แชร์ประสบการณ์ ประมูลบ้านจากกรมบังคับคดี แล้วโดนยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขาย

กรมบังคับคดี

วันนี้เรามีเรื่องราวที่อยากจะมานำเสนอเป็นอุทาหรณ์สำหรับใตรก็ตามที่ตอนนี้มีแผนหรือสนใจที่จะทำการซื้ออสังหาริมทรัพย์จากการประมูลบ้าน กรมบังคับคดี ลองอ่านบทความนี้ก่อน ประสบการณ์ตรงจากคุณ  สมาชิกหมายเลข 2874618 สมาชิกจากเว็บไซต์ pantip.com ที่ได้มาแชร์ไว้เตือนทุกท่านในครั้งนี้

ประสบการณ์ประมูลบ้านจาก กรมบังคับคดี แล้วโดนยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขาย BY  คุณ  สมาชิกหมายเลข 2874618

กรมบังคับคดี

จขกท. ได้ประมูลบ้านจากกรมบังคับคดีปี 2557 วันนั้นตั้งใจไปประมูลหลังอื่น แต่ปรากฏว่าหลังที่จะประมูลมีคนสู้ราคาหลายคน จึงเปลี่ยนมาประมูลบ้านต้นเรื่อง  ในวันที่ประมูล ธนาคารเจ้าของคดีมากัน 2 คน นั่งอยู่ด้านหน้าอยู่ห่างจาก บัลลังค์ ไม่เกิน 2 เมตร  ส่วนเราอยู่หลังห้อง พอถึงเวลาประมูล จนท แบงค์เป็นคนยกป้ายเริ่มประมูลก่อน พอจนทบังคับคดีถามมีใครประมูลอีกมั้ย เราก็ยกป้าย บังคับคดีก็ถามใครจะประมูลอีก

ปรากฏว่าไม่มีเค้ากับนับตามวิธีปฏิบัติ แล้วก็เคาะไม้ขาย ปรากฏว่าเราได้  เค้าก็เรียกไปทำสัญญา ระหว่างกำลังเดินไปทำสัญญา จนท.แบงค์ก็มาหาเราขอให้ยกเลิกการขาย เค้าขายราคาที่เราประมูลไม่ได้ เราก็ถามว่าแล้วทำไมไม่ประมูลต่อ เค้าก็บอกหนูไม่ได้ยิน (ชีเล่นโทรศัพท์ตลอดทั้ง 2 คน)

เราเลยถามว่าจะให้พี่ทำยังไง เค้าบอกจะให้ค่าเสียเวลา เราบอกว่าการประมูลมันจบไปแล้ว ถ้าจะซื้อต่อต้องไปทำธุรกรรมที่ที่ดิน เราไม่ได้ซื้อกับคุณเราประมูลจากบังคับคดี สรุปว่าโน่นก็ไม่ได้ นี่ก็ไม่เอา ให้เราเห็นใจ  เราเลยไปถาม จนท.บังคับคดีว่าเรายกเลิกการซื้อได้หรือไม่ เจ้าหน้าที่บอกถ้ายกเลิกการซื้อ

  1. เราต้องติดแบล็คลิสต์ถ้าจะประมูลทรัพย์อื่นต้องวางเงิน 100 % และเมื่อประมูลทรัพย์อะไรได้ต้องชำระเงินภายใน 15 วัน ไม่มีขยาย
  2. ถ้าทรัพย์ที่เรายกเลิก มีการนำกลับมาประมูลใหม่แล้วได้ราคาต่ำกว่าเดิม เราต้องเสียส่วนต่างและค่าใช้จ่ายทั้งหลายทั้งปวง
  3. ถ้ามีการฮั้วประมูล จะมีความผิด (กรณีนี้ธนาคารเข้าข่ายพยายามมาฮั้วประมูลกับเรารึปล่าว)

