การเติบโตของเมืองและภาคอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงการลงทุนของภาครัฐฯ เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ คาดความไม่แน่นอนทางการเมืองก่อนการเลือกตั้งไม่กระทบ
20 เมืองที่มีพลวัตสูงสุดในโลก(เมืองที่มีความ ไม่หยุดนิ่ง มากที่สุดในโลก)
- เบงกาลูรู (อินเดีย)
- ไฮเดอราบัด (อินเดีย)
- ฮานอย (เวียดนาม)
- เดลี (อินเดีย)
- ปูเน่ (อินเดีย)
- ไนโรบี (เคนย่า)
- เชนไน (อินเดีย)
- โฮจิมินห์ซิตี้ (เวียดนาม)
- ซีอาน (จีน)
- กวางโจว (จีน)
- นานกิง (จีน)
- มะนิลา (ฟิลิปปินส์)
- ปักกิ่ง (จีน)
- เซี่ยงไฮ้ (จีน)
- กอลกัตตา (อินเดีย)
- ฉงชิ่ง (จีน)
- หางโจว (จีน)
- กรุงเทพฯ (ไทย)
- เสิ่นเจิ้น (จีน)
- เฉิงตู (จีน)
ที่มา รายงาน City Momentum Index 2019 โดยเจแอลแอล
รายงานฉบับดังกล่าวของเจแอลแอลระบุว่า ในช่วงสองปีที่ผ่านมา พลวัตในภาคเศรษฐกิจของกรุงเทพฯ ค่อยๆ ปรับเพิ่มสูงขึ้น โดยมีแรงขับเคลื่อนปัจจัยสำคัญๆ ได้แก่ การเติบโตของภาคการท่องเที่ยว โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงสิบปีที่ผ่านมา การริเริ่มนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ตั้งแต่ปี 2559 เพื่อดึงดูดการลงทุนใหม่ๆ ที่จะช่วยเปลี่ยนโฉมเศรษฐกิจของประเทศ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นมากในปี 2560 โดยมีนักลงทุนต่างชาติจำนวนมากที่ประสบความสำเร็จในการร่วมลงทุนกับนักลงทุนไทย และการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค โดยกำลังมีการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า MRT ใหม่สี่สายควบคู่กับการก่อสร้างส่วนต่อขยายของสองสายที่มีอยู่เดิม
สำหรับปี 2562 นี้ ความไม่นอนทางการเมืองในประเทศไทย ทำยังเร็วเกินไปที่จะประเมินว่า กรุงเทพฯ จะยังสามารถรักษาระดับพลวัตของเมืองได้มากเท่ากับปีที่ผ่านหรือไม่ แม้การประกาศกำหนดการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในวันที่ 24 มีนาคม ได้รับผลตอบรับที่ดีทั้งจากภาคธุรกิจและประชาคมโลก แต่มีมีการคาดการณ์ว่า ความไม่แน่นอนทางการเมืองจะยังคงดำเนินต่อไปจนกว่าจะมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่หลังการเลือกตั้ง
นางสุพินท์ มีชูชีพ กรรมการผู้จัดการ เจแอลแอล กล่าวว่า “ความไม่แน่นอนทางการเมืองอาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจลงทุนของภาคธุรกิจอยู่บ้าง แต่เชื่อว่า หากมีผลกระทบใดๆ เกิดขึ้นจะเป็นเพียงระยะสั้นๆ เท่านั้น เนื่องจากความเชื่อมั่นน่าจะปรับตัวดีขึ้นเมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่หลังการเลือกตั้ง”
“นอกจากนี้ การขยายจำนวนของประชากรเมืองและปัจจัยพื้นฐานที่เข้มแข็งในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์กลุ่มหลักๆ คาดว่าจะยังคงเอื้อให้เศรษฐกิจและภาคอสังหาริมทรัพย์ของกรุงเทพฯ ยังคงเติบโตต่อไปได้ ซึ่งจะส่งผลให้กรุงเทพฯ ยังคงเป็นเมืองที่มีพลวัตสูงต่อไป” นางสุพินท์กล่าว
เอเชียครองตำแหน่งเมืองที่มีพลวัตสูงสุดในโลก
