DotProperty.co.th

กรมบังคับคดี กับ “การยึดทรัพย์สิน” ตอน การถอนการบังคับคดี

นอกจาก กรมบังคับคดี จะสามารถทำ “การงดการบังคับคดี” ได้แล้ว ลูกหนี้และเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายังอาจตกลงถอนการบังคับคดีได้ และเจ้าพนักงานบังคับคดีก็อาจถอดถอนการบังคับคดีได้ ด้วยเหตุตามกฎหมายและตามคำสั่งศาลซึ่งจะเกิดค่าธรรมเนียม ในกรณีที่เจ้าหนี้ประสงค์จะถอนการบังคับคดีต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้าหนี้จะต้องวางค่าธรรมเนียมถอนการบังคับคดี(ถอนการยึดทรัพย์) ตามตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กล่าวคือ คดีที่ได้ยื่นฟ้องไว้ก่อน 28 กรกฎาคม 2548 ในอัตราร้อยละ 3.5 บาท ของราคาประเมินทรัพย์ ณ วันที่ยึด หากเป็นการยึดเงิน จะคิดค่าธรรมเนียมอัตราร้อยละ 1 บาท ของจำนวนเงินที่ยึดหรืออายัด ส่วนคดีที่ฟ้องตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2548 เป็นต้นไป หากเป็นการยึดทรัพย์สิน ซึ่งมิใช่ตัวเงินเสียค่าธรรมเนียมถอนการยึดในอัตราร้อยละ 2 บาท ของราคาประเมินทรัพย์ ณ วันที่ยึด สำหรับการยึดเงิน อัตราร้อยละ 1 บาท สำหรับคดีใดที่ไม่มีการยึดทรัพย์ แต่โจทย์ประสงค์จะขอถอนการบังคับคดี ก็จะมีเฉพาะค่าใช้จ่ายในชั้นบังคับคดีเท่านั้น

ข้อกฎหมาย กรมบังคับคดี ในการถอนการบังคับคดี

ตามมาตรา 292 ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดีในกรณีดังต่อไปนี้

  1. เมื่อศาลได้มีคําสั่งให้ถอนการบังคับคดีเนื่องจากลูกหนี้ตามคําพิพากษายื่นอุทธรณ์หรือฎีกาและได้วางเงินต่อศาลเป็นจํานวนพอชําระหนี้ตามคําพิพากษาพร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมและค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี หรือได้หาประกํนมาให้ จนเป็นที่พอใจของศาลสําหรับจํานวนเงินเช่นว่านี้
  2. เมื่อศาลได้มีคําสั่งให้ถอนการบังคับคดีเนื่องจากคําพิพากษาในระหว่างบังคับคดีได้ถูกกลับหรือถูกยก หรือหมายบังคับคดีได้ถูกเพิกถอน แต่ถ้าคําพิพากษาในระหว่างบังคับคดีนั้นได้ถูกกลับแต่เพียงบางส่วน การบังคับคดีอาจดําเนินการต่อไปจนกว่าเงินที่รวบรวมได้นั้นจะพอชําระแก่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา
  3. เมื่อศาลได้แจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าศาลมีคําสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ตามมาตรา 199 เบญจ วรรคสาม หรือมาตรา 207
  4. เมื่อศาลได้มีคําสั่งให้ถอนการบังคับคดีตามมาตรา 293
  5. เมื่อลูกหนี้ตามคําพิพากษาได้วางเงินต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อเป็นการชําระหนี้ตามคําพิพากษาพร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมและค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี
  6. เมื่อเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาได้แจ้งเป็นหนังสือไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าตนสละสิทธิในการบังคับคดี ในกรณีเช่นว่านี้ เจ้าหนี้ตามคําพิพากษานั้นจะบังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาสําหรับหนี้นั้นอีกมิได
  7. เมื่อเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาได้แจ้งเป็นหนังสือไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าตนขอถอนการบังคับคดี

มาตรา 293 ถ้าเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาเพิกเฉยไม่ดําเนินการบังคับคดีภายในระยะเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานต่อศาลขอให้ศาลสั่งถอนการบังคับคดีนั้นเสีย

