถนนซอยละมุนได้
เมื่อลุงละม่อมมิได้ทำการรื้อถอนตามคำสั่ง นายกเทศมนตรีในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงได้แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการรื้อถอนรั้วสังกะสีและขนย้ายกองวัสดุออกไปจากถนน และให้ลุงละม่อมชดใช้ค่าใช้จ่ายในการเข้าดำเนินการตามจริงจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ไม่ถือเป็นการกระทำละเมิดต่อลุงละม่อมและป้าละเมียดแต่อย่างใด ศาลปกครองสูงสุดพิพากษายกฟ้อง (เทียบเคียงจากคดีหมายเลขแดงที่ อ.65/2559)
สรุปได้ว่า… แม้จะเป็นที่ดินส่วนบุคคลแต่หากเจ้าของเปิดให้ประชาชนทั่วไปใช้ประโยชน์ในการสัญจรไปมาได้ตลอดเวลามาเป็นเวลายาวนาน โดยมิได้มีลักษณะของการขัดขวาง ห้ามปราม เช่น การทำที่กั้น
ย่อมถือเป็น “ถนนและที่สาธารณะ” ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 ที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดูแลมิให้เกิดการกระทำที่เป็นการทำให้เสื่อมการจราจรและเกิดความเดือดร้อนแก่ผู้ใช้ทางในการสัญจรตามปกติ นอกจากนี้การที่ลุงละม่อมและป้าละเมียดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ยังอาจต้องถูกดำเนินคดีฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และต้องถูกดำเนินคดีตามมาตรา 39 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 อีกด้วย
**************************************
- การรังวัด เจ้าหน้าที่ดูตามเอกสาร ข้อเท็จจริงอาจไม่ใช่ตามนั้น
- การที่เทศบาล เอางบประมาณของหลวง มาลงทุนในที่ดินของเอกชน เขาต้องแน่ใจว่า เขามีอำนาจทำได้
- ปล่อยเขาใช้เป็นทางสาธารณะมานานขนาดนั้น คุณลำบากแล้วฃ
- หาทนาย ว่ากันบนศาล โอกาส 50/50
***************
มีฎีกา 3126/2536 คล้ายกัน
เป็นอย่างไรกันบ้าง กับเรื่องราวที่เราอยากจะยกเรื่องราวในครั้งนี้มาให้หลายๆท่านอ่าน หวังว่าเรื่องราวครั้งนี้ของคุณ some one some time จะจบลงด้วยดีโดยเร็วสูญเสียทรัพย์สินเงินทองให้น้อยที่สุด เวลานี้คงได้แต่บอกให้เจ้าของเรื่องอย่างยอมแพ้ คนโกงยังไงก็ข้อให้สู้ให้ถึงที่สุด ส่วนเพื่อนท่านให้ต้องการให้ความรู้เจ้าของเรื่องเพิ่มเติมสามารถเข้าไปได้ที่ลิงค์นี้เลย https://pantip.com/topic/38897956 หากมีเรื่องราวความคืบหน้าทางเราจะรีบมาอัพเดทให้ท่านผู้อ่านโดยทันทีแล้วพบกันใหม่ในครั้้งต่อไป
ขอขอบคุณเรื่องราวจาก คุณ some one some timem,คุณ สมาชิกหมายเลข 5193202 คุณ Pod Pod Pod คุณ Bad peopleและคุณ สมาชิกหมายเลข 2123757 เหล่าสมาชิกจากเว็บไซต์ panpit.com
แชร์ประสบการณ์ตรง เงินเดือน12,700 กู้ซื้อบ้าน มือ1 ได้