สำหรับใครที่กำลังมีปัญหาในด้านสิทธิในส่วนที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือกำลังคิดจะลงทุนในด้านนี้ ก็ควรจะรู้ว่า กรมบังคับคดี มีความสำคัญต่อเรายังไง บทบาทหน้าที่ต่อ ธุรกิจ ธุรกรรม ต่ออสังหาริมทรัพย์อย่างไรบ้าง เพื่อไม่ให้เสียผลประโยชน์ ต่อการถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้อื่น หรือมิจฉาชีพ
“ กรมบังคับคดี ” เริ่มต้นจาการพัฒนาหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม เมื่อปี พ.ศ. 2517 โดยกระทรวงยุติธรรมได้ทำการยกฐานะของ “กองบังคับคดีแพ่ง” และ “กองบังคับคดีล้มละลาย” โดยจัดตั้งขึ้นเป็น “กรมบังคับคดี” ในสังกัดกระทรวงยุติธรรม
พันธกิจ
ก่อนอื่นเรามารู้ถึงเป่าหมายและความมุ่งมั่นของ “กรมบังคับคดี” ก่อนว่า ภารกิจหน้าที่ที่จะปฏิบัติงานและให้บริการแก่ประชาชนอย่างเรานั้น ว่ามีจุดประสงค์อย่างไรกันบ้าง
- ให้บริการด้านการบังคับคดีแพ่ง คดีล้มละลาย การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ การชำระบัญชี การวางทรัพย์และการไกล่เกลี่ยภายหลังคำพิพากษา อย่างมีประสิทธิภาพ เสมอภาคและเป็นธรรม
- ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และการพัฒนาระบบการบังคับคดีแพ่ง คดีล้มละลาย การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ การชำระบัญชี วางทรัพย์และการไกล่เกลี่ยภายหลังคำพิพากษา ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งพัฒนาและระบบงานสนับสนุน ให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ
- พัฒนากฏหมาย ระเบียบ และคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการบังคับคดี ให้ทันสมัยและเป็นมาตรฐานสากล
- พัฒนาเคลือข่ายและความร่วมมือ ด้านการบังคับคดีกับองค์กร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- พัฒนาองค์กรและระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ
- พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถและความเชี่ยวชาญ มีจิตสำนึกต่อการบริการอย่างมีคุณธรรม และจริยธรรม
- เผยแพร่ความรู้ทางด้านกฏหมายการบังคับคดี การวางทรัพย์ การไกล่เกลี่ยภายหลังคำพิพากษา และกฏหมายที่เกี่ยวข้องให้แก่ประชาชน ได้เข้าใจอย่างทั่วถึง
การแบ่งส่วนราชการ กรมบังคับคดี
โดยในส่วนงานราชการของ “กรมบังคับคดี” นั้นถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆด้วยกัน คือ ส่วนกลาง และ ส่วนภูมิภาค โดยแบ่งส่วนราชการกรมบังคับคดี ได้ดังต่อไปนี้
ราชการบริหารส่วนกลาง
- สํานักงานเลขานุการกรม
- กองติดตามและเฉลี่ยทรัพย์สินในคดีล้มละลาย
3-8. กองบังคับคดีล้มละลาย 1-6
- กองบริหารการคลัง
- กองบริหารทรัพยากรบุคคล
- กองพัฒนาระบบการบังคับคดีและประเมินราคาทรัพย์
12-17. สํานักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 1-6
- สํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
- กลุ่มตรวจสอบภายใน
- กลุ่มพัฒนาบริหาร
- กลุ่มงานคุ้มคลองจริยธรรม
- ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
- ศูนย์สารสนเทศ
ราชการบริหารส่วนภูมิภาค
- สำนักงานบังคับคดีจังหวัด
สำนักงานบังคับคดีจังหวัด….สาขา….