สรุป จนท.ธนาคารจะเอาแต่ได้ คนอื่นจะซวยเพราะความสับเพร่าของตัวจนท.เองก็ไม่สน ถ้ายกเลิกการขายเราจะมีแต่เสียกับเสีย  ในวันนั้นถามว่าคุณมีบั้ดเจทที่เท่าไร (หมายถึงตั้งใจจะประมูลถึงเท่าไร) เราจะเอาเท่านั้น แล้วไปทำธุรกรรมที่ที่ดินเลยจะได้จบ สรุปเค้าไม่เอาเค้าจะเอาราคาต่ำ ๆ เท่าที่เราประมูลได้ จากนั้นเราเลยไปทำสัญญากับบังคับคดี แล้วก็กลับบ้าน  จากนั้นประมาณ 3 สัปดาห์ มีเอกสารมาที่บ้าน เป็นคำร้องที่โจทย์(ธนาคาร) ขอยื่นคำร้องขอให้ยกเลิกการขาย

ในคำร้องระบุเหตุผลดังนี้

  1. บังคับคดีขายโดยมิชอบ ไม่ยอมแจ้งให้เค้ารู้ว่ามีใครมาประมูลบ้าง (ซึ่งมันไม่ใช่หน้าที่ของบังคับคดี)
  2. บังคับคดีไม่ได้ขายตามกระบวนการ ไม่ได้เคาะไม้ เค้าไม่ได้ยิน (เค้านั่งหน้าห้อง เรานั่งหลังห้อง)
  3. จนท.และ จขกท. ร่วมกัน สมคบ ทุจริต ยักยอก ฉ้อฉล
  4. จขกท.ซื้อในราคาต่ำเกินไป ไม่เป็นธรรมกับจำเลย

เมื่อได้รับเอกสาร ควันถึงกับออกหู ไม่เคยโดนใครว่าสมคบทุจริต ยักยอก ฉ้อฉล  ธนาคารมันเป็นใครถึงกล้ามาว่าเรา  ทนายเราให้ความรู้ว่าถ้าไม่ใส่ข้อหานี้ มันไม่มีมูลเหตุให้ยกเลิก  สรุป เรื่องไม่จริงเอามาพูดได้ซะงั้น บังคับคดีน่าสงสารที่สุด ทำหน้าที่ด้วยความสุจริต แต่ต้องมาซวยเพราะความสับเพร่าของ จนท ธนาคาร  บังคับคดีอยากให้เราฟ้องหมิ่นประมาท เค้าอยากฟ้องเองแต่ไม่สามารถเพราะต้องจ่ายค่าทนายเอง

ในส่วนของการสู้คดี เราจ้างทนาย หลังจากทางเราส่งเอกสารคัดค้าน ศาลนัดไปสืบพยาน เราไปศาล ศาลท่านพูดว่า “เคสนี้แปลกโจทย์เป็นคนยื่นคำร้องไม่ใช่จำเลยยื่น ” ซึ่งยิ่งแสดงถึงความแย่ของธนาคาร  หลังจากเรายื่นเอกสารซึ่งเหตุผลมันชัดเจนตรงไปตรงมา  ทางธนาคารถึงกับยื่นขยายเวลาแล้วไปทำเอกสารมาใหม่ แล้วไปตามหาจำเลยมาช่วยยื่นคำร้อง

ทั้งนี้จำเลยเค้าไม่ได้สนใจแล้ว  สรุป มีการเลื่อนนัด  8 ครั้ง จำเลยไม่เคยมา  จนครั้งที่ 9 เราเลยขอความเมตตาจากศาลว่าเรามาหลายรอบแล้ว และเราอยู่ไกลมากต้องขับรถข้ามจังหวัด ศาลท่านก็เลยสืบทางเราใช้เวลา 10 นาที จบ  ธนาคารพยายามใช้เทคนิคต่าง ๆ นานา เช่น จำเลยไม่อยู่ ไม่ได้รับเอกสาร เลยไม่ได้ไปค้าน  คือ ประมูลมีทั้งหมด 4 ครั้ง ศาลนัดอีก 8 ครั้ง รวม 12 ครั้งไม่เคยมาเลย  ถ้าเป็นตาสีตาสาโดนธนาคารทำแบบนี้คือเสร็จคือยอมแพ้  ใช้วิธีเลื่อน ๆ ๆ ๆ ใครลางานไม่ได้มาไม่ได้ก็แพ้ไป

