กรมโยธาฯและคณะอนุกรรมการผังเมือง ได้มีการประชุมการกำหนดยุทธศาสตร์ในด้านฝังเมือง ซึ่งมีปัญหาเรื้อรังมานาน และ วิเคราะห์ปัญหาต่างๆ เพื่อต้องการปรับการทำงานใหม่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งปัญหาหลักที่วิเคราะห์ออกมาได้นั้น หลักๆ อยู่ที่การสนับสนุนจากรัฐบาล และ การทำงานไม่ได้เชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่นๆเท่าที่ควร
ซึ่งทางกรมโยธาได้มีแนวคิดในการแก้ไขปัญหาต่าง โดยต้องการเสนอให้ คสช.อนุมัติการแก้ไขปัญหาต่างๆอย่างเร่งด่วน คือ การปรับปรุง พ.ร.บผังเมือง พ.ศ.2518 ในมาตร 26 ประเด็นที่ต้องการให้แก้ไขคือ กำหนดของอายุผังเมืองที่มีอายุการใช้งานเพียง 5 ปี ซึ่งจะแก้ไขใหม่เป็นไม่มีหมดอายุ ซึ่งเรื่องดังกล่าวนำเสนอคณะกรรมการผังเมืองไปแล้ว และ จะก้าวต่อโดยการนำเสนอต่อ คสช. เพื่อให้ประกาศใช้ในเร็วๆนี้ ซึ่งปัญหาต่างๆของการจัดการเรื่องผังเมืองไม่ได้มีแค่นี้เท่านั้น แต่มีปัญหามาช้านาน และ ตอนนี้ถือเป็นโอกาสดีที่จะปรับเปลี่ยนระบบการทำงาน วางแผนงาน และ ได้รับการอนุมัติเร็วขึ้น เพราะหน่วยงานของผังเมืองนั้นไร้การดูแลแก้ปัญหาจากรัฐบาลจนมีปัญหาเรื้อรังหลายประการที่ต้องได้รับการแก้ไขด่วนเช่น
ปัญหาที่ผ่านมาจะไม่ว่าจะเป็นเรื่องผังเมืองของชุมชนต่างๆที่หมดอายุไปแล้วกว่า 80 ผัง และ ยังจัดทำผังใหม่ไม่เสร็จสิ้นทำให้เกิดปัญหาในการใช้ประโยชน์ในที่ดินต่างๆ หากยังไม่มีผังเมืองใหม่ออกมาบังคับใช้ ซึ่งส่งผลต่อภาคอสังหาฯโดยตรง เพราะเอกชนไม่สามารถดำเนินการใดๆได้หากยังไม่มีผังใหม่ประกาศออกมาก็ไม่สามารถทำอะไรได้ นอกจากนี้กรมโยธาฯยังหวังแก้ปัญหาในระยะยาวเพราะหากผังเมืองมีการปรับปรุงแก้ไข หน่วยงานสามารถเชื่อมโยงการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการปรับปรุงพัฒนาองค์กร ก็จะสามารถมีผลงานที่สามารถเห็นเป็นรูปธรรมได้เร็วขึ้น การจัดการทำงานวางผังเมืองทั้งระบบ จะทันสมัยขึ้นเพราะจะส่งผลถึงภาคอสังหาฯโดยตรง ซึ่งนั่นหมายถึงการเติบโตของเศรษฐกิจในภาพรวม เพราะหากมีการจัดสรรจัดทำผังเมืองอย่างเป็นระบบ จะสามารถเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ได้อย่างถูกต้องไม่ผิดกฎและสามารถให้ประชาชนได้รับรู้และเข้าถึงผังเมืองในพื้นที่ต่างๆเพราะบางพื้นที่นั้นต้องทำประชาพิจารณ์เพราะมีผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่โดยตรง ดังนั้นหากปฎิรูปกฎข้อบังคับต่างๆของ พ.ร.บ.ผังเมืองให้ทันสมัยขึ้นสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม และ สภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันก็น่าจะส่งผลดีต่อภาพรวม
แต่อย่างที่เราทราบกันดีว่าปัจจุบันนั้นผังเมืองมีการแบ่งโซนต่างๆและกำหนดการใช้ประโยชน์ต่างๆมากมาย ซึ่งประชาชนทั่วไปยังไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างแท้จริง จะมีแต่ผู้ประกอบการอสังหาฯ,ก่อสร้าง,และผู้ที่ต้องการสร้างที่อยู่อาศัย หรือ อื่นๆ เท่านั้นที่จะทราบเพราะจะต้องตรวจสอบข้อกำหนดต่างๆในพื้นที่นั้นๆ เช่น ห้ามสร้างสูงเกินกว่ากี่ชั้น หรือ บริเวณที่ดินนั้นทำโรงงานได้หรือไม่ ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่คนทั่วไปไม่เคยทราบเลย หากจะมีการปรับปรุงการกระจายข้อมูลต่างๆก็นับว่าจะดีมากต่อภาคประชานชน เพราะบางครั้งก็โดนนายทุนปิดหูปิดตาหลอกซื้อที่โดยอาศัยผังเมืองมาอ้าง ซึ่งมีโดนกันมาหลายรายแล้วจึงควรสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ข้อมูลของผังเมืองให้มากกว่านี้
ข่าวและบทความข้างต้นนี้จัดทำโดย ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท ดอท พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด หากท่านมีข้อสงสัยหรือต้องการส่งข่าวเกี่ยวกับแวดวงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการประชาสัมพันธ์ สามารถติดต่อได้ที่ [email protected]