อำนาจและหน้าที่หน่วยงานในกรมบังคับคดี
ส่วนกลาง
1.สํานักงานเลขานุการกรม
มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติราชการทั่วไปของกรม และราชการอื่นที่มิได้แยกให้เป็นหน้าที่ของกองหรือส่วนราชการใดโดยเฉพาะ อํานาจหน้าที่ดังกล่าวให้รวมถึง
- ปฏิบัติงานสารบรรณของกรม
- ดําเนินการเกี่ยวกับงานช่วยอํานวยการและงานเลขานุการของกรม
- ประสานราชการและเผยแพร่กิจกรรม ความรู้ ความก้าวหน้า และผลงานของกรม
- เสนอแนะและประสานการจัดทําแผนปฏิบัติงานของกรมให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนแม่บทของกระทรวงรวมทั้งการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการของหน่วยงานในสังกัด
- วางแผนและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบสารสนเทศของกรม
- ดําเนินการเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลสภาพทรัพย์ที่ถูกยึด คําคู่ความ หนังสือ หรือประกาศ และการเก็บสํานวนในคดีล้มละลาย รวมทั้งการรักษาทรัพย์
- ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
2.กองติดตามและเฉลี่ยทรัพย์ในคดีล้มละลาย มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
- ติดตามและรวบรวมทรัพย์สิน รวมทั้งตรวจสอบข้อมูล เอกสาร และหลักฐานทางการเงินต่างๆของลูกหนี้ในคดีล้มละลายตามกฎหมายว่าด้วยการล้มละลาย
- คํานวณเงินตามคําสั่งและคําร้องในสํานวนคดี
- จัดการสะสางกิจการและติดตามทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย
- จัดทําบัญชีแบ่งทรัพย์สินในการบังคับคดีล้มละลายและการชําระบัญชีตามคําสั่งศาล
- ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
3 – 8.กองบังคับคดีล้มละลาย 1-6 มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
- ดําเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีล้มละลายตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย
- ดําเนินการชําระบัญชีห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือนิติบุคคลในฐานะผู้ชําระบัญชีตามคําสั่งศาล
- ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
9.กองบริหารการคลัง มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
- ดําเนินการเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การงบประมาณ การพัสดุ อาคารสถานที่ และยานพาหนะของกรม
- จัดทําบัญชีเพื่อควบคุมเงินที่อยู่ระหว่างดําเนินการบังคับคดีและเงินอื่นที่เกี่ยวข้องกับคดี
- ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
10.กองบริหารทรัพยากรบุคคล มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
- บริหารงานทรัพยากรบุคคลและจัดระบบงานของกรม
- ดำนเนินการอบรมพัฒนาเจ้าหน้าที่กรมบังคับคดี และบุคลากรภายนอก ให้มีความรู้ ความเข้าใจในการบังคับคดีแพ่ง การบังคับคดีล้มลาย การวางทรัพย์ และเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
- ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
11.กองพัฒนาระบบการบังคับคดีและประเมินราคาทรัพย์ มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนนี้
- ศึกษา พัฒนา และวิจัยระบบและรูปแบบการบังคับคดีแพ่ง การบังคับคดีล้มละลาย การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ การวางทรัพย์ การติดตามและเฉลี่ยทรัพย์ และการประเมินราคาทรัพย์
- ดําเนินการเกี่ยวกับการประเมินราคาทรัพย์ และปฏิบัติงานในฐานะฝ่ายเลขานุการ คณะกรรมการกําหนดราคาทรัพย์
- ประสานและพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการในด้านการบังคับคดีกับองค์การหรือพนักงานต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศในด้านการบังคับคดี
- ดําเนินการเกี่ยวกับงานกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง งานนิติกรรมและสัญญางานเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่งและอาญา งานคดีปกครอง และงานคดีอื่นที่อยู่ในอํานาจหน้าที่ของกรม
- ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
12 – 17.สํานักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 1 – 6 มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
- ดําเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่งและการวางทรัพย์ในกรุงเทพมหานคร
- ดําเนินการเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นบังคับคดี
- ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