 

แนวทางชี้แจงศาลคือ

1.ธนาคารบอกว่าจำเลยไม่ได้รับเอกสารฟังไม่ขึ้นเพราะ

– บ้านมีคนอยู่(เจ้าตัว/บริวาร)

– ค้นจากประกันสังคมแล้ว จำเลยอยู่ในพื้นที่

  1. เราไม่รู้ชื่อบังคับคดี แล้วจะไปสมคบกันตอนไหน
  2. ธนาคารเห็นใจจำเลยเพราะประมูลไปราคาถูก แต่ธนาคารเป็นคนเริ่มประมูลก่อน ถ้าเราไม่ประมูลสู้คือธนาคารให้ราคาต่ำกว่าของเรา
  3. ในการสู้คดีเราก็ค้นเอาสารคำตัดสินฏีกาเก่า ๆ ประกอบ

นอกจากดำเนินการทางศาลแล้ว เรายังได้ทำจดหมายไปถึง กรรมการผจก ธนาคาร ว่าเราได้รับความเสียหายจากความไม่ชอบธรรม ความไม่มีธรรมมาภิบาลของธนาคาร กลั่นแกล้งเรา ทั้งที่ความสับเพร่าของตัวแทนธนาคาร  แต่เค้าให้สาขาโทรมาว่าเราซื้อถูกไป  สิ่งที่เค้าว่าเราทุจริต สมคบฉ้อฉลคือตามนั้น  เราต้องการฟ้องหมิ่นประมาท แต่ทนายบอกว่าไม่มีประโยชน์ ธนาคารไม่สนใจเพราะเงินที่ใช้มาสู้คดีไม่ใช่เงินของผู้บริหาร เราก็ต้องจำยอม

สรุป ผ่านมา 4 ปี 3 ศาล เราก็ชนะ คือยกคำร้อง จึงขอแชร์ประสบการณ์เผื่อจะเป็นประโยชน์กับท่านอื่นบ้างค่ะ

กรมบังคับคดี

สาเหตุที่จนท บังคับคดี ก็ต้องไปขึ้นศาลหลายรอบ เพราะถูกกล่าวหาว่า

  1. ร่วมกันทุจริตกับผู้ประมูล
  2. ปฎิบัติหน้าที่บกพร่องร้ายแรง ไม่บอกธนาคารว่ามีใครมาประมูลบ้าง (ขำ) ไม่ขานตามขั้นตอน ไม่เคาะไม้ (ไม่จริงทำตามขั้นตอนทุกอย่าง)

ถ้าเราแพ้เราก็เฉยๆ ไม่ซื้อก็ไม่มีอะไร เราก็ไปซื้อหลังอื่นได้  ตอนได้เรายังตกใจเลย เฮ่ย ทำไมไม่มีคนประมูล ชั้นซื้อแพงไปรึป่าวเพราะเรามี reference  บ้านหลังอื่นในละแวกนั้น  แต่ๆ เรื่องประมูลก็เรื่องนึง คนซวยหนักคือ จนท บังคับคดี มันจะเอาให้เค้าผิดวินัยเลย  ทุเรศมั้ยล่ะ

วันแรกที่มาขอให้เรายกเลิกการขาย จริง ๆ เราก็จะช่วยแบงค์นะ เราไปถามบังคับคดีว่าทำได้มั้ย  ปรากฏว่าไม่ควรทำเพราะผลเสียจะตามมามาก   พอคำร้องมาที่บ้านเราเจอ สมคบทุจริต ฉ้อฉล นี่ แม่เราตัวสั่นเลย เราก็ควันออกหู ตั้งทนายทันที  เสียค่าทนายไม่ใช่น้อยนะ  แถมมันลากเราถึง 3 ศาล เสียค่าทนาย 3 รอบ  บังคับคดีเป็นนิติกรด้วย เค้ารอเราฟ้องหมิ่นประมาท