ในรายงาน City Momentum Index ของเจแอลแอล เมืองที่มีดัชนีพลวัตสูงสุดในระยะสั้นของโลก 20 เมือง มี 19 เมืองที่อยู่ในเอเชีย สะท้อนให้เห็นถึงระดับความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มสูงขึ้นของเอเชียเหนือภูมิภาคอื่นๆ ของโลก ทั้งในแง่ของการเติบโตของเมืองและเศรษฐกิจที่มีปัจจัยหนุนสำคัญ ได้แก่ โลกาภิวัฒน์ นวัตกรรม และการเติบโตของจำนวนประชากรในเมือง ทั้งนี้ โดยรวม พบว่าเมืองของอินเดียและจีนติดอันดับมากที่สุด มีสัดส่วนคิดเป็น 3 ใน 4 ของเมืองที่มีดัชนีพลวัตสูงสุด 20 อันดับแรกของโลก โดยเมืองที่มีค่าดัชนีสูงสุดคือเบงกาลูรู (ที่หนึ่ง) และไฮเดอราบัด (ที่สอง) ของอินเดีย ตามมาด้วยกรุงฮานอยของเวียดนามในอันดับที่สาม ส่วนเมืองเดียวในกลุ่มที่ได้อยู่ในเอเชียคือกรุงไนโรบี (ที่หก) ของประเทศเคนย่าซึ่งได้รับอานิสงค์จากการที่จีนเข้าไปลงทุนสูงในโครงการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค
เจรามี เคลลีย์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยเจแอลแอลทั่วโลก กล่าวว่า “เอเชียยังคงเป็นภูมิภาคที่มีพลวัตสูง โดยเมืองใหญ่ของประเทศต่างๆ ยังคงมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ มีความสามารถในการดึงดูดให้นักลงทุนเข้ามาลงทุน ดึงดูดบริษัทให้เข้ามาเปิดธุรกิจและผู้คนให้เข้ามาทำงาน-อยู่อาศัย”
เป็นที่ชัดเจนว่า บริษัทเทคโนโลยีเป็นกลุ่มธุรกิจหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตทั้งในภาคเศรษฐกิจและภาคอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงการเกิดขึ้นของกลุ่มธุรกิจสตาร์ทอัพอย่างคึกคักในเมืองต่างๆ เช่น เบงกาลูรู ไฮเดอราบัด โฮจิมินห์ซิตี้ และเสิ่นเจิ้น แม้เศรษฐกิจโลกกำลังเข้าสู่ภาวะชะลอตัว แต่ยังคงมีหลายๆ เมืองของโลกที่ยังคงมีสภาพเศรษฐกิจและตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่คึกคัก อย่างไรก็ดี แม้การเติบโตจะนำมาซึ่งโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แต่ขณะเดียวกันก็นำมาซึ่งความท้าทายที่เมืองต่างๆ ต้องให้ความสำคัญ เพื่อให้สามารถเปลี่ยนผ่านไปอยู่ในกลุ่มเมืองที่มีดัชนีพลวัตระยะยาว ซึ่งในประเด็นนี้ การลงทุนพัฒนาระบบสาธารณูปโภค และการพัฒนาความโปร่งใส เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนผ่านดังกล่าวได้
นายเคลลีย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “เมืองเหล่านี้ยังต้องให้ความสำคัญกับผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นตามมาจากการเติบโตที่รวดเร็วของเอง อาทิ ความเหลื่อมล้ำทางสังคม ความแออัด และความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม ทั้งนี้ การพัฒนาอังหาริมทรัพย์ที่ชาญฉลาด สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และการทำให้เกิดความโปร่งใส จะมีส่วนสำคัญในการช่วยรักษาให้การเติบโตของเมืองมีความยั่งยืนในระยะยาว”
การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อย่างสร้างสรรค์ด้วยวิสัยทัศน์ที่ยาวไกล ช่วยให้เมืองเติบโตอย่างยั่งยืน
การพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่มีการคิดวางแผนที่ดีและสร้างสรรค์ ด้วยวิสัยทัศน์ระยะยาวที่จะช่วยให้สามารถรองรับธุรกิจใหม่ๆ และยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการพัฒนาโครงการระบบสาธารณูปโภคที่ช่วยแก้ปัญหาความแออัดและความสะดวกในการสัญจร ตัวอย่างเช่น มะนิลา นับเป็นหนึ่งในเมืองที่อัดที่สุดในโลกจากการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของประชากรเมือง รัฐบาของฟิลิปปินส์ได้ประกาศนโยบาย Build, Build, Build (สร้าง สร้าง สร้าง) ซึ่งมุ่งหวังที่จะดำเนินโครงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคของประเทศรวมกว่า 2,000 โครงการ ซึ่งคาดว่าจะมีส่วนช่วยในการบรรเทาปัญหาความแออัด ปรับปรุงระบบไฟฟ้า-พลังงานให้เสถียรมากขึ้น ลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ และปรับปรุงพื้นที่ย่านต่างๆ ในเมือง
ระบบสาธารณูปโภคอัจฉริยะและเทคโนโลยีที่คำนึงถึงความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ช่วยทำให้เมืองน่าอยู่
นวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่ช่วยทำให้อาคารเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมีความเป็นอัจฉริยะ สามารถช่วยตอบโจทย์ความท้าทายด้านสิ่งแสดล้อมที่เกิดจากการเติบโตของเมือง ตัวอย่างเช่นเมืองซีอานของจีน มีการก่อสร้างหอฟอกอากาศ ซึ่งนับเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีความสร้างสรรค์อย่างมากที่สร้างขึ้นมาเพื่อลดปัญหาหมอกควันและทำให้คุณภาพดีขึ้น
การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมีความสำคัญต่อพลวัตของเมืองในระยะยาว
การเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาวของเศรษฐกิจ เมืองเศรษฐกิจเมืองมักมีความสัมพันธ์กับการปริมาณการลงทุนระยะยาวที่เข้ามาโดยตรงจากต่างประเทศ และบรรษัทภิบาลที่มีความโปร่งใสในประเด็นนี้ เมืองหลายๆ ที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดของอินเดียเป็นเมืองที่ประสบความสำเร็จสูงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยสามารถดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศได้มาก จากการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง (รวมถึงการแก้กฎหมายว่าด้วยการควบคุมกฎระเบียบและการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์) ซึ่งช่วยกระตุ้นให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนซื้ออสังหาริมทรัพย์มากขึ้น ส่วนหัวเมืองหลักของจีน อาทิ ปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ การที่จีนมีดัชนีความโปร่งใสปรับตัวดีขึ้นได้มีส่วนช่วยให้นักลงทุนต่างชาติมีความมั่นใจในการเข้ามาลงทุนเพิ่ม ความโปร่งใสเป็นตัวแปรสำคัญที่ดึงดูดการลงทุนระยะยาวซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเติบโตที่ยั่งยืน การมีบรรษัทภิบาลที่เข้มแข็งและการวางแผนที่ดี จะช่วยให้ภาคเอกชนสามารถร่วมมือกับหน่วยงานรัฐที่ดูแลการบริหารจัดการเมืองในการผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลง และสร้างประโยชน์ให้กับภาคอสังหาริมทรัพย์ รวมจนถึงเสริมสร้างขีดความสามารถให้กับเมืองด้านด้านธุรกิจ-การพาณิชย์
เจาะ ปมประมูลไฮสปีด ซี.พี.ยืน 8 ข้อเสนอ ส่งตรงถึงรัฐบาล
รัฐเตรียมสร้าง“โรงแรม-สวนสนุก” บนที่ดิน 108 ไร่ ใน จ.ขอนแก่น