18.สํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
- ดําเนินการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย
- ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
19.กลุ่มตรวจสอบภายใน
ทำหน้าที่หลักในการตรวจสอบดำเนินงานภายในกรม และสนับสนุนการปฏิบัติงานของกรม รับผิดชอบงานขึ้นตรงต่ออธิบดี โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
- ดำนเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบด้านการบริหาร การเงิน และ การบัญชีของกรม
- ปฏิบัติงารร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
20.กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
ทำหน้าที่หลักในการพัฒนาการบริหารของกรมให้เกิดผลสัมฤทธิ์ มีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รับผิดชอบงานขึ้นตรงต่ออธิบดี โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
- เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่อธิบดี เกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการภายในกรม
- ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานเกี่ยกับการพัฒนาระบบราชการภายในกรม
- ประสานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการร่วมกับหน่วยงานกลางต่างๆ และหน่วยงานภายในกรม
- ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
21.กลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรม มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
- ดำเนินการเผยแพร่ ปลูกฝัง ส่งเสริม ยกย่องข้าราชการที่เป็นแบบอย่างที่ดีและติดตามสอดส่องการปฏิบัติตามการประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือนอย่างสม่ำเสมอ
- สืบสวนข้อเท็จจริงการฝ่าฝืนจริยธรรม เพื่อรายงานผลให้อธิบดีพิจารณา ทั้งนี้ โดยอาจมีผู้ร้องเรียน หรืออาจดำเนินการตามที่อธิบดีมอบหมายหรือตามที่เห็นสมควรก็ได้
- ให้ความช่วยเหลือและดูแลข้าราชการ ซึ่งปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือนอย่างตรงไปตรงมา ไม่ให้ถูกลั่นแกล้งหรือถูกใช้อำนาจโดยไม่เป็นธรรม
- ทำหน้าที่ผ่ายเลขานุการของคณะกรรมการจริยธรรมประจำส่วนราชการ
- ดำเนินการอื่นตามที่กำหนดในประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน หรือตามที่หัวหน้าส่วนราชการคณะกรรมการจริยธรรม หรือตามที่ ก.พ. มอบหมาย ทั้งนี้โดยไม่กระทบต่อความเป็นอิสระของผู้ดำรงตำแหน่งในกลุ่มงานดังกล่าว
22.ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
- ดำเนินการเกี่ยวกับคดีไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ภายหลังจากศาลมีคำพิพากษาทั้งก่อนและระหว่างการดำเนินการบังคับคดี
- ติดตามและประเมินผลการไกล่เกลี่ย จะจัดเก็บสถิติลักษณะของการเจรจาที่สำฤทธิ์ผล จำทำเป็นองค์ความรู้ในการดำเนินการ
- จัดอบรมผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยให้มีประสิมธิภาพ รวมทั้งจัดอบรมเผยแพร่ให้ความรู้เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นบังคับคดีให้แก่ประชาชน
- ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
23.ศูนย์สารสนเทศ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
- สำรวจ รวบรวมศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการ วางแผนพัฒนา ปรับปรุง บำรุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์โปรแกรม และวางแผนสารสนเทศ ตลอดจนระบบสำนักงานอัตโนมัติ รวมทั้งให้บริการข้อมูลสาระสนเทศในรูปแบบสื่อต่างๆ
- ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
ส่วนภูมิภาค
24.สำนักงานบังคับคดีจังหวัด/สาขา มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
- ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง
- ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีล้มละลาย ตามกฏหมายที่ว่าด้วยการล้มละลาย
- ดำเนินการเกี่ยวกับการวางทรัพย์
- ดำเนินการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือนิติบุคคล ในฐานะผู้ชำระบัญชีตามคำสั่งศาล
- ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
ลงประกาศฟรี !!! ไม่มีค่าใช้จ่ายลงประกาศเลย คลิ๊ก …
ขายคอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดิน กับ Dot Property ขายง่าย ขายไว หรือต้องการซื้อ-เช่า !!! คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินทั่วไทยมากกว่า 300,000 รายการคลิ๊กที่นี่