อย่างที่บอก เราถามเค้าทำไมไม่ฟ้องเอง คุณเป็นตัวแทนบังคับคดี แล้วโดนหมิ่นหาว่าทุจริต หาว่าสมคบ หาว่าฉ้อฉล เค้าบอกสำนักงานไม่มีงบตรงนี้ถ้าฟ้องต้องจ่ายค่าทนายเอง  แล้วอย่างที่บอก ได้จดหมายขอโทษฉบับเดียว ชีวิตมันก็เป็นแบบนี้แหละ  ปกติคดีนี้ไม่ได้ยากเย็น  แต่มันลากเราถึงสี่ปีกว่า  ถ้าเป็นคนที่ทำงานต้องลางานไปจะทำยังไง คงกะแบบนี้   ถ้าคนไม่รู้เรื่องก็คงโดนถล่มเละ

กรมบังคับคดี

ในส่วนของคำร้อง

” ในการขายทอดตลาดนัด 1-3 ไมีมีผู้เข้าสู้ราคา ต่อมาในนัด 4 จนทบ(เจ้าหน้าที่บังคับคดี) ได้ขาย ทด+สปส ให้ …เรา… ในราคาเพียง+++ และ จนทบ อนุญาตให้ขยายระยะเวลาไปจนถึง ***(ตามระเบียบปกติ)

“โจทย์ขอกราบเรียนว่า ทดสปส มีราคาซื้อในท้องตลาดไม่ต่ำกว่า+++ การที่ จนทบ ขายให้…เรา…ไม่เป็นธรรมต่อจำเลย และทำให้โจทย์ในฐานะเจ้าหนี้ได้รับความเสียหาย ทั้งที่ จนทบ มีหน้าที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของคู่ความให้ได้ราคาสูงสุด และมีอำนาจที่จะถอนเมื่อราคาเสนอซื้อต่ำเกินสมควร

“โจทย์ได้อนุมัติให้ผู้แทนเสนอราคาสูงสุดไม่เกิน ++++ ในวันดังกล่าวก่อนเริ่มการขาย จนทบ มิได้แจ้งว่า มีบุคคลอื่นเข้าสู้ราคา ทำให้ผู้แทนเข้าใจว่ามีผู้เข้าสู้ราคาคือโจทย์รายเดียว

*** ” เมื่อโจทย์เสนอราคา +++ เมื่อ …เรา…เสนอราคาที่ +++ ซึ่งเป็นราคาสูงสุดในขณะนั้น จนทบ มิได้เปิดโอกาสให้โจทย์ได้เสนอราคาที่สูงว่า หรือสอบถามโจทย์ว่าจะให้ราคาเพิ่มขึ้นหรือไม่ หรือจะคัดค้านราคาดังกล่าวหรือไม่ตามกฎหมาย แต่กลับเร่งรัดตลงขายไปในทันที โดยมิได้เคาะไม้ขายตามที่กำหนดในกฏกระทรวง จึงถือได้ว่า การขายทอดตลาดในครั้งนี้ เกิดจาก *** **การคบคิดฉ้อฉล หรือความไม่สุจริต หรือ ความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงขอบ จนทบ ในการปฏิบัติหน้าที่*****