มาตรา 294 ในกรณีที่มีการยึดทรัพย์สินซึ่งมิใช่ตัวเงิน หรือในกรณียึดหรืออายัดเงิน หรืออายัดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจําหน่ายเนื่องจากเจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดีนั้นเองหรือถอนโดยคําสั่งศาล และผู้ขอให้ยึดหรืออายัดไม่ชําระค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานต่อศาลขอให้บังคับคดีแก่ทรัพย์สินของผู้นั้นเพื่อชําระค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี

ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ถือว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา และผู้ขอให้ยึดหรืออายัดเป็นลูกหนี้ตามคําพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีนั้น และให้เจ้าพนักงานบังคับคดีบังคับคดีได้เอง โดยได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมทั้งปวง

มาตรา 295 และ 295 ทวิ บัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดีในกรณีต่อไปนี้

  1. ลูกหนี้ตามคำพิพากษาวางเงินหรือหาประกัน

มาตรา 295 (1) เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดี หรือถอนโดยคำสั่งศาลแล้วแต่กรณี เมื่อลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้วางเงินต่อศาลหรือต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี เป็นจำนวนพอชำระหนี้ตามคำพิพากษา พร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมแห่งคดีหรือค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีหรือหาประกันมาให้จนเป็นที่พอใจของศาล สำหรับจำนวนเงินที่จะต้องชำระ เพราะความมุ่งหมายในการบังคับคดีก็เพื่อบังคับเอาชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อลูกหนี้ตามคำพิพากษานำเงินมาวางจนครบถ้วน หรือหาประกันมาจนเป็นที่พอใจของศาลและเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว การดำเนินการบังคับคดีต่อไปก็หมดความจำเป็น

  1. เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาสละสิทธิในการบังคับคดี

มาตรา 295 (2) เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้แจ้งไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นหนังสือว่าตนสละสิทธิในการบังคับคดี เพราะการบังคับคดีเป็นเรื่องของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หากไม่ประสงค์จะบังคับคดีก็เป็นสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา

  1. คำพิพากษาถูกกลับหรือหมายบังคับคดีถูกยกเลิก

มาตรา 295 (3) ถ้าคำพิพากษาในระหว่างบังคับคดีได้ถูกกลับในชั้นที่สุด หรือหมายบังคับคดีได้ถูกยกเลิกเสีย เมื่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีได้ส่งคำสั่งให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี แต่ถ้าคำพิพากษาในระหว่างบังคับคดีนั้นได้ถูกกลับเพียงบางส่วน การบังคับคดีอาจดำเนินอยู่ต่อไปจนกว่าเงินที่รวบรวมได้นั้นจะพอชำระแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา

  1. เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพิกเฉยไม่ดำเนินการบังคับคดี

มาตรา 295 ทวิ บัญญัติว่า “ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพิกเฉยไม่ดำเนินการบังคับคดีภายในระยะเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ศาลสั่งถอนการบังคับคดีนั้นเสีย” มาตรา 295 ทวิ เป็นบทบัญญัติเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่ เหตุที่ต้องบัญญัติเช่นนี้ เนื่องจากเดิมในกรณีเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ดำเนินการบังคับคดีภายในระยะเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนด ไม่มีบทบัญญัติให้ถอนการบังคับคดี แม้กรณีเช่นนี้จะเข้าหลักเกณฑ์การงดการบังคับคดีตามมาตรา 292 แต่การงดการบังคับคดีไม่ทำให้เรื่องเสร็จสิ้นไป และจะถอนการบังคับคดีตามมาตรา 295 ก็ไม่ได้ การบังคับคดีจึงตกค้างอยู่ เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่สามารถปิดสำนวนการบังคับคดีได้ มาตรา 295 ทวิ จึงเป็นบทบัญญัติเพิ่มเติมเพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจขอให้ศาลสั่งถอนการบังคับคดี ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพิกเฉยไม่ดำเนินการบังคับคดี

ลงประกาศฟรี !!! ไม่มีค่าใช้จ่ายลงประกาศเลย คลิ๊ก …

ขายคอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดิน กับ Dot Property ขายง่าย ขายไว หรือต้องการซื้อ-เช่า !!! คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินทั่วไทยมากกว่า 300,000 รายการคลิ๊กที่นี่