กทพ. เดินหน้าฟื้นตอม่อร้าง ทุ่ม 17,551 ล้าน สร้างทางด่วนเท่าตึก 3 ชั้น

กทพ.,ทางด่วนเกษตร-นวมินทร์,เวนคืนที่ดิน,แก้ปัญหารถติด
กทพ.,ทางด่วนเกษตร-นวมินทร์,เวนคืนที่ดิน,แก้ปัญหารถติด
กทพ.,ทางด่วนเกษตร-นวมินทร์,เวนคืนที่ดิน,แก้ปัญหารถติด
กทพ.,ทางด่วนเกษตร-นวมินทร์,เวนคืนที่ดิน,แก้ปัญหารถติด

20 ปียังไม่สาย ! กทพ. เดินหน้าฟื้นตอม่อร้าง ทุ่ม 17,551 ล้าน สร้างด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือช่วงเกษตร-นวมินทร์-วงแหวนตะวันออก ระยะทาง 10.5 กม. โครงสร้างสูงเท่ากับตึก 3 ชั้น ปรับรูปแบบใหม่ ลดขนาดเหลือ 4 เลน พร้อมสะพานข้ามแยก 5 แห่ง แก้รถติด ย้ำไม่มีเวนคืนที่ดิน เก็บค่าผ่านทาง 20 บาทตลอดสาย เปิดประมูลปลายปี”61

กทพ.,ทางด่วนเกษตร-นวมินทร์,เวนคืนที่ดิน,แก้ปัญหารถติดจากรูปทางด่วน สูง 18 เมตร – โฉมใหม่ทางด่วนเกษตร-นวมินทร์-วงแหวนตะวันออก ระยะทาง 10.5 กม. เป็นโครงสร้าทางยกระดับ 4 ช่องจราจร สูง 18 เมตร หรือเท่ากับตึก 3 ชั้น มีสะพานข้ามแยกอยู่ชั้น 2 แก้รถติดกรุงเทพฯโซนตะวันออก

พล.อ.วิวรรธน์ สุชาติ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยว่า กทพ.อยู่ระหว่างทบทวนศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อมและงานทบทวนและออกแบบรายละเอียดโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 เชื่อมต่อไปยังถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันออก (E-W) ระยะทาง 10.5 กม.

โดยโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ได้รับความเห็นชอบให้ดำเนินการจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) และได้รับความเห็นชอบรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) จากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเมื่อปี 2537 จึงได้มีการก่อสร้างเสาตอม่อ 281 ต้นไปพร้อมกับการก่อสร้างถนนประเสริฐมนูกิจ ต่อมาโครงการได้ถูกบรรจุไว้ในแผนการบริหารราชการแผ่นดินปี 2552-2554 แต่ได้ชะลอโครงการไว้ก่อน ถึงขณะนี้ก็ร่วม 20 ปีแล้ว

เนื่องจากสภาพการจราจรบนถนนประเสริฐมนูกิจมีความหนาแน่นมาก จึงได้มีการเสนอความเห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องมีความชัดเจนในการแก้ไขปัญหาการจราจรต่อหัวหน้าคณะรักษาควาสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการ โดยบรรจุโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือไว้ในแผนปฏิบัติการด้านคมนาคม ระยะเร่งด่วน 2560 และให้ กทพ.ดำเนินโครงการเฉพาะตอน N2 และ E-W ด้านตะวันออก เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรบนถนนประเสริฐมนูกิจ

จะใช้เงินลงทุนจากกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศ (TFF) ซึ่ง ครม.อนุมัติเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 2560 จำนวน 44,819 ล้านบาท เพื่อดำเนินก่อสร้างทางด่วนสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกตะวันตก ระยะทาง 17 กม. วงเงิน 30,437 ล้านบาท กับทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือตอน N2 และ E-W วงเงิน 14,382 ล้านบาท

