DotProperty.co.th

เมื่อมนุษย์ต้องปรับตัวให้เข้ากับโลก ชวนดูสถาปัตยกรรมที่ออกแบบเพื่อรองรับ Climate change

Climate change ไม่นับเป็นเรื่องใหม่สักเท่าใดนักแต่ที่ใหม่และทำให้มนุษย์ต้องหันมาเตรียมรับมืออย่างจริงจังคือสภาพอากาศที่แปรปรวน รุนแรงและรวดเร็วจนตั้งรับไม่ทันส่งผลให้เกิดความเสียหายมากมายขึ้นได้ 

เมื่อการออกแบบคือการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนเราจึงต้องมีการออกแบบเพื่อทำให้ทรัพยากรที่เรามีอยู่สามารถมีเพิ่มขึ้นมากพอจะซ่อมแซมเติมเต็มส่วนที่เราใช้ไปและยังต้องปกป้องให้เรารับมือกับสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นโดยลดความเสียหายให้น้อยที่สุดด้วย

ในบทความนี้เราจึงพามาดูการออกแบบเพื่อการรับมือกับ Climate change อย่างยั่งยืนว่าจะต้องเป็นอย่างไร

Amager Bakke, Copenhagen Denmark

ที่มารูปภาพ https://archello.com/project/amager-bakke-copenhill

ในยุคอุตสาหกรรม เรามีการคิดค้นการสร้างพลังงานมาขับเคลื่อนโลกไปข้างหน้า เสียแต่ว่าพลังงานเหล่านั้นแม้จะช่วยเราได้มากแต่ก้ทำร้ายโลกอย่างมากด้วยเช่นกัน ดังนั้นโจทย์ที่คนทั้งโลกต้องร่วมมือกันคือการหาวิธีใช้พลังงานสะอาดที่ไม่สร้างภาระให้กับโลก และไม่เพิ่มอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก ขณะเดียวกันก็ต้องมีความคุ้มค่าในการใช้งานด้วย

ที่มารูปภาพ https://archello.com/project/amager-bakke-copenhill

หนึ่งในวิธีการลดอุณหภูมิเฉลี่ยโลกที่เราสามารถทำได้คือการเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาดซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หลักของ Amager bakke โรงงานพลังงานจากขยะแห่งนี้นั่นเอง แต่ความพิเศษของเขาไม่ได้มีเพียงการเป็นโรงงานพลังงานขยะแต่ยังเป้นสถานที่พักผ่อนสาธารณะที่ให้คนสามารถมาเล่นสกี ปีนเขาหรือนั่งเล่นกันได้ด้วย

ความพิเศษอีกอย่างหนึ่งที่นับว่าทำให้ Amager bakkeโดดเด่นคือการมีปล่องควันไอน้ำที่จะปล่อยควันรูปวงแหวนออกมาเมื่อโลกปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ครบ 1 ตันเป็นการเตือนด้วย

Yanweizhou Park, Jinhua China

ที่มารูปภาพ https://www.world-architects.com/en/turenscape-haidian-district-beijing/project/jinhua-yanweizhou-park

เรื่องของน้ำเป็นเรื่องที่เราต้องหาทางแก้กันยาวๆ เลยทีเดียวเพราะทั่วโลกเกือบทุกพื้นที่ล้วนประสบปัญหาในเรื่องของน้ำที่บางทีก็มากเกินไป บางทีก็น้อยเกินไป ไม่ค่อยมีความพอดีสักเท่าไหน่นักจึงเป็นโจทย์ให้กับมนุษย์โลกที่จะอย่างไรเราก็ต้องอยู่กับน้ำให้ได้ไม่ว่าจะมีมากหรือน้อยก็ตาม

ที่มารูปภาพ https://www.world-architects.com/en/turenscape-haidian-district-beijing/project/jinhua-yanweizhou-park

เราไม่สามารถควบคุมโลกได้แต่เราสามารถควบคุมสิ่งที่โลกให้กับเราได้จึงทำให้หลายพื้นที่ที่ต้องเจอกับน้ำหันมาบริหารน้ำและพื้นที่ที่อยู่ให้รองรับน้ำได้อย่างที่สวน Yanweizhou ออกแบบขึ้นมาให้เป็นสวนสาธารณะที่ใช้ได้เสมอไม่ว่าจะมีน้ำมากหรือน้อยก็ตาม 

พื้นที่สวนเป็นเสมือนเกาะที่ล้อมด้วยน้ำสามด้าน มีสะพานสีสันสดใสเชื่อมต่อกับแผ่นดินด้านข้างสองด้าน ตัวสะพานสีสันนี้จะลอยอยู่เหนือน้ำเสมอทำให้เวลาน้ำขึ้น ที่ตรงนี้ก็ยังคงเป็นสวนสาธารณะให้ชาวเมืองพักผ่อนได้ สวนแห่งนี้ได้รับรางวัล World Landscape of the Year at World Architecture Festival 2015 ด้วย

The Amphibious House, UK

นอกจากน้ำท่วมเพราะฝนแล้ว ปีนี้เรายังได้เจอกับน้ำทะเลหนุนสูงทำให้น้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ด้วย ซึ่งนอกจากการสร้างสวนสาธารณะรองรับน้ำแล้ว หลายประเทศที่ประสบปัญหานี้ยังได้พยายามหาทางออกเพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับที่อยู่อาศัยด้วย ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือบ้านลอยน้ำได้

The Amphibious House เป็นบ้านลอยได้ที่สร้างเสร็จหลังแรกของอังกฤษเลยทีเดียว ออกแบบโดย Baca Architects พวกเขาออกแบบให้โครงสร้างของบ้านสามารถลอยขึ้นได้เมื่อน้ำขึ้นและเข้ามาเติมใต้ตัวบ้าน

ที่มารูปภาพ https://inhabitat.com/uks-first-amphibious-house-floats-itself-to-escape-flooding/

แม้ว่าที่ตั้งของตัวบ้านลอยได้นี้จะไม่ได้ตั้งในพื้นที่ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมหนักหน่วงรุนแรงแต่ด้วยระดับในปัจจุบันนี้สามารถทดสอบว่าบ้านลอยน้ำสามารถลอยขึ้นมาสูงได้ราวครึ่งเมตรเป็นอย่างต่ำแล้ว

ในเวลาที่เรากำลังจะเข้าสู่วิกฤตสภาพอากาศนี้การแก้ปัญหาส่วนใหญ่ที่เราต้องทำคือการออกแบบการใช้ชีวิตของเราให้สอดคล้องกับวิถีของธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นด้านที่อยู่อาศัยหรือการใช้ชีวิตที่ต้องลดการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง ใช้พลังงานที่มีอยู่อย่างประหยัดเพื่อให้โลกได้มีเวลาซ่อมแซมตัวเองได้มากขึ้น

ที่มา https://www.dezeen.com/2020/10/21/big-amager-bakke-power-station-hufton-crow/?li_source=LI&li_medium=rhs_block_1 

https://www.dezeen.com/2015/12/07/terraces-of-plants-yanweizhou-park-control-floods-ecological-turenscape-landscape-architecture-china/ 

https://www.dezeen.com/2016/01/20/baca-architects-bouyant-amphibious-house-river-thames-buckinghamshire-floating-architecture/