กทม. สนอง “บิ๊กป้อม” กลับลำไม่เลิกรถเมล์ด่วน ” BRT “

บีอาร์ที,BRT,รถด่วนbrt,เส้นทางbrt,ปัญหารถติด
บีอาร์ที,BRT,รถด่วนbrt,เส้นทางbrt,ปัญหารถติด
บีอาร์ที,BRT,รถด่วนbrt,เส้นทางbrt,ปัญหารถติด
บีอาร์ที,BRT,รถด่วนbrt,เส้นทางbrt,ปัญหารถติด

เรียกว่ากลับลำกลางอากาศกันเลยทีเดียว พลันที่ “บิ๊กป้อม-พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ” รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ลั่นวาจาขอ “กทม.-กรุงเทพมหานคร” ทบทวนใหม่อีกครั้ง โครงการรถประจำทางด่วนพิเศษหรือ BRT “ช่องนนทรี-ราชพฤกษ์” สายแรกของประเทศไทย ระยะทาง 15.9 กม. โปรเจ็กต์หาเสียงยุค “อภิรักษ์ โกษะโยธิน” ใช้เงินลงทุนไปกว่า 2 พันล้านบาท

หลังผู้บริหาร กทม.ชุด ม.44 มีมติจะเลิกโครงการทันทีเมื่อครบสัญญาจ้าง “บีทีเอสซี-บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ” เดือน เม.ย.นี้ เพราะทนแบกภาระค่าใช้จ่ายปีละ 200 ล้านบาทต่อไปไม่ไหว ขนาด “พล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโน” ที่มีฉายา “นวยทนได้” ยังทนรับสภาพกลืนไม่เข้า-คายไม่ออกของโครงการนี้ไม่ได้อีกต่อไป

ปัญหาจราจรไม่ใช่มองแค่คนกลุ่มเดียวต้องมองภาพรวมบีอาร์ทีไม่ได้ตอบสนองบุคคลเป้าหมายโดยตรงสร้างขึ้นเพื่อเชื่อมต่อระบบรางและเป็นรถด่วนพิเศษ แต่บีอาร์ทีไม่ได้เป็นรถด่วนจริง เพราะเวลาถึงทางแยกหรือสี่แยกก็ต้องรอสัญญาณไฟจราจรหรือแม้กระทั่งสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาก็ต้องใช้ทางร่วมกับรถประเภทอื่น”

บีอาร์ที,BRT,รถด่วนbrt,เส้นทางbrt,ปัญหารถติด
บีอาร์ที,รถด่วนbrt,เส้นทางbrt,ปัญหารถติด

พร้อมกับย้ำว่า”จำนวนผู้โดยสารตั้งเป้าไว้ 3 หมื่นคนต่อวัน ราคาค่าโดยสาร 37 บาท แต่ปัจจุบันผู้โดยสารมี 2.1 หมื่นคน/วัน เก็บค่าโดยสาร 5-10 บาท”

“เข้าใจว่าการบริการสาธารณะ ยังไงมันต้องขาดทุน แต่ต้องสมประโยชน์จริงคือแก้ปัญหาจราจรได้ด้วย” พล.ต.ท.อำนวยกล่าวและว่า นอกจากนี้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)ได้มีหนังสือทักท้วงการดำเนินโครงการรถบีอาร์ทีมาถึง กทม. 2 ครั้ง และให้ความเห็นว่าให้ กทม.ยุติโครงการหลังหมดสัญญาในเดือน เม.ย.นี้

ล่าสุด “บิ๊กวิน-พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง” ต้องยอมจำนนต่อคำขอของพี่ใหญ่แห่งรัฐบาล คสช. แต่เพื่อให้มีพยานหลักฐานป้องกันเสียงก่นด่า ได้สั่ง กทม.ทำโพลสำรวจความคิดเห็นประชาชน จำนวน 3,500-4,000 คน หัวข้อ “รถบีอาร์ทีทำให้เสียช่องจราจรและรถติดหรือไม่”