“กทพ.ปรับรูปแบบโครงการใหม่ จากเดิมออกแบบเป็นทางด่วนขนาด 6 ช่องจราจร เป็น 4 ช่องจราจรพร้อมกับสร้างสะพานข้ามแยกเพิ่ม จึงต้องทำรายงานอีไอเอเพิ่มเติม ปลายปีผลศึกษาเสร็จ จากนั้นจะเสนอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณา คู่ขนานไปกับการขออนุมัติอีไอเอ คาดว่าปลายปี 2561 เปิดประมูลและเริ่มสร้างต้นปี 2562 ใช้เวลา 24 เดือน กำหนดแล้วเสร็จอย่างเร็วปลายปี 2564 อย่างช้าต้นปี 2565 กทพ.จะบริหารโครงการเอง เก็บค่าผ่านทาง 20 บาทตลอดสาย ในปีแรกเปิดใช้จะมีปริมาณการจราจร 80,000 เที่ยวคัน/วัน”

ประธานบอร์ดกล่าว และว่านายประสงค์ มงคลเนาวรัตน์ รองผู้จัดการโครงการ กล่าวว่า โครงการจะสร้างอยู่บนฐานตอม่อเดิมที่ กทพ.สร้างไว้แล้วบนเกาะกลางถนนเกษตร-นวมินทร์ (ถนนประเสริฐมนูกิจ) มีจุดเริ่มต้นที่บริเวณตอม่อที่ 10 ห่างจากปากอุโมงค์แยกเกษตร 350 เมตร ข้ามคลองบางบัว ผ่านแยกลาดปลาเค้า แยกเสนานิคม แยกสุคนธสวัสด์ แล้วเชื่อมกับทางด่วนฉลองรัช (รามอินทรา-อาจณรงค์) จากนั้นมุ่งหน้าไปผ่านแยกรัชดา-รามอินทรา แยกนวลจันทร์ แยกถนนนวมินทร์ แล้วเบี่ยงซ้ายไปตามเกาะกลางถนนเกษตร-นวมินทร์ ไปเชื่อมกับวงแหวนรอบนอกตะวันออกออกแบบเป็นทางยกระดับสูงจากระดับพื้นดิน 18 เมตร หรือระดับชั้นที่ 3

โดยชั้นที่ 1 เป็นถนนเกษตร-นวมินทร์ ระดับที่ 2 เป็นสะพานข้ามแยกและระดับ 3 เป็นโครงสร้างทางด่วน จะมีทางขึ้น-ลง 2 แห่ง คือ จุดเริ่มต้นโครงการ ห่างจากถนนพหลโยธิน 900 เมตร บริเวณตอม่อที่ 19 ระยะทาง 800 เมตร และจุดสิ้นสุดโครงการอยู่ห่างจากถนนวงแหวนรอบนอกตะวันออกประมาณ 1 กม. ระยะทาง 1.2 กม. มีทางต่างระดับ 2 แห่ง ตรงบริเวณจุดตัดทางด่วนฉลองรัช กับลาดบัวขาว จุดต่อเชื่อมเข้ากับวงแหวนรอบนอกตะวันออก และยังมีโครงการสะพานข้ามทางแยกบนถนนเกษตร-นวมินทร์ของกรมทางหลวง จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ แยกวังหิน แยกเสนานิคม แยกสุคนธสวัสดิ์ แยกนวลจันทร์ และแยกนวมินทร์ เป็นการบูรณาการแก้ไขปัญหาการจราจรร่วมกันระหว่างระบบทางหลวงและระบบทางด่วน เป็นทางเลือกให้ประชาชน

“เงินลงทุนปัจจุบันอยู่ที่ 17,551 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดิม แยกเป็นค่าก่อสร้างทางด่วน 10,598 ล้านบาท สะพานข้ามแยก 5 แห่ง 1,951 ล้านบาท ทางเชื่อมถนนวงแหวน 3,362 ล้านบาท ถนนพื้นราบ 649 ล้านบาท งานระบบไฟฟ้าเครื่องกล 678 ล้านบาท งานรื้อย้ายสาธารณูปโภค 113 ล้านบาท ค่าคุมงานก่อสร้าง 200 ล้านบาท หากรวมค่าบำรุงรักษาตลอดการให้บริการจะอยู่ที่ 19,488 ล้านบาท มีผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจ หรือ EIRR มากกว่า 20%” นายประสงค์กล่าว

ขอขอบคุณข้อมูลและรูปจาก prachachat.net

ต้องการซื้อ-เช่ !!!คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินทั่วไทยมากกว่า 300,000 รายการคลิ๊กที่นี่

ลงประกาศขาย-ให้เช่า ฟรี !!! คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินกับ Dot Property ขายง่าย ขายไว ไม่มีค่าใช้จ่ายลงประกาศเลย