แดนแห่งกรรมสิทธิ์ และการใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดิน

กรรมสิทธิ์ที่ดิน

ถือว่าเป็นปัญหาอีกเรื่องหนึ่งในการครอบครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน คือเรื่องขอบเขต กรรมสิทธิ์ที่ดิน ผู้ที่เป็นเจ้าของมีสิทธิและหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติต่อผู้ถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ติดกัน ในภาษาทางกฎหมายเราจะเรียกกันว่า “ แดนกรรมสิทธิ์ ” ในแง่กฎหมายจะมีข้อกำหนดซึ่งถือเป็นหลักปฏิบัติสำคัญ เป็นสิ่งจำเป็นที่คุณจะต้องรู้เพื่อที่จะได้ไม่เกิดการบุกรุกและละเมิดสิทธิของผู้อื่นดังนี้

การใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดิน

กรรมสิทธิ์ที่ดิน

  • ในทางกฎหมายได้กำหนดแดนแห่งกรรมสิทธิ์ไว้ในมาตรา 1335 ว่า แดนกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นกินเหนือพื้นดินและใต้พื้นดินด้วย ดังนั้นเจ้าของที่ดินจึงมีสิทธิใช้ประโยชน์ ทั้งบนดินและใต้พื้นดินในอนาเขตของตนเองได้ ยกตัวอย่างเช่น การสร้างคอนโดถือว่าเป็นแดนกรรมสิทธิ์ของเรา เพราะเรามีสิทธิ์ในที่ดินของเราทั้งบนฟ้าและใต้ดินตราบใดที่โครงสร้างของตัวอาคารยังอยู่ในเขตพื้นที่ดินของเราที่ปักหมุดไว้ ก็จะถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของเรา ไม่ผิดกฎหมาย และ สามารถก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างได้ไม่เกิน พ.ร.บ. ควบคุมอาคารอนุญาตนอกจากนี้ยังถูกจากัดสิทธิภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อีกด้วย
  • เจ้าของอสังหาริมทรัพย์จะต้องไม่ทำหลังคาหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ที่ทำให้น้ำฝนตกลงไปยังทรัพย์สินทรัพย์ของผู้ที่อยู่ติดต่อกัน เราอาจจะเคยเห็นมาแล้วสำหรับโครงการคอนโดนั้นเอง ทีนี้คุณก็จะทราบแล้วว่าทำไมคอนโดถึงไม่สร้างหลังคาปกคลุมชั้นสูงสุดแต่ทำเป็นที่รองรับน้ำแทน
  • การสร้างบ่อ สระ หลุมรับน้ำโสโครก หรือหลุมรับปุ๋ยหรือขยะมูลผอยนั้นห้ามขุดภายในระยะ 2 เมตร จากแนวเขตที่ดิน ซึ่งเป็นบทบัญญัติห้ามเด็ดขาดไม่ว่า บ่อ สระ หรือหลุมนั้นจะมีความลึกเท่าใดก็ตาม คูหรือการขุดร่องเพื่อวางท่อน้ำใต้ดินหรือสิ่งอื่นซึ่งคล้ายกันนั้น ใกล้แนวเขตที่ดินกว่าครึ่งหนึ่งแห่งส่วนลึกของคูหรือร่องนั้นไม่ได้ ยกเว้นแต่จะทำห่างแนวเขตหนึ่งเมตรขึ้นไป ส่วนเรื่องการขุดคูหรือร่องเพื่อวางท่อน้ำใต้ดิน หรือสิ่งอื่นซึ่งคล้ายคลึงกันว่า จะขุดใกล้แนวเขตที่ดินเกินกว่าครึ่งหนึ่งแห่งส่วนลึกของคู่หรือร่องไม่ได้ เช่น คูมี ความลึก 1 เมตร ก็จะขุดใกล้แนวเขตที่ดินน้อยกว่า 50 เซนติเมตร ไม่ได้แต่ถ้าได้ทำห่างแนวเขต ที่ดินเกิน 1 เมตรจะขุดคู หรือร่องลึกเท่าใดก็ได้
  • ห้ามไม่ให้ขุดดินหรือบรรทุกน้ำหนักบนที่ดินเกินควรจนส่งผลประทบต่อที่ดินที่อยู่ติดต่อกัน เว้นแต่จะต้องมีการจัดการอย่างเพียงพอเพื่อป้องกันความเสียหายก่อน
  • รั้ว กำแพง รั้วต้นไม้ คู ที่ใช้ในเขตที่ดิน ในทางกฎหมายแล้วถือว่าเจ้าของที่ดินทั้งสองฝั่งเป็นเจ้าของร่วมกัน ดังนั้นในกรณีรั้วไม้หรือคู เจ้าของที่ดินฝั่งใดฝั่งหนึ่งมีสิทธิที่จะตัดรั้วต้นไม้แถมถมคูนั้นได้จนถึงแนวเขตที่ดินของตนเอง แต่ต้องทำกำแพงหรือทำรั้วตามแนวเขตนั้นด้วย
  • ถ้ามีต้นไม้อยู่ในแนวเขตที่ดิน ในทางกฎหมายนั้นถือว่าเจ้าของที่ดินทั้งสองฝั่งเป็นเจ้าของต้นไม้ร่วมกัน ดังนั้นดอกผลจึงเป็นเจ้าของเท่าๆกัน กรณีมีการตัดต้นไม้นั้น ไม้ก็จะเป็นขอวที่ดินคนละส่วนเท่าๆกันด้วย หากเจ้าของแต่ละฝ่ายจะต้องการให้ขุดหรือตัดต้นไม้ก็ได้ ส่วนค่าใช้จ่ายในการตัดหรือขุดนั้นต้องเสียเท่าๆกันทั้งสองฝ่าย แต่ถ้าเจ้าของอีกฝั่งหนึ่งสละสิทธิในต้นไม้ฝ่านที่ต้องการขุดหรือตัดต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่เพียงผู้เดียว แต่ถ้าต้นไม้นั้นเป็นหลักเขตสำคัญ ถ้าโค่นแล้วจะทำให้หลักเขตหายไป กรณีนี้จะไม่สามารถนำเนินการขุดหรือตัดต้นไม้นั้นได้
  • เจ้าของที่ดินสามารถตัดรากไม้ซึ่งรุกเข้ามาจากที่ดินติดต่อได้ แต่ถ้าเป้ฯกิ่งไม้ยื่นล่ำเข้ามาเจ้าของที่ดินต้องบอกกล่าวผู้ครอบครองที่ดินติดต่อกันให้ตัดภายในระยะเวลาอันสมควรก่อน ถ้าเจ้าของที่ดินที่อยู่ติดกันไม่ยอมตัดจึงสามารถจะตัดกิ่งไม้ได้
  • ดอกผลของตั้นไม้ที่หล่นตามธรรมชาติลงในที่ดินของฝั่งใดฝั่งหนึ่งนั้นจะถือว่าเป็นดอกผลของที่ดินแปลงนั้น
  • ที่ดินแปลงใดที่มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงสาธารณะได้นั้น ในทางกฎหมายจะกำหนดให้เจ้าของแปลงที่ดินแปลงนั้นจะผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้ ที่ดินแปลงใดที่มีทางออกได้แต่เมื่อต้องข้ามสระ บึง หรือทะเลหรือมีความชั้นของที่ดินตนเองกับทางสาธารณะที่ต่างกัน เจ้าของที่ดินสามารทำตามข้อแนะนำต่างๆได้ดังนี้