แนวทางคัดค้าน

  1. แบงค์เอา จนท.ประเมินราคาของแบงค์มาเป็นพยาน แล้วก็บอกว่าราคาตลาดอยู่เท่านั้นเท่านี้ ฝั่งเราก็บอกว่ามันเป็นการครอบงำ จะพูดเท่าไรก็ได้ซึ่งศาลเห็นด้วย และที่ว่าราคาต่ำนั้น แบงค์เป็นคนเริ่มประมูลก่อน เราเสนอสูงกว่าแบงค์และสูงกว่าราคาประเมิน พร้อมทั้งเรายังมีเอกสารราคาประเมิน ทดสปส ในละแวกใกล้เคียงมาประกอบ ในส่วนของทำความเสียหายให้โจทย์  โจทย์ประมูลต่อได้ คัดค้านได้ ณ เวลานั้น แต่ไม่ทำ รวมทั้งจำเลยไม่มาดูการประมูลและไม่มาคัดค้าน แบงค์บอกว่าจำเลยไม่ทราบไม่ได้อยู่ในพื้นที่(แบงค์รู้ดีทุกอย่าง)  จนทบ บอกว่าได้ปิดหมายแล้ว  และบ้านนั้นมีคนอยู่(บริวาร)  รวมทั้งเราไปคัดประกันสังคมจำเลยก็อยู่ ไม่ได้อยู่ ตจว. อย่างที่แบงค์อ้าง

ในส่วนของราคาประมูลต่ำควรเห็นใจจำเลย ทนายเราได้ชี้แจงว่า ธนาคารเป็นเริ่มประมูลก่อน ในราคาที่ต่ำกว่าของเรา ถ้าเราไม่ประมูลขึ้นราคาธนาคารก็คงได้ที่ราคาต่ำสุด(ราคาแรกที่ประมูลแล้ว) ดังนั้นอันนี้จึงตกไป ถ้าเห็นใจธนาคารต้องประมูลสุดเพดานที่ได้ราคามา(ซึ่งเราไม่สู้แน่)

ในส่วนของ จนทบ มีการขานราคาตามปกติ  แล้วก็ถามว่ามีใครจะประมูลมั้ย ซึ่งไม่มี เค้าก็เคาะไม้ตามปกติ  อันนี้พยานหลักฐานเต็มที่ว่า จนทบ ทำตามระเบียบ  เรื่องจะบอกว่ามีใครมาประมูลมั่ง ไม่ใช่หน้าที่

 

เอกสารที่เราเตรียมให้ทนาย (อย่าหวังพึ่งแต่ทนายอย่างเดียว เราต้องศึกษาและช่วยกันเพราะมันเป็นคดีของเรา)

– ราคาประเมินทรัพย์สินในละแวกใกล้เคียง เพื่อพิสูจน์ว่าราคาเราก็ไม่ได้ต่ำอะไร

– คำพิพากษาศาลฏีกาเกี่ยวกับคดีแนวนี้ เป็นสิบคดี

– ข้อกฏหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

เพิ่มเติมให้นะทุกคน  หน้า 36 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 69 ก  6 กค 2560  ใจความสำคัญ

” ห้ามมิให้บุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีทั้งหลาย หยิบบกเรื่องราคาที่ได้จากการขายทอดตลาดมีจำนวนต่ำเกินสมควร มาเป็นเหตุขอให้มีการเพิกถอนการขายทอดตลาดนั้นอีก”

สาเหตุที่คุณ สมาชิกหมายเลข 2874618 ไม่ฟ้องกลับ เพราะ จะโดนลากไปศาลอีก 4 ปี ไหนจะเสียค่าทนายที่ไม่ใช่จะถูก รวมไปถึง ทนายแนะนำอย่างไปทำ เหนื่อยแรง และพลังภาย เพื่อแลกมาได้แค่ความสะใจ กับจดหมายฉบับเดียวเท่านั้นเอง นี่แหละชีวิต

 

ขอขอบคุณเรื่องราวและประสบการณ์ จากคุณ สมาชิกหมายเลข 2874618 สมาชิกจากเว็บไซต์ pantip.com

 

สนใจข้อมูลข่าวสารเด่นๆ คอนเทนท์ร้อน ที่เรานำมาเสริฟให้คุณผู้อ่านในทุกๆวันจาก Dotproperty คลิ๊ก.