กรมบังคับคดี กับ การฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ ล้มได้ก็ต้องลุกให้เป็น!!

อีกหน้าที่หนึ่งของ กรมบังคับคดี ที่จะช่วยในส่วนของ ลูกหนี้ ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ โดยเป็นกระบวนการทางศาล โดยผู้ที่ร้องขอต้องนำคดีขึ้นสู่ ศาลล้มละลายกลาง ซึ่งได้บัญัติเพิ่มเติมไว้ในหมวด 3/1 แห่ง พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 อันเป็นการสร้าง มาตรการทางกฎหมาย ขึ้นมาเพื่อช่วยเอื้อต่อการ ฟื้นฟูกิจการ ของลูกหนี้

กรมบังคับคดี กับกฎหมายดังกล่าวมีสาระสำคัญที่ควรรู้ ดังนี้

องค์ประกอบในการร้องขอฟื้นฟูกิจการ ประกอบด้วย

  1. ลูกหนี้ต้องเป็นบริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด หรือนิติบุคคลอื่นตามกำหนดไว้ในกระทรวง
  2. ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
  3. ลูกหนี้เป็นหนี้จำนวนแน่นอนไม่น้อยกว่าสิบล้านบาท (เจ้าหนี้คนเดียวหรือหลายคนรวมกัน)
  4. มีเหตุอันสมควรและมีช่องทางในการฟื้นฟูกิจการ
  5. ลูกหนี้จะต้องไม่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว
  6. ลูกหนี้ยังไม่ได้ถูกศาลหรือนายทะเบียนได้มีคำสั่งให้เลิกหรือเพิกถอนทะเบียนนิติบุคคล หรือมีการจดทะเบียนเลิกนิติบุคคลนั้นหรือนิติบุคคลที่เป็นลูกหนี้ต้องไม่เลิกกันด้วยเหตุอื่นไม่ว่าการชำระบัญชีของนิติบุคคลดังกล่าวจะเสร็จหรือไม่ก็ตาม

กรมบังคับคดี การฟื้นฟูกิจการลูกหนี้

บุคคลผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ

  1. เจ้าหนี้ซึ่งอาจเป็นคนเดียว หรือหลายคนรวมกัน และมีจำนวนหนี้แน่นอนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท
  2. ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว และเป็นหนี้เจ้าหนี้คนเดียว หรือหลายคนรวมกันเป็นจำนวนแน่นอนไม่น้อยกว่าสิบล้านบาท
  3. ธนาคารแห่งประเทศไทย เฉพาะลูกหนี้ที่เป็น
  • ธนาคารพาณิชย์
  • บริษัทเงินทุน
  • บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์
  • บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
  1. สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เฉพาะลูกหนี้ที่เป็นบริษัทหลักทรัพย์
  2. กรมการประกันภัยเฉพาะลูกหนี้ที่เป็น
  • บริษัทประกันวินาศภัย
  • บริษัทประกันชีวิต
  1. หน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการประกอบกิจการของลูกหนี้ตามกำหนดในกฎกระทรวง
  2. เจ้าหนี้ของลูกหนี้ตาม ข้อ 3,4,5 หรือ 6 หรือลูกหนี้นั้นเองจะยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการจะต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กรมการประกันภัยหรือหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ตามข้อ 6 แล้วแต่กรณีเสียก่อน

หลักเกณท์ในการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ

  • คำร้องขอฟื้นกิจการ ผู้ร้องขอต้องแสดงโดยชัดแจ้งถึง
  1. ความมีหนี้สินล้นพ้นตัวของ ลูกหนี้
  2. รายชื่อและที่อยู่ของเจ้าหนี้คนเดียวหรือหลายคนที่ลูกหนี้เป็นหนี้รวมกันเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าสิบล้านบาท
  3. เหตุอันสมควรและช่องทางที่จะ ฟื้นฟูกิจการ
  4. ชื่อและคุณสมบัติของผู้ทำแผน
  5. หนังสือยินยอมของผู้ทำแผน
  6. กรณีเจ้าหนี้ที่เป็นผู้ร้องขอนอกจากแสดงรายละเอียดข้างต้นแล้วจะต้องแนบนายชื่อและที่อยู่ของเจ้าหนี้อื่นเท่าที่ทราบมาพร้อมคำร้องขอ ส่วนลูกหนี้ผู้ร้องขอจะต้องแนบบัญชีอแสดงราบการทรัพย์สินและหนี้สินทั้งหมดที่มีอยู่ รายชื่อและที่อยู่โดยชัดแจ้งของเจ้าหนี้ทั้งหลายมาพร้อมคำร้องขอ
  • ผู้ร้องขอต้องชำระค่าขึ้นศาลหนึ่งพันบาทและต้องวางเงินประกันค่าใช้จ่ายต่อศาลเป็นจำนวนห้าหมื่นบาทไปพร้อมกันขยะยื่นคำร้อน
  • ผู้ร้องขอยื่นคำร้องต่อศาล คือ ศาลล้มละลายกลาง และในระหว่างศาลล้มละลายภาคยังไม่เปิดทำการ ให้ยื่นต่อศาลจังหวัดทั่วประเทศซึ่งลูกหนี้ประกอบธุรกิจในเขตอำนาจศาลดังกล่าวได้ด้วย

ขอขอบคุณ กระทรวงยุติธรรมกระทรวงยุติธรรม

กรมบังคับคดีการบังคับคดีแพ่ง ประเภท และเหตุผลที่ทำไมถึงต้องมี ?

สนใจข้อมูลข่าวสารเด่นๆ คอนเทนท์ร้อน ที่เราหามาเสริฟให้คุณผู้อ่านในทุกๆวันจาก Dotproperty คลิ๊ก …