1.สำหรับผู้ที่มีที่ดินในพื้นที่ที่มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่ต้องเลือกให้พอสมควรแก่ความจำเป็นของผู้ตัวเรา และต้องคำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ถ้าจำเป็นเราสามารถสร้างถนนเป็นทางผ่านได้

2.สำหรับผู้ที่มีที่ดินในพื้นที่ที่มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่ ต้องชดใช้ค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่เพื่อชดเชยความเสียที่เกิดจากการสร้างทางผ่าน อาจจะกำหนดจ่ายค่าเสียหายเป็นรายปีก็ได้

กรณีที่ไม่มีการใช้ทางสำหรับเจ้าของที่ดินที่ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมแล้วนั้น เจ้าของที่ดินสามารถเรียกร้องให้เพิกถอนทางแห่งนั้นได้ ทางที่สร้างขึ้นเพื่อออกไปสู่งสาธารณะนั้น ถ้าเจ้าของที่ดินคนเดิมขายที่ดินไปแล้วมีคนเป็นเจ้าของรายใหม่ ทางแห่งนั้นก็จะยังคงอยู่ตราบที่ยังใช้ประโยชน์อยู่

  • เจ้าของที่ดินริมทางน้ำหรือมีทางน้ำผ่านจะไม่มีสิทธิชักเอาน้ำไว้กินเกินจำเป็นแก่ประโยชน์ของตนตามควรจนทำให้เสื่อมเสียแก่ที่ดินแปลงอื่นๆซึ่งอยู่ตามทางน้ำนั้น

ลงประกาศฟรี !!! ไม่มีค่าใช้จ่ายลงประกาศเลย คลิ๊ก …

ขายคอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดิน กับ Dot Property ขายง่าย ขายไว หรือต้องการซื้อ-เช่า !!! คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินทั่วไทยมากกว่า 300,000 รายการคลิ๊กที่นี่