โฟกัส 9 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ 1.ผู้โดยสารที่ใช้บริการรถบีอาร์ที ทั้ง 12 สถานี 2.ผู้ขับขี่รถส่วนบุคคลและรถรับจ้างสาธารณะในเส้นทางเดินรถบีอาร์ที บริเวณสี่แยกพระราม 3 สาทร ถนนจันทร์ และราชพฤกษ์ 3.ประชาชนที่อาศัยในเขตเส้นทางรถบีอาร์ที คือสาทร ยานนาวา บางคอแหลม ธนบุรี 4.ผู้ประกอบการพาณิชย์และผู้ที่พักอาศัยบนเส้นทางการเดินรถบีอาร์ที 5.ประชาชนที่อาศัยโดยรอบเขตเส้นทางรถบีอาร์ทีคือบางรัก คลองเตย คลองสาน 6.เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรที่ปฏิบัติงานในบริเวณที่มีการเดินรถบีอาร์ที 7.พนักงานขับรถบีอาร์ที 8.เจ้าหน้าที่ประจำสถานี และ 9.พนักงานทำความสะอาดของสำนักงานเขตที่มีเส้นทางการเดินรถบีอาร์ที

สิ้น ก.พ.-มี.ค.คงได้คำตอบว่า ” BRT ” จะได้ไปต่อหรือจอดป้ายสนิท!

แหล่งข่าวจาก กทม.กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า มีแนวโน้มสูงที่ กทม.จะไม่เลิกโครงการบีอาร์ที แม้ว่าจะประสบปัญหาขาดทุนก็ตาม เนื่องจากรัฐบาลอยากให้เป็นการบริการเพื่อประชาชน แต่สิ่งที่ กทม.จะต้องเร่งหาทางออกคือการหาเงินมาชำระค่าจ้างเดินรถหลังครบสัญญาเดือน เม.ย.นี้ไปจนถึงเดือน ก.ย.จะสิ้นปีงบประมาณ 2560 เนื่องจากไม่ได้จัดสรรงบประมาณไว้ เพราะก่อนหน้านี้ กทม.มีเป้าหมายชัดเจนจะยกเลิกโครงการ

เนื่องจากตั้งแต่เปิดบริการปี 2553-2559 ที่ผ่านมา จำนวนผู้โดยสารรวม อยู่ที่ 34.3 ล้านเที่ยวคนต่อปี มีรายรับจากค่าโดยสาร 205.1 ล้านบาท รายจ่าย 1,275 ล้านบาท และ กทม.ต้องชดเชยแต่ละปีรวม 7 ปีเป็นเงิน 1,070 ล้านบาท

“เมื่อผลโพลออกมาให้เดินหน้าต่อ กทม.ต้องของสภาจ้างกรุงเทพธนาคมดำเนินการต่อ โดยจ้างบีทีเอสเดินรถให้ ส่วนค่าใช้จ่ายระยะยาวต้องหารือกันต่อไป แต่ช่วง 5 เดือนนับจาก เม.ย.นี้ คาดค่าจะใช้เงินประมาณ 100 ล้านบาท กทม.จะเอาเงินจากส่วนไหนมาจ่ายให้ จะดึงจากงบกลางหรือเงินสะสม ขณะเดียวกันเมื่อ กทม.ตัดสินใจจะเดินหน้าต้องปรับค่าโดยสารใหม่ คือ เก็บที่ 37 บาท ตามที่ศึกษาไว้แต่แรก”

เป็นภาระบนบ่าที่ดรีมทีม “ผู้ว่าฯ ชุดอัศวิน” ต้องคิดอย่างรอบคอบ เพราะเม็ดเงินจะเลี้ยงโครงการแต่ละปีไม่ใช่น้อย ๆ ซึ่ง กทม.เองมีงานรอให้แก้ไขอีกจิปาถะ เพื่อให้คนกรุงอยู่ดีมีสุข หลับสบาย ท่ามกลางสถานการณ์เปลี่ยนผ่านในห้วงเวลานี้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก prachachat.net

ต้องการซื้อ-เช่ !!! คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดิน ทั่วไทยมากกว่า 300,000 รายการ คลิ๊กที่นี่

ลงประกาศขาย-ให้เช่า ฟรี !!! คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดิน กับ Dot Property ขายง่าย ขายไว ไม่มีค่าใช้จ่าย ลงประกาศเลย